31 กรกฎาคม 2555

ทัศนะของพอล ครุกแมน ต่ออียู

ต้องขอบใจเว็บ http://www.ryt9.com สำหรับทัศนะของ พอล ครุกแมน
ซึ่งผมเห็นด้วยเป็นอย่างยิ่ง อเมริกามีตั้ง 50 รัฐ แต่ข่าวเวลาออกมากลับมีความเป็นเอกภาพยิ่ง
ขณะที่สหภาพยุโรปมี 27 ประเทศ คือมี 20 สาธารณรัฐ, 6 ราชอาณาจักร และ 1 ราชรัฐ
ผมก็คิดแบบปุถุชนง่ายๆ ว่า
หากรัฐใดรัฐหนึ่งของสหรัฐฯ มีปัญหาคงไม่ร้ายแรงเท่าประเทศใดประเทศหนึ่งของยุโรปมีปัญหาแน่แท้

พอล ครุกแมน (Paul Krugman)

นายพอล ครุก​แมน นัก​เศรษฐศาสตร์ชาวสหรัฐ​ฯ เจ้าของรางวัล​โน​เบล​
เน้นย้ำ​ถึง​ความสำคัญ​ใน​การรวมยุ​โรป​เป็นหนึ่ง​เดียว​ในรูป​แบบ​เดียวกันกับสหรัฐฯ
​เพื่อปรับปรุงยู​โร​โซน​ซึ่งยังมีจุดบกพร่อง ​และ​เพื่อ​เป็น​การรักษาสกุล​เงินยู​โร​เอา​ไว้

นายครุก​แมน​เปิด​เผย​ในบท​ความล่าสุด​ในคอลัมน์ของนิวยอร์​ไทม์สว่า
สกุล​เงินยู​โรมี​โครงสร้างที่บกพร่อง​ใน​เชิงลึก ​ซึ่ง​แม้​แต่​ผู้นำ​ในยุ​โรป
รวม​ทั้งนายมาริ​โอ ดรากิ ประธานธนาคารกลางยุ​โรป (อีซีบี) ยังยอมรับ​ในจุดนี้

นายครุก​แมนตั้งข้อสัง​เกตว่า
ส​เปน​และรัฟลอริดาของสหรัประสบภาวะฟองสบู่​ในภาคอสังหาริมทรัพย์
ก่อน​เกิดภาวะฟองส
บู่​แตกขั้นรุน​แรง ​แต่ส​เปนกลับตกอยู่​ในวิกติขณะที่ฟลอริดา​ไม่​เป็น​เช่นนั้น ​
เพราะ​เมื่อครั้งประสบภาวะตกต่ำ ฟลอริดาสามารถพึ่งพารั
บาลกลางสหรั
​เพื่อคง​การจ่ายประกันสังคม​และค่ารักษาพยาบาล 
ทั้งสามารถรับประกัน​ความสามารถ​ใน​การชำระหนี้ของธนาคาร ​และอื่น
แต่ส​เปน​ไม่มี​การคุ้มครอง​เช่นนั้น ​ซึ่งจำต้องมี​การ​แก้​ไข​เรื่องนี้ระยะยาว

นายครุก​แมนยัง​เตือน​ถึงอุปสรรคด้านน​โยบาย​ใน​การรักษา​เงินยู​โร ​
แม้​ผู้นำยุ​โรปบางส่วนกล่าวคำมั่นว่าจะดำ​เนินมาตร​การ​ใดๆ ​ก็ตาม​เพื่อรักษายู​โร​เอา​ไว้

"​การรวมยุ​โรปจะ​ไม่​เกิดขึ้น​เร็วๆ นี้" นายครุก​แมนยืนยัน
พร้อมกับ​เตือนว่า​การล่มสลายของ​เงินยู​โรนอกจากก่อ​ให้​เกิดภาวะชะงักงันทาง​เศรษฐกิจ
ยังจะ​เป็นอุปสรรคสำคัญต่อ​โครง​การยุ​โรป​ในวงกว้าง

** ส่วนเรื่องการประชุมเฟดนั้น ซึ่งน่าจะทราบผลสักเวลาตีหนึ่งกว่าๆ ของคืนดึกวันพุธนี้ **

นักวิ​เคราะห์ส่วน​ใหญ่คาดว่า ​เบน ​เบอร์นัน​เก้ ประธานธนาคารกลางสหรัฐ (​เฟด)
อาจจะยัง​ไม่ประกาศ​ใช้มาตร​การผ่อนคลาย​เชิงปริมาณรอบที่ 3 ​หรือ QE3
ด้วย​การซื้อพันบัตรล็อต​ใหญ่​ใน​การประชุม​ซึ่งจะ​เสร็จสิ้น​ในคืนวันพรุ่งนี้ตาม​เวลา​ไทย ​
โดยมี​ความ​เป็น​ไป​ได้ว่า ​เฟดจะชะลอ​การ​เปิด​เผย​แผน​การซื้อตราสารหนี้รัฐบาล​และที่อยู่อาศัย
วง​เงินรวม 6 ​แสนล้านดอลลาร์ ​ไปจนกว่าจะ​ถึง​การประชุม​เดือน ก.ย.

นอกจากนี้ นักวิ​เคราะห์คาดว่า มี​ความ​เป็น​ไป​ได้มากขึ้นที่​เฟดจะยังคง​ให้คำมั่นสัญญาว่า
จะตรึงอัตราดอก​เบี้ยระยะสั้น (fed fund rate) ​เอา​ไว้ที่ระดับ 0-0.25% ​ไปจน​ถึงสิ้นปี 2557

นักวิ​เคราะห์ของ​แบงก์ ออฟ อ​เมริกา ​เมอร์ริล ลินช์ คาด​การณ์ว่า ​
เฟดจะประกาศ​ใช้มาตร​การ QE3 ​ใน​การประชุม​เดือนก.ย.นี้ ​
เพื่อสร้าง​ความ​เชื่อมั่น​ให้กับตลาด​การ​เงิน ​และหนุน​เศรษฐกิจ​ให้ฟื้นตัวขึ้นจากภาวะอ่อน​แอ

เท่าที่ผมดูตัวเลขเศรษฐกิจจาก forexfactory ของสหรัฐฯ ล่าสุดนั้น
ตัวเลขออกมายังไม่น่าวิตกเท่าไหร่ ดังนั้นเรื่อง QE3 คงจะยังไม่ประกาศออกมาแน่ๆ

.

ข่าวฟอเร็กซ์ 31 ก.ค.

และแล้ววันสุดท้ายของเดือนกรกฎาคมก็มาถึง...

ดูเหมือนว่าตลาดหุ้นทั่วโลกจะครึกครื้นและรอปัจจัยข่าวจากผลทางสหรัฐฯ และยุโรปอย่างจดจ่อ
เช้านี้ ค่าเงินบาทอยู่ที่ 31.56 บาทต่อเหรียญสหรัฐ
โดยตลาดหุ้นเอเชียส่วนใหญ่ปรับตัวอยู่ในแดนบวก เพื่อเก็งกำไรการประชุม FED และ ECB
นักวิเคราะห์คาดหุ้นไทยผันผวน เนื่องจากไม่มีความแน่นอนเกี่ยวกับมาตรการ QE3

ขณะที่ตลาดหุ้นทั่วโลกก็ขยับบวกขึ้นมารอรับผลการประชุมเฟดและอีซีบี
ในช่วงวันที่ 31 ก.ค.-2 ส.ค.นี้กันพอควรแล้ว
ก็เริ่มมีจังหวะแกว่งตัวผันผวนบ้าง จากแรงขายทำกำไรระยะสั้นเพื่อลดความเสี่ยง
เนื่องจากความคาดหวังเกี่ยวกับมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจใหม่ๆ ที่จะมีออกมาจากการประชุมทั้ง 2 นั้น
ยังมีความไม่แน่นอนสูง
โดยเฉพาะในส่วนของเฟดที่จะประชุม 2 วันคือในคืนนี้ (31 ก.ค.) และคืนวันพรุ่งนี้
แล้วจะมีการแถลงข่าวในคืนดึกวันพุก่อนการประชุมอีซีบีและบีโออีในวันพฤหัสบดี
ซึ่งจากตัวเลข GDP ไตรมาส 2 ที่ออกมาอ่อนแอตามคาด แต่ก็ยังไม่รุนแรงมากพอที่จะคาดหวังให้มี QE3 ได้
ส่วนการประชุมของธนาคารกลางยุโรปนั้น ตลาดได้คาดการณ์ไปแล้วว่า
ECB จะทำการซื้อพันธบัตรสเปนและอิตาลี
ผ่านโปรแกรม SMP เพื่อกดให้ดอกเบี้ยพันธบัตรปรับลดลง
ทั้งยังมีข่าวบวกจากความพยายามของ ECB ที่จะลดหนี้ให้กับกรีซเพิ่มเติม
เพื่อให้กรีซสามารถอยู่ในยูโรโซนต่อไปได้เป็นแรงผลักดัน

นายโจโน่ เรมิงตัน ฮอบส์ นักวิเคราะห์จาก FastMarkets ได้กล่าวว่า
ดูเหมือนว่าเฟดจะยังไม่ออกมาตรการ QE3 ในการประชุมครั้งนี้
แต่อาจมีการเลือกที่จะขยายระยะเวลาในอัตราดอกเบี้ยให้ไปจนถึงปี 2015 แทน
โดยระบุว่า การประชุม FOMC ในเดือนกันยายนน่าจะเป็นเวลาที่เหมาะสมกว่าสำหรับการประกาศมาตรการ QE
ส่วนการประชุมอีซีบีก็ดูเหมือนว่าจะไม่มีการออกมาตรการที่ผิดแปลกไปจากเดิม
หรือแม้กระทั่งจะลดอัตราดอกเบี้ยอีกครั้ง
เนื่องจากโดยภาพรวมการลดอัตราดอกเบี้ยอาจเป็นการจำกัดอำนาจในการผ่อนคลายนโยบายการเงินในภายหลังหากเศรษฐกิจในยุโรปในไตรมาสที่ 4 เริ่มไร้เสถียรภาพ
และเนื่องจากอีซีบีอาจต้องการเวลาที่จะดูข้อมูลเศรษฐกิจเพิ่มเติม
หลังจากที่เพิ่งลดอัตราดอกเบี้ยไปสู่ระดับต่ำที่ 0.75%
คนวงในของอีซีบีได้กล่าวว่า การดำเนินการที่เด่นชัดน่าที่จะประกอบไปด้วย
แผนการเข้าซื้อพันธบัตรของอีซีบี, การออกมาตรการ QE
หรือแม้กระทั่งการพิมพ์ธนบัตรใหม่เพื่อกระตุ้นราคาสินทรัพย์จะเกิดขึ้นในอีก 5 สัปดาห์ต่อจากนี้เป็นอย่างน้อย


สกุลเงินยูโรปรับฐานการพุ่งขึ้นในช่วงที่ผ่านมาในการซื้อขายช่วงเช้านี้ที่ตลาดเอเชีย
หลังการเปิดเผยข้อมูลเศรษฐกิจเชิงลบ
ขณะที่การคาดหวังสูงที่ว่า ธนาคารกลางชั้นนำเตรียมที่จะเพิ่มมาตรการกระตุ้นนั้น
ช่วยหนุนสกุลเงินที่มีความเสี่ยง อาทิ ดอลลาร์ออสเตรเลียที่ระดับสูงสุดในรอบหลายเดือน


"มีความหวังมากขึ้นเกี่ยวกับมติอัตราดอกเบี้ยของธนาคารกลางยุโรป (อีซีบี) ดูเหมือนว่า
ประธานอีซีบีจะเริ่มมาตรการที่ฉีกแนวเพื่อสกัดกั้นความเสี่ยงจากการลุกลามของปัญหา"
นายเดวิด ซอง นักวิเคราะห์สกุลเงินจาก DailyFX กล่าวต่อว่า
"เราอาจจะเห็นสภาบริหารจะใช้นโยบายดอกเบี้ย 0% ขณะที่ยุโรปกำลังจะเข้าสู่ภาวะถดถอยที่ยืดเยื้อ
และอีซีบีก็แทบไม่มีทางเลือกนอกจากใช้เครื่องมือต่างๆ ในอีกไม่กี่เดือนข้างหน้า
ขณะที่แนวโน้มเศรษฐกิจและเงินเฟ้อย่ำแย่ลง"

ส่วนตัวเลขเศรษฐกิจที่สำคัญวันนี้ ทั้งฝั่งยุโรปและสหรัฐฯ ล้วนมีข่าวหลากจริงๆ
เสมือนเป็นออเดิร์ฟรอผลการประชุมของธนาคารกลางทั้งสองฝั่ง
ช่วงบ่าย...ก็ลุ้นข่าวทางยุโรป แล้วช่วงค่ำ...ก็ตามข่าวทางสหรัฐฯ ต่อ

ขอให้ทุกท่าน...โชคดีในการเก็งกำไรค่าเงินนะครับ





30 กรกฎาคม 2555

กูรู-กูรู้

ช่วงนี้...ชีวิตผมเริ่มจะชุลมุนและยุ่งขึ้น อาจไม่ค่อยได้เข้ามาอัพบล็อกเท่าไหร่
เพราะพรรคพวกชวนทำพริกแห้งส่งตลาดและโรงงานในแถบภาคกลาง
เลยต้องหาข้อมูลด้านการตลาด เครื่องอบพริก ทำเล หาแหล่งผลิตพริกสด และอื่นๆ ที่เกี่ยวกับพริก
ด้วยตอนนี้เพื่อนผมติดต่อส่งได้สองโรงงานใหญ่ ส่งพริกแห้งที 3 ตันในทุกๆ 3 เดือน
ยังไม่นับจะเจาะตลาดสดต่างๆ เพื่อขายให้พวกพ่อค้าแม่ค้ารายย่อยอีก
จึงต้องหาศูนย์บัญชาการแถวกลางเพื่อจะเจาะตลาดและโรงงานอื่นๆ เพิ่ม และทุ่นค่าขนส่ง

กอปรกับผมก็ไม่อยากสนับสนุนให้คนไทยมาเทรดฟอเร็กซ์โดยที่ยังไม่ได้ศึกษาอย่างละเอียด
ไม่งั้นจะกลายเป็นแมงเม่าบินเข้ากองไฟโดยง่าย และที่สุดก็จะเสียเงินไปโดยปริยาย
ตลาดเงินนี้คงไม่ใช่แหล่งที่จะทำกำไรได้ง่ายดายด้วยประสบการณ์และระยะเวลาเทรดอันน้อยนิด
คงไม่ใช่เปิดออเดอร์ทุกครั้งแล้วจะทำกำไรออกมาจากตลาดได้ทุกคราว
คงไม่ใช่วิมานวาดฝันที่จะเทรดแล้วกำไรมากมายหรือรวยข้ามคืน ข้ามสัปดาห์ (อาจจนในพริบตาได้)
ยิ่งอยากได้กำไรมากก็ต้องเสี่ยงลง lot หนักๆ (โลภมากหรือโลภน้อยดีล่ะ)
หรือกระทั่งเล่นจนกลายเป็นการพนันมากกว่าการเก็งกำไรหรือการลงทุน

ใครเรียนหรือทำงานก็เน้นตรงนี้ไปก่อน เรื่องเทรดฟอเร็กซ์ก็เล่นเป็นงานอดิเรกไป
ค่อยๆ ศึกษา เรียนรู้ ทดลอง และเพิ่มพูนประสบการณ์ในตลาดเงินไปเรื่อยๆ
ผ่านไป 3 ปี ล่วงไป 5 ปี หรือผ่านไปสัก 10 ปี ก็ยังไม่สายเกินที่จะเทรดตราบยังมีลมหายใจและพลังไฟ

มือใหม่ก็ควรฝึกเทรดเงินปลอม หรือถ้าเล่นเงินจริงก็อย่ารีบร้อนลงล็อตสูง
มีคนมากมายที่เทรดแรกเริ่มได้แล้วใจใหญ่หรือมั่นใจมากขึ้นก็ลงหนักจนสุดท้ายก็เสียหมดพอร์ต
การมีวินัย ความใจเย็น และการบริหาร margin ล้วนคือหัวใจสำคัญที่ต้องมีเป็นอาวุธหรือคาถากำกับใจ
การเทรดฟอเร็กซ์ต้องหมั่นเรียนรู้และฝึกฝนด้วยตนเอง หาแนวทางและสไตล์ของตัวเองให้เจอ
เพราะในระยะยาวแล้วนักเทรดต้องยืนหยัดด้วยตัวเองกันทุกคน สู้ด้วยหัวใจของตนเอง
อย่าไปหวังพึ่งหุ่นยนต์ EA หรือซิกแนล หรือการวิเคราะห์แนวโน้มของคนอื่นมากนัก
แค่อ่านเพื่อวิเคราะห์เหตุผลประกอบว่าไฉนคนอื่นจึงคิดเช่นนั้นเช่นนี้ แล้วตัวเรามองกราฟเช่นไร
ทั้งศึกษาหลักเทคนิคว่าทำไม (กูรู-กูรู้) ถึงให้สัญญาณซื้อหรือขาย ใช้อินดี้ตัวไหนบอกเทรน
อย่าไปหลงเชื่อคำพูดหรือประโยคที่พิมพ์ว่ากำไรเท่านั้นเท่านี้ วันนี้ได้กี่จุด วันนั้นได้กี่เหรียญ
คนจริง ของจริง ก็เอาผลงานเทรดมาแสดงทุกวันสิ จะได้หรือเสียเอามาเปิดเผยกันจะจะ
หรือจะอัพผลงานเทรดขึ้นเว็บ Myfxbook แสดงต่อสาธารณะเลยจะได้รู้ว่าเงินจริงหรือเงินเดโม
เพื่อนักเทรดคนไทยจะได้ข้อมูลรอบด้าน ครอบคลุม ตรงๆ และเป็นธรรมที่สุด
(ผมก็พูดหรือพิมพ์ได้นะว่า เมื่อวานกำไร 50$ 100$ วันนี้เทรดฟอเร็กซ์กำไรอีกแล้ว 70 จุด 80 จุด..)
สิบปากว่าไม่เท่าตาเห็น...สุภาษิตไทยบทนี้ยังใช้ได้ทุกยุคทุกสมัย


ในเมื่อมีฝั่งหนึ่งได้ ก็ย่อมมีอีกฝ่ายที่เสีย
แล้วก็แน่นอนว่า...ไม่มีนักเทรดคนไหนอยากเสียเงินหรอก
เพราะทุกคนหวังทำกำไรกันทั้งนั้น อยากได้เงินกับทุกคน
มันเป็นสัจธรรม เพราะเงินไม่ได้หล่นจากฟากฟ้ามาเอง


ด้านข่าวทางยุโรปล่าสุด
อัตราผลตอบ​แทนพันธบัตรอายุ 10 ปีของส​เปน
ร่วงลงสู่ระดับ 6.5% จากสถิติสูงสุด 7.5% ​ในสัปดาห์ที่​แล้ว
สะท้อน​ให้​เห็น​ถึง​ความ​เชื่อมั่นนักลงทุนที่ปรับตัวดีขึ้น​เล็กน้อย
ด้านต้นทุน​การกู้ยืมของอิตาลี​ก็ปรับตัวลดลง​ใน​การประมูลพันธบัตรวันนี้เช่นกัน
โดยอิตาลีระดมทุนจาก​การขายพันธบัตร 3 ชุด ​ได้ 5.479 พันล้านยู​โร
(6.749 หมื่นล้านดอลลาร์) ​ใน​การประมูลวันนี้ ​
ซึ่ง​ใกล้​เคียงกับ​เป้าหมายสูงสุดที่วาง​ไว้​ในช่วง 3.00-5.50 พันล้านยู​โร
ขณะที่ต้นทุน​การกู้ยืมพันธบัตรอายุ 5 ​และ 10 ปีก็ปรับตัวลดลง
ซึ่งนักลงทุนคาดหวังว่าธนาคารกลางยุ​โรป (ECB)
จะประกาศมาตร​การกระตุ้น​เพิ่ม​เติม​ใน​การประชุมวันที่ 2 ส.ค.นี้ 

แต่ก่อนจะถึงวันที่ 2 ส.ค. นั้น ก็ต้องดูผล​การประชุมของธนาคารกลางสหรัฐ (​เฟด) ในสองวัน​นี้
คือวันที่ 31 ก.ค.-1 ส.ค.นี้ก่อน ​ซึ่ง​คาดหมายว่าที่ประชุมอาจตัดสิน​ใจ​ใช้มาตร​การกระตุ้น​เศรษฐกิจ​เพิ่ม​เติม

สัปดาห์นี้...ตลาดเงินอาจผันผวน หรือไปทางใดทางหนึ่งก็เป็นได้

.



ข่าวฟอเร็กซ์ 30 ก.ค.

หลังจากตัวเลข GDP ไตรมาส 2/12 ของสหรัฐฯ ประกาศออกมาต่ำเพียง 1.5% เท่าตลาดคาด
ขณะที่ตัวเลขเศรษฐกิจของสหรัฐฯ ในระยะหลังก็ไม่ได้แข็งแรงมากนัก
ทำให้นักลงทุนยิ่งมีความหวังมากขึ้นกับ ผลการประชุมเฟดในวันที่ 31 ก.ค.-1 ส.ค.
ดังนั้นตลาดโดยภาพรวมก็คงจะต้องรอความหวังในเรื่อง QE3 อีกครั้งในการประชุม FOMC
ซึ่งน่าจะมีถ้อยแถลงในคืนวันพุธที่ 1 สิงหาคมนี้
ทั้งสหรัฐฯ ก็จะมีการประกาศตัวเลขภาคการจ้างงานนอกภาคเกษตรกรรม (นอน-ฟาร์ม) ในวันศุกร์

นอกจากนี้ นักลงทุนยังรอลุ้น ผลการประชุม ECB ในวันที่ 2 ส.ค. นี้ด้วย
หลังประธาน ECB มีถ้อยแถลงที่หนุนตลาดไปเมื่อสัปดาห์ที่แล้ว
กอปรกับตลาดยังอยู่ในบรรยากาศเชิงบวกจากแถลงการณ์แสดงจุดยืนของ
นายกรัฐมนตรีเยอรมันและประธานาธิปดีฝรั่งเศส ที่ประกาศพร้อมจะปกป้องยูโรโซน
(แม้จะไม่บอกว่าด้วยวิธีการใด? อย่างไร?)
ทั้งนี้ตลาดโลกยังอยู่บนความคาดหวังถึงมาตรการรับมือกับสถานการณ์วิกฤติหนี้ยุโรป

โดยธนาคารกลางสหรัฐฯ และธนาคารกลางยุโรปจะมีการประชุมนโยบายการเงินในช่วงปลายสัปดาห์นี้
โดยตลาดกำลังรอผลการประชุมจากทั้งสองที่เพื่อ
ดูว่าจะมีการเข้าแทรกแซงตลาดหรือไม่
ซึ่งความสนใจแรกจะเบนมาที่การประ
ชุม FOMC ในวันอังคารและวันพุธนี้ 
โดยมีการแถลงการณ์ผลการประชุมในคืนวันพุธ
หลังจากนั้นจะมีการประชุมอีซีบีในวันพหัสบดีเพื่อตัดสินใจในเรื่องอัตราดอกเบี้ยต่อไป



ในช่วงบ่ายวันศุกร์
หนังสือพิมพ์ฝรั่งเศสมีการคาดการณ์ว่า
กองทุนช่วยเหลือทางการเงินของอีซีบีและสหภาพยุโรป
อาจรวมเข้าด้วยกันเพื่อช่วยเหลือสเปนและอิตาลี
ที่จะเริ่มต้นในช่วงเดือนกันยายน



ตัวเลขเศรษฐกิจที่สำคัญในวันนี้ ได้แก่
• ตัวเลขผลผลิตมวลรวมในประเทศของสเปนรายไตรมาส ประมาณ 14.00 น.
• ตัวเลขการปล่อยกู้ภาคเอกชนรายเดือน และตัวเลขการอนุมัติการจำนองในอังกฤษ ประมาณ 15.30 น.
• ตัวเลข M4 Money Supply รายเดือน ประมาณ 15.30 น
• ตัวเลขความเชื่อมั่นของผู้บริโภคในอังกฤษ ประมาณ 17.00 น.
• การประมูลพันธบัตร Italian 10-y Bond Auction

***

วิกฤตหนี้ยุโรป เชื่อใกล้ถึงจุดต่ำสุดแล้ว

กูรู เตือนนักลงทุนเตรียมพร้อมรับมือวิกฤตหนี้ยุโรป เชื่อใกล้ถึงจุดต่ำสุดแล้ว
ชี้ลงทุนหุ้น หรือทองคำ ก็มีความเสี่ยงเท่ากัน

นายกอบศักดิ์ ภูตระกูล ผู้ช่วยผู้จัดการใหญ่ธนาคารกรุงเทพ ให้สัมภาษณ์ใน Money Channel
ว่า ภายใต้ความผันผวนทางเศรษฐกิจของกลุ่มประเทศยูโรโซน ทำให้ในช่วงครึ่งปีหลังนี้
นักลงทุนไม่ควรไว้วางใจหรือลงทุนในสินทรัพย์ใดมากเกินไป
เพราะล้วนมีความเสี่ยงที่เท่าเทียมกันไม่ว่าจะเป็นหุ้นหรือทองคำ

ทั้งนี้ หากจะเปรียบเทียบสถานการณ์วิกฤตการเงินในกลุ่มยูโรโซนในขณะนี้
กับวิกฤต Subprime ของสหรัฐฯที่เคยเกิดขึ้นเมื่อปี 2551
จะเห็นได้ว่า ขณะนี้เป็นช่วงที่มีความอ่อนไหวของวิกฤติหนี้ยุโรปที่ยังหาทางออกไม่ได้ โดยเฉพาะสเปน
แต่มองว่าสถานการณ์ขณะนี้ใกล้ถึงจุดต่ำสุดแล้ว

นายกอบศักดิ์ ยังบอกด้วยว่าหลังจากนี้ไป...
ปัญหาที่สะสมมาจากการถูกแก้ไขอย่างไม่ถูกตรงจุดจะค่อยๆ ปะทุ และลุกลามจากสเปนไปอิตาลี
แม้ว่าอิตาลีจะดูมีสถานการณ์ที่ดีกว่าสเปน แต่ก็มีหนี้สาธารณะสูงถึง 120% ต่อจีดีพี
และหนี้ส่วนใหญ่หรือมากกว่า 50% กู้มาจากฝรั่งเศส
ซึ่งถ้าอิตาลีมีปัญหา ฝรั่งเศสจะได้รับผลกระทบตามไปด้วย

ส่วนกรีซก็ยังไม่สามารถจะแก้ปัญหาหนี้สาธารณะในประเทศได้ แม้จะได้รับเงินช่วยเหลือมาแล้วก็ตาม
ซึ่งผู้ช่วยผู้จัดการใหญ่ธนาคารกรุงเทพ เชื่อว่า
ไม่ว่าเศรษฐกิจกรีซจะย่ำแย่เพียงใด ก็จะไม่ออกจากกลุ่มยูโรโซน
ซึ่งปัญหาทั้งหมดก็จะกลายเป็นภาระของสมาชิกในกลุ่มยูโรโซนทั้งหมด

สำหรับแนวทางแก้ปัญหาที่จะช่วยให้สถานการณ์ดีขึ้น คือ
การลดค่าเงินยูโร เพื่อให้กลุ่มประเทศยูโรโซนมีรายได้เพิ่มขึ้น
และจะส่งผลให้มีความสามารถในการชำระหนี้ที่เพิ่มขึ้นตามไปด้วย
ซึ่งน่าจะเป็นแนวทางที่ถูกต้องมากกว่าการกู้เงินจำนวนมากมาแก้ปัญหาหนี้สาธารณะ

ที่มา : money channel

.

29 กรกฎาคม 2555

เทรด 24 คู่?!?

วันอาทิตย์...วันหยุดพักผ่อน ขณะข่าวคราวต่างๆ ก็ไม่มีอะไร
สำหรับปัจจัยที่ต้องติดตามในสัปดาห์ที่จะถึงนี้ ​ได้​แก่ ​การประชุม​ FED, ECB ​และ BOE
รวม​ถึงตัว​เลข​เศรษฐกิจสหรัฐฯ ​ทั้งดัชนีราคาบ้าน ราย​ได้ครัว​เรือน ดัชนี ISM ภาค​การผลิต-บริ​การ ​
และ​การจ้างงานนอกภาค​การ​เกษตร (นอน-ฟาร์ม)

Report Forex 27 กรกฎาคม
เปิดออเดอร์แบบไม่ต้องมองอินดี้ให้มากความ ยิ่งคิดมากยิ่งลังเล
เน้นดูกราฟรายวันกับรายสัปดาห์เข้าไว้ แล้วหาจังหวะเข้าออเดอร์ที่ M15
ถ้าจะ buy ก็รอๆ ให้ราคามันตกลงมาจึงค่อยเข้า (ถ้าเฝ้าอยู่หน้าจอ) หรือตั้ง Buy Limit รอไว้เลย
แต่ช่วงนี้ขอเน้นเก็บสั้นก่อน เพราะเอาแน่เอานอนกับราคาไม่ได้ ไหนจะทิศทางข่าวอีก
พยายามตุนกำไรเก็บสะสมไว้ ดีกว่าจากกำไรแล้วมาติดลบ เมื่อได้กำไรมาก็ค่อยหาโอกาสเข้าเปิดใหม่

ส่วนที่จั่วหัวว่า "เทรด 24 คู่" นั้น
เพราะได้คุยกับพี่คนหนึ่งในวงการเทรดฟอเร็กซ์ แล้วแกหันมาเปลี่ยนแนวการเล่นใหม่
นัยว่าลองผิดลองถูก ทดสอบโน่นนี่ไปเรื่อย เพื่อหาโอกาสในการทำกำไรให้มากที่สุด

แล้วทำไมต้องเทรดคู่เงินมากขนาดนั้นล่ะ?

นั่นสิ ผมก็ฟังพี่แกอธิบายหลักการเล่นแนวมะรุมมะตุ้มนี้อย่างครุ่นคิด
กล่าวง่ายๆ แบบนี้ละกัน สมมุติว่าจะเปิดออเดอร์ lot ละ 20$ ในคราวเดียวหนึ่งคู่
ก็เล่นแบบกระจายความเสี่ยงไปเปิดออเดอร์ lot ละ 1$ สัก 20 ออเดอร์ใน 20 คู่เงิน
โดยไม่ต้องสนใจหรือใส่ใจราคากราฟคู่ไหนๆ ว่ามันจะขึ้นหรือลง ให้ดูแค่ Profit เท่านั้น
ถ้ายอด Profit โดยรวมแล้วบวก พอใจก็ปิด All 20 ออเดอร์ทีเดียวพร้อมกันหมด
แต่ ถ้ายอด Profit โดยรวมแล้วลบ ก็อาจต้องคัสลอสทิ้งไปทั้งหมด ตามที่จะยอมขาดทุนในคราหนึ่ง
แล้วค่อยหาโอกาสเข้าเทรดใหม่...

ปัญหาการเทรด 20 หรือ 24 คู่เงินนี้ คือการวิเคราะห์ราคาในแต่ละคู่นั่นเอง
พี่แกก็เลยชวนผมช่วยวิเคราะห์ 10 คู่ ตัวแกจะวิเคราะห์อีก 10-14 คู่เอง
แล้วเอาข้อมูลหรือ Signal ที่ได้มาแชร์กันแล้วจัดการเทรด
ซึ่งผมก็ไม่ค่อยมีเวลามานั่งวิเคราะห์เชิงเทคนิเคิลซะด้วย เลยปัดๆ ไปก่อน ^^

โดยส่วนตัวผมก็เปิดหน้าต่างคู่สกุลเงินไว้ดู 9 คู่อยู่แล้ว
เพราะจักไม่เล่นคู่เดียว ผมมองกราฟแต่ละคู่เหมือนบริษัทหนึ่งๆ ในตลาดหุ้น
อย่างคู่ EUR/USD ผมอาจคิดว่านี่คือบริษัท ปตท. หรือคู่ GUB/USD นี่เป็นบริษัทเครือ CP
หรือคู่ EUR/JPY คือหุ้นแบงก์ หรือ USD/CHF ก็เป็นบ้านปู อะไรประมาณนี้...

การที่เทรดคู่เดียวก็ต้องรอสัญญาณที่แน่ชัด หรือพิจารณาข่าวสารของสกุลเงินนั้นๆ เป็นปัจจัยในการเปิด
ซึ่งบางทีเทคนิเคิลก็เลือนๆ กางฟิโบแล้วราคามันยังอยู่แถวๆ ไพวอท เจอแบบนี้ก็เล่นยาก
โอกาสจะขึ้นหรือลงก็เป็นไปได้ทั้งนั้น ตลาดเงินไม่เคยปรานีและเอาแน่เอานอนไม่ได้เสมอ
ยิ่งผมเป็นประเภทไม่ชอบตั้ง SL ด้วย จึงต้องหาราคาดีๆ เหมาะสม และปลอดภัยที่สุดในการเข้าเทรด

ถ้ากราฟ EU ไม่น่าเล่น ก็เปิดไปดูคู่ GU แล้วยังไม่น่าเทรดอีก
ก็ต้องไปมองคู่อื่นๆ อย่าง EJ UJ หรือ GC บ้าง ถ้าไม่มีคูู่ไหนน่าเล่นก็อยู่นอกตลาดดีกว่า
ดุ่มๆ เปิดออเดอร์เข้าไปแล้วติดลบไม่น่าดีเท่าไหร่ รอดูแนวโน้มตลาดก่อน หรือพิศว่าจะมีข่าวไรบ้าง

วันหยุดนี้ก็พูดคุยกันเท่านี้ก่อนครับ เดี๋ยวผมต้องไปทำโน่นนี่อีก
ส่วนพี่ที่แกเทรด 20-24 คู่เงินนั้น ไว้ผลงานเป็นเช่นไร
ผมจะขอรายงานมาลงให้ทราบแล้วกัน

เกิดเป็นคนไทย..ถ้าไม่ช่วยคนไทย ไม่แบ่งปันให้คนไทยด้วยกัน
ไม่แลกเปลี่ยนสิ่งผิดถูกให้แก่กันแล้ว ไม่หาหนทางหนุนนำให้ทำกำไรในตลาดนี้ได้
ในตลาด Forex ก็ยังต้องมีคนไทยที่เข้ามาเล่นแล้วเสีย เสีย และเสียร่ำไป
กลายเป็นว่าคนไทยคือแมงเม่าที่โดนพวกฝั่ง หรือกองทุนข้ามชาติทั้งทุบทั้งปั่นราคาจนกระอัก...

.

28 กรกฎาคม 2555

สกุลเงินยูโรเริ่มแข็งค่า

2 วันนี้มานี้ เงินยูโรเริ่มออกอาการฟื้นตัวให้เหล่าผู้ชื่นชอบการ buy ได้เริงร่าบ้าง
สัปดาห์หน้าน่าลุ้นว่า EU จะสามารถขึ้นไปยืนเหนือราคา 1.2400 ได้หรือไม่ ซึ่งก็ไม่น่ายาก
ขณะที่เงินปอนด์ยังแข็งแน่นเหนียว เมื่อมองกราฟ GU ราย Day แล้ว มีโอกาสทำไฮท์ใหม่ได้อีก
หากพิจารณาปัจจัยบวกที่เป็นแรงหนุนของฝั่งยุโรป

สกุล​เงินยู​โรยังดีดขึ้น ขณะที่ดอลลาร์สหรัฐฯ อ่อนค่าลง ​
ใน​การซื้อขายที่ตลาดปริวรรต​เงินตรานิวยอร์ก​เมื่อคืนนี้ (27 ก.ค.) ​
เนื่องจากนักลงทุนมี​ความ​เชื่อมั่น​ในอนาคตของยู​โซนมากขึ้น หลังจากที่มีรายงานว่า
นายมาริ​โอ ดรากิ ประธานธนาคารกลางยุ​โรป (อีซีบี) กำลังพิจารณามาตร​การต่างๆ​ เพื่อกอบกู้ยู​โร
ขณะที่​การขยายตัวทาง​เศรษฐกิจของสหรัฐฯ ที่ชะลอตัวลง​ได้​เพิ่ม​ความหวังว่า
ธนาคารกลางสหรัฐ (​เฟด) จะ​ใช้น​โยบายผ่อนคลาย​เพิ่ม​เติมในไม่ช้า


ทั้งนี้ ​เงินยู​โรยังคง​แข็งค่าขึ้นต่อ​เนื่อง​ในวันศุกร์
หลังจากที่ทะยานขึ้นกว่า 2% ​เมื่อวันพฤหัสบดี
​เนื่องจากข่าวดีจากฟากฝั่งยุ​โรปช่วยฟื้น​ความ​เชื่อมั่น​ให้กับนักลงทุน ​โดย​ความ​เคลื่อน​ไหวล่าสุดนั้น มีรายงานว่า
ประธานอีซีบีกำลังพิจารณามาตร​การ​เพื่อปกป้องสกุล​เงินยู​โร
หลังจากที่​เขา​เพิ่ง​ให้คำมั่นว่า
จะ​ทำทุกวิถีทาง​เพื่อ​ความอยู่รอดของยู​โร​โซน​ไป​เมื่อวันก่อน ​
ซึ่งมาตร​การที่​เป็นหนึ่ง​ในทาง​เลือกนั้นรวม​ถึง​...
การซื้อพันธบัตรรับาล​และ​การจัดสรร​เงินกู้ดอก​เบี้ยต่ำระยะยาว (LTRO)

โดยอีซีบี​ได้​เข้าซื้อพันบัตร​เพื่อต่อสู้กับวิกฤตหนี้​ในช่วง 2 ปีที่ผ่านมา
​และ​ได้ยุติ​การซื้อพันธบัตร​ไป​เป็น​เวลาหลาย​เดือน ​อีกทั้งการซื้อพันบัตร​ไม่​เป็นที่นิยม​ใน​เยอรมนี ​
เนื่องทาง​การ​เยอรมนี​เกรงว่าอีซีบีจะดำ​เนินมาตร​การที่​เสี่ยงมาก​เกิน​ไป ​
โดยชี้ว่ารัฐบาลควร​เป็นฝ่ายรับผิดชอบ​ใน​การกอบกู้​ความ​เชื่อมั่น​ใน​เศรษฐกิจ​ให้กลับคืนมา
ด้วย​การลดหนี้สาธารณะมากกว่า


นักวิ​เคราะห์​ในตลาดมองว่า ​การ​ให้คำมั่นสัญญาของนายดรากิถือ​เป็น​การส่งสัญญาณว่า
อีซีบีตั้ง​ใจจะ​เข้าซื้อพันธบัตรรัฐบาล​ในยุ​โรป​ในตลาดรอง ​
เพื่อช่วยลดผลกระทบของสถาบัน​การ​เงินที่ประสบกับภาวะขาดทุน​ในตลาดตราสารหนี้
ทว่ามีนักวิ​เคราะห์บางคนมองว่า
​การ​แทรก​แซงตลาดของอีซีบีอาจจะช่วย​ให้สถาน​การณ์ผ่อนคลายลง​ในระยะสั้นๆ ​เท่านั้น

> นายกรัฐมนตรีอัง​เกลา ​แมร์​เคิล ของ​เยอรมนี ​และ ประธานาธิบดีฟรองซัวส์ ออลลองด์ ของฝรั่ง​เศส
​ได้ออก​แถลง​การณ์ร่วม​ซึ่งระบุว่า ​ทั้งสองประ​เทศจะ​ทำทุกอย่างที่​เป็น​ไป​ได้​เพื่อปกป้องยู​โร​โซน ​
ซึ่ง​การ​ให้คำมั่นดังกล่าวช่วยหนุน​ความ​เชื่อมั่นของนักลงทุนต่อ​เศรษฐกิจ​และภาคธนาคารของยุ​โรปยิ่งขึ้น

> ขณะที่นายวูลฟ์กัง ชอยเบิล รมว.คลัง​เยอรมนี ขานรับถ้อย​แถลงของประธานธนาคารกลางยุ​โรป (อีซีบี)
ที่ระบุว่าจะดำ​เนิน​การทุกอย่าง​เพื่อปกป้องสกุล​เงินยู​โร
​และจะ​ทำทุกวิถีทางที่จำ​เป็นภาย​ในขอบ​เขตอำนาจของอีซีบี​เพื่อยับยั้ง​การล่มสลายของยู​โร​โซน
รวม​ถึง​การขอ​ความร่วมมือ​ให้บรรดานัก​การ​เมืองดำ​เนิน​การ​แก้ปัญหาภาย​ในประ​เทศอีก​แรง

> กระทรวง​การคลังของสหรัฐฯ ประกาศว่า
นายทิ​โมธี ​ไกธ์​เนอร์ รัฐมนตรีคลังสหหรัฐฯ จะ​เดินทาง​เยือน​เยอรมนี
​เพื่อพบปะหารือกับ​เจ้าหน้าที่ระดับสูงของรัฐบาล​เกี่ยวกับ​เศรษฐกิจสหรัฐ ยุ​โรป ​และทั่ว​โลก​ในวันจันทร์ที่จะ​ถึงนี้
ในแถลง​การณ์ระบุว่า นาย​ไกธ์​เนอร์จะ​เข้าพบนายวูลฟ์กัง ชอย​เบิล รมว.คลัง​เยอรมนี ที่​เกาะซูลท์​ในช่วง​เช้า​และบ่ายวันจันทร์
ก่อนประชุมร่วมกับนายมาริ​โอ ดรากิ ประธานธนาคารกลางยุ​โรป (อีซีบี) ที่นคร​แฟรง​เฟิร์ต​ในช่วง​เย็น

> กองทุน​การ​เงินระหว่างประ​เทศ (​ไอ​เอ็ม​เอฟ) คาด​การณ์ว่า
ผลิตภัณฑ์มวลรวมภาย​ในประ​เทศ (จีดีพี) ของส​เปนจะหดตัว 1.7% ​ในปีนี้
ก่อนที่จะหดตัวน้อยลง​เหลือติดลบ 1.2% ​ในปีหน้า อัน​เป็นผลมาจากมาตร​การล่าสุดที่รัฐบาลส​เปนประกาศ​ใช้

> ญี่ปุ่น เปิดเผยว่า
ดัชนีราคาผู้บริโภค (CPI) พื้นฐานลดลงมากเกินคาด ในเดือน มิ.ย.จากช่วงเดียวกันของปีก่อน
โดยะคาดว่า อัตราเงินเฟ้อจะยังคงอยู่ในระดับต่ำต่อไป
จากการที่บริษัทต่างๆ ไม่ต้องการขึ้นค่าจ้างอันเนื่องจากความไม่แน่นอนเกี่ยวกับภาวะเศรษฐกิจโลก
ข้อมูลดังกล่าวบ่งชี้ว่า
ธนาคารกลางญี่ปุ่น (บีโอเจ) จะยังคงเผชิญกับแรงกดดันให้ผ่อนคลายนโยบายการเงินเพื่อรับรองว่า
ราคาจะเริ่มปรับตัวขึ้น และจะปกป้องเศรษฐกิจจากผลกระทบจากการแข็งค่าของเยน
บีโอเจได้กำหนดเป้าหมายอัตราเงินเฟ้อที่ 1% และได้ผ่อนคลายนโยบาย
โดยผ่านการเพิ่มวงเงินซื้อสินทรัพย์ในเดือน ก.พ.ที่ผ่านมา
และได้ผ่อนคลายนโยบายลงอีกครั้งในเดือน เม.ย.
เพื่อแสดงถึงความมุ่งมั่นที่จะจัดการกับภาวะเงินฝืด
โดยบีโอเจจะประชุมครั้งต่อไปในวันที่ 8-9 ส.ค.นี้

.


27 กรกฎาคม 2555

อัพเดทข่าว Forex 27 ก.ค.

> นิตยสารแดร์ ชปีเกล (Der Spiegel) ของเยอรมนี รายงานว่า
กรีซจะไม่ได้รับเงินช่วยเหลือเพิ่มเติมจากกองทุนการเงินระหว่างประเทศ (ไอเอ็มเอฟ)
ซึ่งอาจส่งผลให้กรีซล้มละลายในเดือนกันยายน
ทั้งนี้ แดร์ ชปีเกลรายงานว่า ไอเอ็มเอฟได้แจ้งต่อสหภาพยุโรป (อียู) ว่า
ไอเอ็มเอฟไม่พร้อมที่จะจัดสรรเงินช่วยเหลือเพิ่มเติมประมาณ 1-5 หมื่นล้านยูโร
เนื่องจากรัฐบาลกรีซไม่สามารถปรับลดหนี้สาธารณะลงสู่ระดับ 120 %
ของผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศ (จีดีพี) ได้ภายในปี ค.ศ. 2020



อันโตนิส ซามาราส นายกรัฐมนตรีกรีซ 
(ภาพจากผู้จัดการ)

> ประธานกรรมาธิการยุโรปเตือนกรีซว่า
จะต้องดำเนินการตามพันธกรณี หากยังต้องการเป็นสมาชิกกลุ่มยูโรโซนต่อไป
นายโชเซ มานูเอล บาร์โรโซ ประธานกรรมาธิการยุโรป กล่าวภายหลังการพบหารือกับ
นายกรัฐมนตรีอันโตนิส ซามาราส ของกรีซ และ นายยานนิส สเตอร์นาราส รัฐมนตรีคลังที่กรุงเอเธนส์
ว่ากรีซจะต้องเร่งดำเนินมาตรการตามเงื่อนไขในการขอรับเงินช่วยเหลือโดยเร็ว
เพราะลำพังแต่การรับปากนั้น ยังไม่เพียงพอแต่จะต้องลงมือปฏิบัติจริง
เพื่อสร้างความเชื่อมั่นให้แก่หุ้นส่วนในยุโรป และนานาประเทศ
นายบาร์โรโซยังกล่าวด้วยว่าบรรดาผู้นำรัฐบาลของสมาชิกยูโรโซน ได้เน้นย้ำว่า
กรีซจะอยู่ในกลุ่มอยู่ยูโรโซนได้ต่อไปตราบใดที่กรีซปฏิบัติตามพันธกรณี
ขณะที่นายกรัฐมนตรีซามาราส กล่าวว่า
รัฐบาลได้ตัดสินใจที่จะเดินหน้าปรับโครงสร้างเศรษฐกิจ และแปรรูปรัฐวิสาหกิจ
รวมทั้งดำเนินมาตรการตามพันธกรณีที่ได้ตกลงไว้เพื่อลดการขาดดุลงบประมาณ

> รัฐมนตรีเศรษฐกิจสเปน มั่นใจว่า
สเปนจะไม่ผิดนัดชำระหนี้ และไม่จำเป็นต้องขอรับเงินช่วยเหลือจากต่างประเทศ
นายลูอิส เดอ กินดอส รัฐมนตรีเศรษฐกิจสเปน แสดงความเชื่อมั่นว่า
สเปนจะมีขีดความสามารถในการชำระหนี้ได้
และว่าสถานะทางการเงินในปีนี้ยังคงมีเสถียรภาพเหมือนกับเมื่อปีที่แล้ว
และไม่จำเป็นต้องขอรับเงินช่วยเหลือจากต่างประเทศ 
ถ้อยแถลงดังกล่าวมีขึ้น หลังจากที่ นายมาริโอ ดรากี ประธานธนาคารกลางยุโรป หรืออีซีบี
เพิ่งประกาศว่าจะกระทำทุกวิถีทางที่จำเป็นเพื่อป้องกันไม่ให้เศรษฐกิจยูโรโซนล่มสลาย
นายเดอ กินดอส กล่าวว่า อีซีบีนั้นเป็นผู้ให้หลักประกันรายใหญ่ของเงินยูโร
จึงไม่แปลกใจที่มีการแถลงเช่นนั้น 
แต่ถ้อยแถลงของประธานอีซีบี ก็ช่วยให้ดอกเบี้ยพันธบัตรรัฐบาลสเปนอายุ 10 ปี
ลดลงจากร้อยละ 7.5 ลงมาอยู่ที่ร้อยละ 7  ซึ่งถือเป็นภาระหนักของรัฐบาลสเปน
อย่างไรก็ดี รัฐมนตรีเศรษฐกิจสเปนย้ำ
ว่ารัฐบาลยังมีเงินเพียงพอและมีความเป็นไปได้น้อยมากที่สเปนจะต้องขอรับเงินช่วยเหลือ

> กองทุนการเงินระหว่างประเทศ ( IMF) กล่าวว่า
เศรษฐกิจจีนกำลังเผชิญความเสี่ยงในช่วงขาลงอย่างมาก
และเห็นว่าเศรษฐกิจจีนพึ่งพาการลงทุนมากเกินไป
โดย IMF แนะนำให้ทางการจีนกระตุ้นการอุปโภคบริโภคให้ขยายตัวมากขึ้น
อย่างไรก็ดี IMF มองว่าจีนมีความสามารถเพียงพอที่จะรับมือกับปัญหาเศรษฐกิจหากจำเป็น
โดยการใช้มาตรการทางการคลัง
ขณะเดียวกัน IMF ได้กล่าวย้ำความเห็นอีกครั้งว่าขณะนี้ค่าเงินหยวนอ่อนเกินปัจจัยพื้นฐาน
ซึ่งความเห็นดังกล่าวเป็นสิ่งที่ทางการจีนไม่เห็นด้วย

> รอยเตอร์เปิดเผยผลสำรวจบ่งชี้ว่า
อังกฤษมีโอกาส 1 ใน 3 ที่จะสูญเสียอันดับความน่าเชื่อถือที่ AAA
ซึ่งกรณีดังกล่าวจะเพิ่มแรงกดดันอย่างหนักต่อ นายจอร์จ ออสบอร์น รมว.คลังของอังกฤษ
ซึ่งยังคงดำเนินมาตรการรัดเข็มขัดแม้ภาวะเศรษฐกิจถดถอยรุนแรงขึ้น

โดยผลสำรวจนักเศรษฐศาสตร์มากกว่า 60 คนได้จัดทำขึ้นหลังจากรายงานข่าวเมื่อวันพุธระบุว่า
เศรษฐกิจอังกฤษหดตัวลง 0.7% ในไตรมาส 2
ซึ่งรุนแรงกว่าที่นักวิเคราะห์ส่วนใหญ่คาดการณ์ไว้และหดตัวลงมากกว่ายูโรโซน
ในทางทฤษฎีนั้นอันดับความน่าเชื่อถือขั้นสูงสุดที่ AAA
จะช่วยทำให้อัตราดอกเบี้ยกู้ยืมของรัฐบาลยังคงอยู่ในระดับต่ำ
โดยเป็นการรับประกันกับนักลงทุนว่า ไม่ว่าจะเกิดอะไรขึ้น หนี้ของพวกเขาจะได้รับการชำระคืน
ขณะที่ผลสำรวจบ่งชี้ว่ามีโอกาส 35% ที่อังกฤษจะถูกปรับลดอันดับความน่าเชื่อถือ
ซึ่งเพิ่มขึ้นจาก 25% ที่ได้รับการสำรวจในเดือน มี.ค.ที่ผ่านมา

ทั้งนี้นักเศรษฐศาสตร์ส่วนใหญ่ระบุว่า
นายออสบอร์นไม่ควรผ่อนคลายมาตรการรัดเข็มขัดด้านการคลัง
ซึ่งมีเป้าหมายเพื่อลดยอดขาดดุลงบประมาณที่ระดับ 8% ของจีดีพีภายใน 5 ปี
ขณะที่ผลสำรวจบ่งชี้ว่าธนาคารกลางอังกฤษ (BOE)
จะต้องดำเนินการเพิ่มวงเงินในโครงการซื้อพันธบัตรทั้งหมดเป็น 4 แสนล้านปอนด์
ซึ่งอาจจะเกิดขึ้นในเดือน พ.ย.
ขณะที่รัฐบาลดำเนินการต่อการปรับลดการใช้จ่ายครั้งใหญ่และการปลดข้าราชการ

.

ข่าวฟอเร็กซ์ 27 ก.ค.

นายมาริ​โอ ดรากิ ประธานธนาคารกลางยุ​โรป (อีซีบี) กล่าว​ในที่ประชุมว่าด้วย​การลงทุน​โลก
ที่กรุงลอนดอน​เมื่อช่วง​เย็นวานนี้ตาม​เวลา​ไทยว่า  อีซีบีจะดำ​เนิน​การทุกอย่าง​เพื่อปกป้องสกุล​เงินยู​โร
และพร้อมจะ​ทำทุกวิถีทางที่จำ​เป็นภาย​ในขอบ​เขตอำนาจของอีซีบี ​เพื่อยับยั้ง​การล่มสลายของยู​โร​โซน
นอกจากนี้ นายดรากิกล่าวว่า...
ตลาด​การ​เงินกำลังประ​เมิน​ความคืบหน้า​ใน​การ​แก้​ไขวิกฤต​การณ์​ในยู​โร​โซนต่ำ​เกิน​ไป ​
และสกุล​เงินยู​โร​ก็​แข็ง​แกร่งมากกว่าที่หลายฝ่ายคาดคิด

นายมาริ​โอ ดรากิ ประธานธนาคารกลางยุ​โรป
ซึ่งคำกล่าวของประธาน ECB เป็นคำกล่าวที่หนักแน่นกว่าครั้งก่อนๆ และเป็นการส่งสัญญาณว่า
ECB อาจใช้มาตรการใหม่ๆ ในการต่อสู้กับวิกฤต ซึ่งทำให้ค่าเงินยูโรพุ่งขึ้นแรงทันที
รวมทั้งยังระบุว่า ECB จะกำหนดเป้าหมายอัตราผลตอบแทนพันธบัตรที่ระดับสูง
ซึ่งเป็นมาตรการที่ก่อนหน้านี้ ECB ยังลังเลที่จะดำเนินการอยู่
โดยจะตั้งเป้าจัดการกับดอกเบี้ยพันธบัตรที่สูงมากในบางประเทศ (เช่นสเปน และอิตาลี)
ส่งผลให้ตลาดคาดหวังว่าในการประชุม ECB วันที่ 2 ส.ค.นี้ จะมีมาตรการเพิ่มเติมออกมา
(ลดดอกเบี้ย Refi จากปัจจุบัน 0.75% หรือการซื้อพันธบัตรในตลาดรอง เป็นต้น)
ส่งผลให้นักลงทุนเกิดความเชื่อมั่นในตลาดทุนและสินทรัพย์เสี่ยงเพิ่มขึ้น
แม้กระทั่งตลาดทุนโลกยังตอบสนองต่อคำพูดของประธาน ECB ดีมาก
จนทำให้สินทรัพย์เสี่ยงปรับขึ้นแรงถ้วนหน้า
แต่ความคาดหวังของนักลงทุนต่อนโยบายดังกล่าวย่อมอยากเห็นเป็นรูปธรรมในเร็วที่สุด

ขณะที่ข้อมูลเศรษฐกิจสหรัฐฯ ยังไร้ทิศทาง
โดยจำนวนผู้ขอรับสวัสดิการว่างงานครั้งแรกสัปดาห์ก่อนลดลงใกล้ระดับต่ำสุดในรอบ 4 ปี
แต่ยอดสั่งซื้อสินค้าคงทนและยอดทำสัญญาขายบ้านในเดือน มิ.ย. กลับลดลงเกินคาด
ทว่านักลงทุนก็ยังมีความหวังกับผลการประชุมเฟดในวันที่ 31 ก.ค.-1 ส.ค. นี้ต่อ



นายจุน อาซูมิ รมว.คลังญี่ปุ่น ​เปิด​เผย​ในวันนี้ว่า ญี่ปุ่นจะพอ​ใจอย่างมาก
หากคำมั่นสัญญาของนายมาริ​โอ ดรากิ ประธานธนาคารกลางยุ​โรป (อีซีบี)
ที่ว่าจะดำ​เนิน​การทุกอย่าง​เพื่อสนับสนุนยู​โร​โซนนั้น
​เป็น​การส่งสัญญาณว่าจะมี​การสนับสนุน​โดยตรง​แก่ธนาคารที่กำลังประสบปัญหาด้าน​การ​เงิน​ในยู​โร​โซน

สำนักข่าว​เกียว​โดรายงานว่า รัฐบาลญี่ปุ่น​ได้ติดตามสถาน​การณ์​ในตลาดปริวรรต​เงินตราอย่าง​ใกล้ชิด
นับตั้ง​แต่สกุล​เงิน​เยน​แข็งค่าขึ้น​เมื่อ​เทียบกับยู​โร อัน​เนื่องมาจาก​ความวิตกกังวลที่ว่า
ส​เปนอาจจะต้องขอ​ความช่วย​เหลือด้าน​การ​เงินจาก​เจ้าหนี้ต่างประ​เทศ ​
เพื่อ​เป็นทุน​ใน​การ​แก้ปัญหาด้าน​การคลัง
โดยนักวิ​เคราะห์​ในตลาดมองว่า ​การ​ให้คำมั่นสัญญาของนายดรากิถือ​เป็น​การส่งสัญญาณว่า
อีซีบีตั้ง​ใจจะ​เข้าซื้อพันธบัตรรัฐบาล​ในยุ​โรป​ในตลาดรอง ​
เพื่อช่วยลดผลกระทบของสถาบัน​การ​เงินที่ประสบกับภาวะขาดทุน​ในตลาดตราสารหนี้
อย่าง​ไร​ก็ตาม มีนักวิ​เคราะห์บางคนมองว่า ​
การ​แทรก​แซงตลาดของอีซีบีอาจจะช่วย​ให้สถาน​การณ์ผ่อนคลายลง​ในระยะสั้น ​เท่านั้น


***

ตัวเลขเศรษฐกิจสำคัญประจำวันนี้
• ตัวเลขว่างงานสเปน เวลา 14.00 น.
• เลขประมาณการครั้งแรกของจีดีพีที่แท้จริงประจำไตรมาส 2/2012 สหรัฐฯ เวลา 19.30 น.
• ดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภคช่วงท้ายเดือนก.ค. สหรัฐฯ เวลา 20.55 น.

ส่วนประเด็นที่ต้องติดตาม
• IMF จะออกรายงานความคืบหน้าทางเศรษฐกิจของสเปนในวันนี้
• การประชุม FOMC ในวันที่ 31 ก.ค. – 1 ส.ค.
• การประชุม ECB (2 ส.ค.)
• การปรับลดอันดับเครดิตประเทศและสถาบันการเงินของสถาบันจัดอันดับเครดิต
• การประมูลพันธบัตรรัฐบาลของสเปน อิตาลี และกรีซ

ปิดท้าย :

ธนาคารกลางยุโรป (อีซีบี) เปิดเผยว่า
ผู้บริโภคและบริษัทต่างๆ ยังคงแห่ถอนเงินออกจากธนาคารกรีซในเดือน มิ.ย.
ซึ่งเพิ่มปัญหาให้กับภาคธนาคารที่มีปัญหาอยู่แล้ว ขณะที่อนาคตของกรีซในยูโรยังคงเป็นที่กังขา
ทั้งนี้ การคาดการณ์ว่ากรีซอาจจะออกจากยูโรโซนนั้น มีความรุนแรงในเดือน พ.ค.
ซึ่งพรรคที่ต่อต้านมาตรการรัดเข็มขัดได้รับคะแนนเสียงอย่างมากในการเลือกตั้ง

ทั้งนี้ ข้อมูลเงินฝากประจำเดือน มิ.ย.ของอีซีบีระบุว่า
เงินฝากของภาคเอกชนกับธนาคารในกรีซลดลงเกือบ 5% ซึ่งสอดคล้องกับที่ลดลงอย่างมากในเดือน พ.ค.
ขณะที่ปริมาณเงินฝากทั้งหมดลดลงสู่ 1.562 แสนล้านยูโร ณ สิ้นเดือน มิ.ย.จาก 1.631 แสนล้านดอลลาร์ในเดือน พ.ค.
และต่ำกว่าระดับสูงสุดในเดือน ธ.ค. 2009 อยู่กว่า 1 ใน 3
และขณะนี้ปริมาณเงินฝากอยู่ที่ระดับต่ำสุดในรอบกว่า 6 ปี

ด้านไอร์แลนด์มีปริมาณเงินฝากลดลง 2% และโปรตุเกสลดลง 3.5% ในเดือน มิ.ย.
ส่วนเงินฝากของภาคเอกชนในสเปนลดลงไม่ถึง 1% สู่ระดับต่ำสุดตั้งแต่เดือน ก.ค.2008
แต่อิตาลีปรับตัวดีกว่า โดยมีปริมาณเงินฝากเพิ่มขึ้นเกือบ 2%

.

26 กรกฎาคม 2555

พรุ่งนี้...มหกรรมกีฬาโอลิมปิก

ทั้ง EUR GBP และ CHF สกุลเงินต่างแข็งค่าขึ้นมาอย่างแรง
ผมเปิด MT4 ขึ้นมายังงงๆ เห็นแท่งเทียนยาวๆ แบบไม่คาดคิด
เปรียบจากเวลาที่กราฟราคาดีดขึ้นแล้ว ไม่รู้เพราะสุนทรพจน์ ECB President Draghi Speaks หรือไม่

ไว้มีความคืบหน้าค่อยมาอัพข่าวให้นะครับ

Report Forex





ต้องบอกก่อนว่า นี่เป็นบัญชี DEMO
ผมหันมาทดลองเงินปลอมเพื่อสร้างวินัยและปรับภาวะอารมณ์ตนเองให้ได้ก่อน
โดยเน้นดูกราฟที่ 1 ชั่วโมงขึ้นไป และไม่สนใจอินดี้มากนัก
พยายามเทรดแบบไม่ต้องคิดมาก ไม่ต้องจับจดเฝ้ากราฟ เปิดออเดอร์แล้วปิดเพื่อทำอย่างอื่น
พร้อมกับหันว่าสนใจการวิเคราะห์เทคนิเคิลในกราฟ Day Week และ Month เป็นหลัก
ซึ่งไทม์เฟรม 5 นาที หรือ 15 นาที ไม่มอง เพราะสัญญาณหลอกง่าย ไม่ชัวร์
ประเด็นสำคัญที่ต้องหาให้ได้คือ การเก็งกำไรระยะยาว ไม่ใช่การเก็บสั้น
แน่นอนว่า...ผมยังต้องค้นหาแนวทาเทรดเฉพาะตนต่อไป...
แต่ช่วงนี้ผมให้ความสนใจเงินปอนด์เป็นพิเศษ เพราะใกล้จะแข่งขันกีฬาโอลิมปิกในวันพรุ่งนี้แล้ว
(กำหนดการแข่งขันกีฬา โอลิมปิก ครั้งที่ 30 : วันที่ 27 กรกฎาคม  - 12 สิงหาคม 2012)
สำหรับพิธีเปิดการแข่งขันซึ่งเป็นไฮไลท์ของมหกรรมกีฬาโอลิมปิกในปีนี้ จัดขึ้นที่โอลิมปิก สเตเดียม
งานนี้ทางการอังกฤษเจ้าภาพทุ่มงบประมาณไปกว่า 1,350 ล้านบาท และใช้ผู้แสดงมากถึง 15,000 คน
ยังไม่รวมบรรดาสิงสาราสัตว์หลากหลายชนิดที่ถูกนำเข้ามาแสดงในพิธีเปิดด้วย
เช่น ม้า แกะ สุนัขเลี้ยงแกะ วัว แพะ ไก่ และห่าน

***

มาร์ค แม็คคอร์ด
นักเทคนิคการลงทุนในตลาดหุ้นในรูปแบบของการเก็งกำไรรายวัน
หรืออาจจะเรียกได้ว่า Day trade จากนักเก็งกำไรมืออาชีพในตลาดหุ้น Wall Street

"ผมจะเตรียมตัวสำหรับการเก็งกำไรอย่างนี้ครับ สิ่งแรกที่ผมทำคือ
การดูกราฟรายวัน ดูราคาสูงสุด ต่ำสุดในรอบ 3 เดือน หรือ 6 เดือน
นั่นคือทั้งหมดที่ผมต้องการ ผมอยากรู้ว่าจุดสูงสุด ต่ำสุด แนวรับ แนวต้าน มันอยู่ตรงไหน
กราฟจะบอกผมว่ามันอยู่ที่ใดและกำลังไปทิศทางไหน การอ่านกราฟต้องไล่อ่านไปทีละตัว"


"เมื่อผมซื้อหุ้นไว้แล้วราคามันวิ่งขึ้นไปผมก็เก็บมันใส่กระเป๋าไว้
เมื่อผมซื้อหุ้นถูกจังหวะแล้ว ไม่มีเหตุผลอะไรที่ต้องรีบขายออกไป
สิ่งที่ผมทำก็คือปล่อยให้มันวิ่งไปเรื่อยๆ
แต่สิ่งหนึ่งที่คุณต้องระวังก็คืออย่าปล่อยให้กำไรกลายเป็นขาดทุน
คุณต้องช้าๆ เมื่อได้กำไร แต่ต้องว่องไวเมื่อขาดทุน"

มีนักเก็งกำไรเก่งๆ หลายคนเคยกล่าวว่า การบุกที่ดีก็คือการตั้งรับอย่างแข็งแกร่ง
กลยุทธ์ของเขาก็คือการสร้างกฎขึ้นมา และต่อไปนี้ คือ
กฎข้อที่ 1 ของเขา "ถ้าคุณเข้าไปซื้อหุ้นและคุณเป็นมือใหม่ อย่าปล่อยให้ขาดทุนเกิน 3 ช่วงราคา
ไม่ว่าหุ้นจะวิ่งไปทางไหน หลังจากที่คุณขายหุ้นออกไปแล้วอย่าไปสนใจมัน
ถ้าผมซื้อหุ้นที่ราคา 110 บาท แล้วมันลงไป 108 บาท ผมจะขายทันที
ผมจะไม่ปล่อยให้มันลงไปถึง 105 บาทแล้วก็ตั้งความหวังว่ามันจะดีดกลับมา ถามตัวคุณเองก่อนว่า
คุณยอมเสี่ยงกี่บาทในทุกครั้งที่คุณเข้าไปซื้อหุ้น เมื่อได้คำตอบแล้วก็จงทำตามนั้น"

กฎข้อที่ 2 "อย่าปล่อยให้กำไรกลายเป็นขาดทุน"
เอาเป็นว่าถ้าคุณซื้อหุ้นที่ราคา 100 บาท แล้วราคาวิ่งขึ้นไป 110 บาท ถ้าราคาตกลงมาที่ 108 บาท
ผมจะขายทันที ที่เป็นเช่นนี้ก็เพราะว่าถ้าคุณซื้อหุ้น 1,000 หุ้น แล้วมีกำไร 10,000 บาทในกระเป๋า
แต่คุณกลับปล่อยให้ราคาตกลงไปที่ 98 บาท นั่นเท่ากับว่าคุณทิ้งเงินไป 12,000 บาท
ดังนั้นจงคว้ากำไรไว้ก่อน ไม่มีใครจนจากการได้กำไร

ส่วนคนที่พูดว่า...
"ฉันรู้ว่าฉันเป็นมือใหม่และยอมเสียเงินในตอนเริ่มต้น แต่แทนที่ฉันจะขาดทุน $50,000
ฉันขอยอมสู้แค่ $5,000 เพื่อทำความเข้าใจระบบและกลไกตลาด"
คนที่พูดแบบนี้ก็ถือว่าใช้ได้

แต่พวกที่พูดว่า...
"ฉันจะกวาดเงินในตลาดและพยายามทำเงินให้ได้วันละ $5,000"
คนที่คิดว่าการเก็งกำไรรายวันเป็นของกล้วยๆ ง่ายๆ คนพวกนี้แหละคือคนที่ผมอยากจะเทรดด้วย
เพราะผมเพิ่งทำเงินจากคนพวกนี้มาหมาดๆ ตลาดหุ้นเป็นเกมที่มีคนได้ก็ต้องมีคนเสีย
ถ้ามีคนซื้อก็ต้องมีคนขาย ถ้ามีผู้ชนะก็ต้องมีผู้แพ้--

.


ข่าวฟอเร็กซ์ 26 ก.ค.

ยูโร/ดอลล์ดีดตัวขึ้นจากระดับต่ำสุดในรอบ 2 ปี
โดยสกุลยูโรปรับตัวขึ้นเมื่อเทียบกับดอลลาร์เป็นครั้งแรกในรอบ 6 วัน (วันพุธ)
หลังจากนาย​เอวัลด์ ​โนวอตนี กรรมการสภาบริหารของธนาคารกลางยุโรป (อีซีบี) กล่าวว่า
อาจมีการให้ใบอนุญาตด้านการธนาคารแก่กองทุนกลไกรักษาเสถียรภาพ (ESM)
ซึ่ง​เป็นกองทุนช่วย​เหลือถาวรของยู​โร​โซน อาจสามารถขยายวง​เงินปล่อยกู้​ได้
หากกองทุน ESM ​ได้​ใบอนุญาต​ทำธุรกิจธนาคาร ​ซึ่งจะ​ทำ​ให้ ESM เข้า​ถึง​เงินกู้ของธนาคารกลางยุ​โรป​ได้

แม้นช่วงนี้ยังไม่มีข่าวลบใหม่ๆ ในยุโรปออกมาทว่าก็ต้องจับตาดู
ประเด็นของกรีซนั้นต้องรอถึงต้นเดือน ส.ค. จึงจะทราบผลการตรวจสุขภาพเศรษฐกิจจากทรอยก้า
ขณะที่สเปนนั้นพบว่าดอกเบี้ยพันธบัตร 10 ปี ลดลงแรงเมื่อวานจากระดับสูงสุดของวันที่ 7.75% สู่ 7.38%
หลังจากมีข่าวว่าเจ้าหน้าที่ ECB ผลักดันให้มีการให้ใบอนุญาตต่อกองทุน ESM ให้ทำหน้าที่เป็นธนาคารได้
ซึ่งเรื่องนี้ในระดับพื้นานแล้วไม่ใช่เรื่องง่าย และต้องใช้เวลา 
แต่ในระดับจิตวิทยาแล้วถือว่าเป็นบวกต่อตลาด
นอกจากนี้น่าจะมีแรงเก็งกำไรสินทรัพย์ทางการเงินโดยรวมบ้าง
ก่อนหน้าการประชุมของธนาคารกลางใหญ่ 2 แห่งในสัปดาห์หน้า
ได้แก่ US FOMC ในวันที่ 1 ส.ค. และ ECB ในวันที่ 2 ส.ค.

ด้านสหรัฐฯ หลังจากที่ตัวเลขยอดขายบ้านใหม่เดือน มิ.ย. กลับมาร่วงลงเกินคาด
ยิ่งเพิ่มความหวังให้กับนักลงทุนที่คาดว่าเฟดอาจจะพิจารณาเรื่องของมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจใหม่เพื่อเข้ามาหนุนเศรษฐกิจในเร็วๆ นี้ได้
นักลงทุนเริ่มมีการเก็งกำไรและพูดถึงเรื่องมาตรการการเงินพิเศษของเฟดที่ไม่ได้อยู่ในรูปแบบของการอัดฉีดเหมือน QE1 และ QE2
ขณะที่เริ่มมีความหวังว่าเฟดอาจนำมาตรการอัดฉีดช่วยเหลือมาใช้ภายในการประชุมในสัปดาห์หน้านี้


ตัวเลขเศรษฐกิจสำคัญประจำวันนี้
• ความเชื่อมั่นผู้บริโภคเยอรมนี GfK เวลา 13.00 น.
• ตัวเลขยอดค้าปลีกในอิตาลีรายเดือน เวลา 15.00 น.
• สุนทรพจน์ประธาน ECB เวลา 16.30 น.
• ยอดคำสั่งซื้อสินค้าคงทนพื้นฐานสหรัฐฯ  เวลา 19.30 น.
• ยอดผู้ขอรับสวัสดิการสหรัฐฯ เวลา 19.30 น.
• ยอดทำสัญญาขายบ้านสหรัฐฯ เวลา 21.00 น.

วันนี้ประมาณ 21.00 น. ยังคงจับตาดูการแถลงการณ์ของ
นายไกธ์​เนอร รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังของอเมริกาในหัวข้อเรื่องเสถียรภาพทางการเงิน
โดยการแถลงการณ์ดังกล่าวน่าจะสร้างบรรยากาศที่ดีในการลงทุนได้บ้าง

นายทิโมธี ไกธ์เนอร์ รัฐมนตรีคลังของสหรัฐฯ (ภาพจากกรุงเทพธุรกิจ)

ส่วนเมื่อวาน
นายทิ​โมธี ​ไกธ์​เนอร์ รมว.คลังสหรัฐฯ ได้กล่าวว่า
วิกฤตหนี้ยู​โร​โซน​และภาวะชะงักงันทาง​การ​เมืองของสหรัฐ​ฯ ในประ​เด็นน​โยบาย​การคลัง
จะ​เป็นภัยคุกคามต่อ​เสถียรภาพทาง​การ​เงิน​และ​การขยายตัวทาง​เศรษฐกิจของประ​เทศ
“วิกฤตยุ​โรปที่ยืด​เยื้อ​เป็น​ความ​เสี่ยงรุน​แรงที่สุดต่อ​เศรษฐกิจของ​เรา"
นาย​ไกธ์​เนอร์ยัง​แถลงต่อคณะกรรมาธิ​การ​การ​เงินของสภา​ผู้​แทนราษฎรสหรัฐ​ฯ
เกี่ยวกับรายงานประจำปีของสภากำกับดู​แล​เสถียรภาพทาง​การ​เงิน (FSOC) ต่อสภาคอง​เกรส ว่า
“​การขยายตัวที่ชะลอลงของสหรัฐอาจจะรุน​แรงมากขึ้น
จาก​ความวิตก​เกี่ยวกับ​การปรับขึ้นภาษี​และ​การลดรายจ่ายที่กำลังจะมีขึ้น ​
และจาก​ความ​ไม่​แน่นอน​เกี่ยวกับ​แนวทาง​การปฏิรูปน​โยบายภาษี
​และ​การ​ใช้จ่ายที่จำ​เป็นต่อ​การหนุน​ความรับผิดชอบทาง​การคลัง"
เขายังกล่าว​เตือนสมาชิกสภานิติบัญญัติว่า​
"ความล้ม​เหลว​ใน​การดำ​เนิน​การปฏิรูป​ให้ทัน​เวลา​และ​ใน​แนวทางที่น่า​เชื่อถือ
จะสร้าง​ความ​เสียหายต่อ​การขยายตัวทาง​เศรษฐกิจของสหรัฐ​ฯ ในอนาคต..."
สำหรับระบบ​การ​เงินสหรัฐฯ โดยรวมนั้น นาย​ไกธ์​เนอร์กล่าวว่า
"ภัยคุกคามที่มี​ความ​เป็น​ไป​ได้ดังกล่าว​ได้ตอกย้ำ​ถึง​ความจำ​เป็น
ที่จะผลักดัน​ให้มี​ความคืบหน้าอย่างต่อ​เนื่อง​ใน​การฟื้นฟู​ความ​เสียหาย
จากวิกฤติ​การ​เงิน​และ​ใน​การปฏิรูป​เพื่อ​ทำ​ให้ระบบ​การ​เงินมี​ความ​แข็ง​แกร่งขึ้น​ในระยะยาว..."

** สภากำกับดู​แล​เสถียรภาพทาง​การ​เงิน FSOC ​**
เป็นองค์กรที่จัดตั้งขึ้นภาย​ใต้กฎหมายปฏิรูป​การ​เงินดอดด์-​แฟรงก์
และมีหน้าที่​ใน​การประ​เมิน​ความ​เสี่ยง​และส่ง​เสริมวินัยทาง​การ​เงินของตลาด
โดย FSOC ​ได้​เสนอ​แนะ​ให้ปรับปรุง​ความมี​เสถียรภาพทาง​การ​เงินของสหรัฐฯ
รวม​ทั้งสนับสนุน​ให้มี​การ​ให้​ความสน​ใจอย่างต่อ​เนื่อง​
ใน​การสร้าง​ความ​แข็ง​แกร่งต่อ​การสำรอง​เงินทุน​และ​การทดสอบภาวะวิกฤต

ด้านญี่ปุ่น
นายมาซาอากิ ชิรากาว่า ​ผู้ว่า​การธนาคารกลางญี่ปุ่น (บี​โอ​เจ) กล่าวว่า
ธนาคารพาณิชย์ของญี่ปุ่นอาจขาดทุน 13.3 ล้านล้าน​เยน (1.7 ​แสนล้านดอลลาร์) ​
เมื่อพิจารษจาก​การประ​เมินยอดขาดทุนจาก​การถือครองพันธบัตรรัฐบาล
หากอัตราผลตอบ​แทน​เพิ่มขึ้น 2% จากระดับ​ในปัจจุบัน
คำ​เตือนของ​ผู้ว่า​การบี​โอ​เจมีขึ้นท่ามกลางกระ​แสคาด​การณ์​ในวงกว้างว่า
ญี่ปุ่นอาจ​เผชิญกับวิกฤตหนี้สาธารณะ​ในลักษณะ​เดียวกับยุ​โรป
​เมื่อพิจารณา​ถึงจำนวนหนี้สาธารณะที่อยู่​ในระดับสูงกว่า​ในประ​เทศยู​โร​โซนบางประ​เทศ
​ในขณะที่งบประมาณของญี่ปุ่นยัง​ไม่มี​ความยั่งยืน

.

25 กรกฎาคม 2555

ช่วงตุลาฯ จับตาดูสเปนให้ดี

ขณะกำลังเขียนบล็อกตอนนี้ก็ประมาณห้าทุ่มตามเวลาประเทศไทย

วันนี้ สกุลเงินยูโรเริ่มมีชีวิตชีวาและแข็งค่าขึ้นมาได้บ้าง
คงเพราะตลาดขานรับถ้อย​แถลงของนาย​เอวัลด์ ​โนวอตนี สมาชิกสภาบริหารของธนาคารกลางยุ​โรป (อีซีบี)
นาย​โนวอตนีกล่าวว่า
ขณะนี้มี​การหารือกัน​เกี่ยวกับ​เรื่อง​การ​ให้​ใบอนุญาต​ทำธุรกิจธนาคาร​แก่กองทุนกล​ไกรักษา​เสถียรภาพยุ​โรป
ทั้งนี้ ​การอนุมัติ​ใบอนุญาต​ให้​แก่ ESM จะ​ทำ​ให้ ESM สามารถ​เข้า​ถึง​เงินกู้ของธนาคารกลางยุ​โรป​ได้
ซึ่งนักวิ​เคราะห์กล่าวว่า
ถ้อย​แถลงของนาย​โนวอตนี​ทำ​ให้ตลาดมี​ความหวังมากขึ้น​เรื่อง​การจัด​การกับวิกฤตหนี้ยุ​โรป
​เนื่องจากตลาดกังวลอยู่ว่าวง​เงินปัจจุบันของกองทุน ESM มีขนาด​ใหญ่​ไม่มากพอที่จะช่วย​เหลือส​เปน​และอิตาลี​ได้

ก็ไม่รู้ว่าถ้อยแถลงเท่านี้จะส่งผลเชิงบวกให้ยุโรปฟื้นสภาพในระยะยาวได้หรือไม่
ยิ่งในตลาดเงินที่อ่อนไหวง่าย พอมีปัจจัยข่าวไม่ว่าด้านใดก็อาจเกิดการปั่นและทุบราคากันได้ง่ายๆ
โดยวันนี้ทั้งข้อมูลตัวเลขเศรษฐกิจทั้งของยุโรปและสหรัฐฯ ก็ออกมาค่อนข้างน่าผิดหวัง

***
สเปนอาจต้องขอเงินช่วยเหลือ 
หวั่นไม่สามารถระดมทุน 5 หมื่นล้านยูโรได้ก่อนสิ้นปี


รอยเตอร์ระบุว่า หนี้สินของแคว้นต่างๆ ในสเปน ต้นทุนการกู้ยืมที่พุ่งขึ้น
ยอดขาดดุลงบประมาณที่เพิ่มขึ้น และความเชื่อมั่นที่ลดลงในตลาด
ล้วนเป็นปัจจัยที่อาจส่งผลให้รัฐบาลกลางสเปนไม่สามารถระดมทุนที่จำเป็นได้ถึง 5 หมื่นล้านยูโรก่อนสิ้นปีนี้
นอกจากว่าสเปนจะขอความช่วยเหลือทางการเงินจากต่างประเทศ

ก่อนหน้านี้เจ้าหน้าที่สเปนกล่าวอ้างว่า การระดมทุนในช่วงครึ่งปีหลังจะไม่ใช่เรื่องที่ยากลำบาก
เพราะสเปนระดมทุนไปแล้ว 5.9 หมื่นล้านยูโรในช่วงครึ่งปีแรก จากเป้าหมายตลอดทั้งปีที่ตั้งไว้ที่ 8.6 หมื่นล้านยูโร
ซึ่งเท่ากับว่าสเปนมีความจำเป็นต้องระดมทุนเพียง 2.7 หมื่นล้านยูโรเท่านั้นในช่วงครึ่งปีหลัง

อย่างไรก็ดี ความจำเป็นในการระดมทุนของสเปนเพิ่มสูงขึ้นในระยะนี้
เพราะรัฐบาลกลางสเปนจำเป็นต้องใช้เงินสูงกว่าที่เคยคาดการณ์ไว้ในช่วงต้นปีประมาณ 1 หมื่นล้านยูโร
เพื่อลดยอดขาดดุลงบประมาณลงให้ได้ตามเป้าหมายที่ตกลงกันไว้กับสหภาพยุโรป (อียู)
นอกจากนี้ รัฐบาลกลางสเปนยังต้องใช้เงินเพิ่มขึ้นอีก 1.2 หมื่นล้านยูโร 

เพื่ออัดฉีดสภาพคล่องให้แก่แคว้นต่างๆ ของสเปนที่มีหนี้สินสูงด้วย

ปัจจัยเหล่านี้ส่งผลให้สเปนจำเป็นต้องระดมทุนราว 5 หมื่นล้านยูโรในช่วงต่อไปในปีนี้
ขณะที่สเปนจำเป็นต้องลดยอดขาดดุลงบประมาณลงสู่ 6.3 % ของผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศ (จีดีพี)
โดยเป้าหมายนี้ได้ถูกปรับเปลี่ยนไปจากเป้าหมายเดิมที่ 5.3 %

ฐานะการคลังของรัฐบาลสเปนถือเป็นประเด็นที่สร้างความกังวลเป็นอย่างมากต่อนักลงทุนต่างชาติในช่วงที่ผ่านมา
นับตั้งแต่สเปนประสบความล้มเหลวในการปรับลดยอดขาดดุลงบประมาณลงตามเป้าหมายในปีที่แล้ว


ต้นทุนการระดมทุนของสเปนได้พุ่งขึ้นสู่ระดับสูงสุดเป็นประวัติการณ์นับตั้งแต่มีการใช้สกุลเงินยูโร
โดยอัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลสเปนประเภทอายุ 10 ปีพุ่งขึ้นสู่ 7.60% เมื่อวานนี้
ในขณะที่ตลาดมองว่า อัตราผลตอบแทนที่ระดับตั้งแต่ 7% ขึ้นไปจะส่งผลให้รัฐบาลประเทศนั้น
ไม่สามารถชำระหนี้ได้อย่างยั่งยืน

กระทรวงการคลังสเปนสามารถใช้เงินสดในคลังและสภาพคล่องระยะสั้น
ในการชำระหนี้ 1.287 หมื่นล้านยูโร ซึ่งจะครบกำหนดชำระในวันจันทร์ที่ 30 ก.ค. 
อย่างไรก็ดี สเปนจะเผชิกับบททดสอบครั้งใหญ่ในวันที่ 29 ต.ค. และ 31 ต.ค.
เพราะพันธบัตรสเปนที่ครบกำหนดไถ่ถอนในสองวันดังกล่าวมี
มูลค่าไม่ต่ำกว่า 2.027 หมื่นล้านยูโร

ขณะนี้สเปนมีกันชนสภาพคล่องที่เป็นเงินสด 2.89 หมื่นล้านยูโร
แต่ปริมาณดังกล่าวลดลงอย่างรวดเร็วในช่วง 2 เดือนที่ผ่านมา
โดยลดลงจาก 4.4 หมื่นล้านยูโรในเดือน เม.ย. และ 4.03 หมื่นล้านยูโรในเดือน พ.ค.
โดยเดือน ก.ค.และ ต.ค.เป็นเดือนที่มีการจัดเก็บภาษีในสเปน
แต่รายได้จากการจัดเก็บภาษีอยู่ในระดับต่ำนับตั้งแต่ต้นปีนี้
โดยลดลง 5 % เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันในปีที่แล้ว

ถ้าหากสเปนไม่สามารถจำหน่ายพันธบัตรระยะกลางและระยะยาวได้ในจำนวนที่มากพอ
สเปนก็อาจจะใช้วิธีจำหน่ายตั๋วเงินคลังระยะสั้น อย่างไรก็ดี การพึ่งพาการระดมทุนระยะสั้น
เพื่อนำมาชำระหนี้ระยะยาวไม่ใช่วิธีการแก้ปัญหาที่แท้จริง และสเปนจะต้องจ่ายต้นทุนที่สูงมาก

ทั้งนี้ สเปนเปิดประมูลตั๋วเงินคลังมูลค่า 3 พันล้านยูโรเมื่อวานนี้
แต่สเปนต้องจ่ายอัตราผลตอบแทนที่สูงสุดเป็นอันดับ 2 นับตั้งแต่เริ่มมีการใช้เงินยูโรเป็นต้นมา

ขณะที่กระทรวงการคลังสเปนเคยระบุในช่วงต้นปีนี้ว่า
ทางกระทรวงวางแผนจะออกตั๋วเงินคลังระยะสั้น 1 แสนล้านยูโรก่อนสิ้นปีนี้
และขณะนี้ทางกระทรวงก็ได้ออกตั๋วเงินคลังระยะสั้นไปแล้ว 4.7 หมื่นล้านยูโร
และจำเป็นต้องกู้เงินใหม่เพื่อนำมาชำระหนี้ตั๋วเงินคลังเก่าราว 3.5 หมื่นล้านยูโรก่อนสิ้นปีนี้


ข่าวฟอเร็กซ์ 25 ก.ค.

มูดี้ส์ อินเวสเตอร์ เซอร์วิส สถาบันจัดอันดับความน่าเชื่อถือระหว่างประเทศ ได้ประกาศ
ปรับลดแนวโน้มอันดับความน่าเชื่อถือระยะยาวเฉพาะกาลของกองทุนรักษาเสถียรภาพการเงินยุโรป (EFSF)
ที่ (P)Aaa ลงสู่ "เชิงลบ"จาก "มีเสถียรภาพ"
ซึ่งถือเป็นข่าวร้ายสำหรับ EFSF ที่มีหน้าที่ช่วยเหลือประเทศที่มีเศรษฐกิจอ่อนแอในสหภาพยุโรป (อียู)
มูดี้ส์ระบุว่าการปรับแนวโน้มอันดับความน่าเชื่อถือของ EFSF ในครั้งนี้
มีขึ้นหลังจากมูดี้ส์ตัดสินใจในช่วงต้นสัปดาห์นี้ในการปรับลดแนวโน้มอันดับความน่าเชื่อถือของเยอรมนี, เนเธอร์แลนด์ และลักเซมเบิร์กลงสู่ "เชิงลบ" โดยทั้ง 3 ประเทศนี้เป็นผู้ค้ำประกันของ EFSF
 ขณะที่เยอรมนีเป็นประเทศที่ถือหุ้นมากที่สุดใน EFSF โดยถือหุ้นสูงกว่า 29 %
ซึ่ง EFSF ได้รับการจัดตั้งขึ้นในปี 2010 ให้มีหน้าที่รักษาเสถียรภาพการเงินในยุโรป
โดยใช้วิธีให้ความช่วยเหลือทางการเงินแก่ประเทศสมาชิกยูโรโซน EFSF
ได้รับการสนับสนุนจากภาระผูกพันในการค้ำประกันเงินราว 7.80 แสนล้านยูโร
โดย EFSF มีความสามารถในการปล่อยกู้ 4.40 แสนล้านยูโร
ทั้งนี้ มูดี้ส์และฟิทช์ เรทติ้งส์จัดอันดับความน่าเชื่อถือที่ Aaa ให้แก่ EFSF
แต่สแตนดาร์ด แอนด์ พัวร์ (S&P) จัดอันดับความน่าเชื่อถือที่ AA+

ทางฝั่งยุโรป
อัตราผลตอบแทนพันธบัตรสเปนอายุ 10 ปีพุ่งสูงขึ้นเหนือระดับ 7.5% สู่ระดับสูงสุดเป็นประวัติการณ์
โดยสเปนได้จ่ายระดับอัตราผลตอบแทนสูงสุดเป็นครั้งที่ 2 ในการประมูลตั๋วเงินคลังเมื่อวานนี้
ซึ่งมีความกังวลเพิ่มมากขึ้นเรื่อยๆ ว่าสเปนจะต้องการการช่วยเหลือทางการเงินเต็มอัตรา
ในขณะที่กรีซก็เป็นอีกประเทศที่อยู่ในประเด็นความสนใจ
ซึ่งกลุ่มเจ้าหน้าที่จากไอเอ็มเอฟ คณะกรรมาธิการยุโรป และอีซีบีเข้าเยือนกรีซเมื่อวานนี้
เพื่อตัดสินใจว่า จะให้กรีซยึดมั่นกับระยะเวลาในการช่วยเหลือทางการเงิน
หรือปล่อยให้กรีซล้มละลายและออกจากยูโรโซนไป
โดยผลการตรวจของทรอยก้าเบื้องต้น มีความเห็นจากอียูว่า
กรีซอาจไม่สามารถทำตามเงื่อนไขได้และอาจต้องมีการปรับโครงสร้างเพิ่มเติม
นับเป็นปัจจัยลบที่สำคัญต่อบรรยากาศการลงทุน

รมว.คลัง​เยอรมนี ​และรมว.คลังส​เปน ​เปิด​เผย​ใน​แถลง​การณ์ร่วมว่า
ต้นทุน​การกู้ยืมของส​เปนที่พุ่งสูง​แตะระดับสูงสุด
นับ​แต่​เริ่ม​ใช้สกุล​เงินยู​โรนั้น​เป็นระดับที่สูง​เกิน​ไป​และ​ไม่​ได้สะท้อนปัจจัยพื้นฐานทาง​เศรษฐกิจ
แถลง​การณ์ระบุว่าส​เปนมี​ความคืบหน้า​ในด้าน​การปฏิรูปทาง​เศรษฐกิจที่จำ​เป็นหลายประ​การ
​และรมว.คลัง​ทั้งสองประ​เทศยังระบุว่าจะ​เดินหน้าผลักดัน​การจัดตั้งสหภาพ​การธนาคาร​ในยู​โร​โซน ตามที่บรรดา​ผู้นำยู​โร​โซน​ได้​เห็นพ้องกัน​เมื่อ​เดือนที่​แล้ว


แม้ว่ารัฐบาลสเปนจะยังไม่ยืนยันการขอรับเงินช่วยเหลือจากต่างประเทศ
แต่ข่าวที่แคว้นต่างๆ ในสเปนเตรียมขอเงินช่วยเหลือจากรัฐบาลกลางยังมีออกมาอย่างต่อเนื่อง
ขณะที่อัตราผลตอบแทนพันธบัตรของสเปนก็ยังคงพุ่งสูงขึ้นด้วย
รวมทั้งเริ่มมีสัญญาณว่าการชะลอตัวของเศรษฐกิจยุโรปกำลังส่งผลกระทบต่อบริษัทต่างๆ ในสหรัฐฯ เพิ่มมากขึ้น

ขณะที่ตัวเลข PMI เดือน ก.ค. ของทั้งสหรัฐฯ และยุโรปก็อ่อนแอลง
ในการประกาศตัวเลขเศรษฐกิจทั้งทาง ยุโรป และสหรัฐฯ เมื่อวานนี้
ตัวเลข Flash manufacturing PMI ประจำเดือนกรกฎาคม
ของฝรั่งเศสออกมาอยู่ที่ระดับ 43.6 น้อยกว่าคาดการณ์ที่ 45.6
ส่วนของเยอรมนีออกมาที่ระดับ 43.3 น้อยกว่าคาดการณ์ที่ 45.3
ในขณะที่ผลทั้งยูโรโซนออกมาที่ 44.1 ต่ำกว่าคาดการณ์ที่ 45.3
ส่วนตัวเลข Flash manufacturing PMI ประจำเดือนกรกฎาคม
ของสหรัฐฯ ออกมาที่ระดับ 51.8 ต่ำกว่าคาดการณ์ว่าจะออกมาที่ 52.2 และน้อยกว่าของเดิมที่ 52.5
ในขณะที่ภาคการผลิตสาขาริชมอนด์ออกมาที่ระดับติดลบ 17 ลดลงจากของเดิมที่ระดับติดลบ 3 อย่างมาก
ทำให้นักลงทุนเริ่มกลับมากังวลกับการชะลอตัวของการเติบโตเศรษฐกิจโลกอีกครั้ง

ล่าสุดหนังสือพิมพ์วอลล์สตรีท เจอร์นัล ได้รายงานว่าเจ้าหน้าที่เฟดใกล้ที่จะดำเนินมาตรการใหม่
เพื่อกระตุ้นกิจกรรมทางเศรษฐกิจและการจ้างงานด้ว

***

วันนี้และพรุ่งนี้ ประมาณ 21.00 น. จับตาดูการแถลงการณ์ของ
นายไกท์เนอร์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังของอเมริกา
ในหัวข้อเรื่องเสถียรภาพทางการเงิน
โดยการแถลงการณ์ดังกล่าวน่าจะสร้างบรรยากาศที่ดีในการลงทุนได้บ้าง

ทั้งต้องติดตามดูตัวเลขเศรษฐกิจที่สำคัญวันนี้ ได้แก่
ตัวเลขผลผลิตมวลรวมในประเทศเบื้องต้นรายไตรมาส
กับดัชนีภาคการบริการรายไตรมาสในอังกฤษที่จะประกาศประมาณ 15.30 น.
ตัวเลขการคาดการณ์ยอดสั่งซื้อสินค้าอุตสาหกรรมของอังกฤษ ประมาณ 17.00 น.
ตัวเลขบรรยากาศการลงทุนในเยอรมัน และเบลเยียม ที่จะประกาศประมาณ 15.00 น. และ 20.00 น
และตัวเลขยอดขายบ้านใหม่ในสหรัฐฯ ประมาณ 21.00 น.




.

24 กรกฎาคม 2555

วิกฤตยูโรพลิกโอกาสโกยบอร์นเยอรมันนี-สหรัฐ เนื้อหอม

แวบไปเจอบทความดีๆ ก็จึงขอนำมาแบ่งปันสำหรับนักเทรดชาวไทยกัน
เป็นบทความจาก โพสต์ทูเดย์ (มากกว่าข่าว ทุกเรื่องราวคุณมีส่วนร่วม)
บทความนี้เขียนโดย...นงลักษณ์ อัจนปัญญา

วิกฤตยูโรพลิกโอกาสโกยบอร์นเยอรมันนี-สหรัฐ เนื้อหอม

แม้สถานการณ์วิกฤตหนี้สาธารณะในภูมิภาคยุโรปจะส่อเค้าเลวร้ายมากขึ้นเรื่อยๆ
ภายหลังจากที่บรรดาสารพัดมาตรการช่วยเหลือและแนวทางแก้ไขระลอกแล้วระลอกเล่า
ไม่สามารถฉุดรั้งความเชื่อมั่นของนักลงทุนทั่วโลกให้ฟื้นกลับคืนมาได้อย่างยั่งยืนมั่นคง
จนลุกลามลากเศรษฐกิจโลกให้ดำดิ่งซบเซาไปตามๆ กัน

แต่ใช่ว่าวิกฤตที่เกิดขึ้นจะไม่อำนวยอวยผลประโยชน์ใดๆ ให้กับใครเลยเสียทีเดียว 
เนื่องจากท่ามกลางมรสุมรุนแรง ยังคงมีบางประเทศที่วิกฤตสร้างโอกาสรอดให้
และหนึ่งในประเทศที่ได้รับประโยชน์ไปเต็มๆ 
แถมยังเป็นสมาชิกสำคัญลำดับ 1 ของกลุ่มยูโรโซน ก็คือพี่ใหญ่อย่างเยอรมนี

ขณะที่อีกหนึ่งประเทศที่โกยประโยชน์ไปได้ไม่แพ้กันก็คือ
สหรัฐอเมริกา มหาอำนาจอันดับ 1 ของโลกในปัจจุบัน
เหตุผลหลัก สืบเนื่องมาจากความวิตกกังวลและเข็ดขยาดของนักลงทุ
ที่มีต่อสถานการณ์เศรษกิจโลกที่เอาแน่เอานอนไม่ได้ในขณะนี้
ทำให้นักลง
ทุนส่วนใหญ่ไม่แยแสต่อมูลค่าของผลกำไรมากเท่ากับความปลอดภัยของการลงทุ

พูดให้เข้าใจง่ายขึ้นก็คือว่า
นักลงทุนในขณะนี้กำลังควานหาแหล่งพักเงินที่ปลอดภัยของตนเอง
เนื่องจากการรักษาเงินต้นไว้สำคัญกว่าการที่จะต้องไปลุ้นเสี่ยงให้ได้ผลตอบแทนจากเงินต้นที่ลงทุนไป
ภาพจาก posttoday
ซึ่งสินทรัพย์ปลอดภัยส่วนใหญ่ล้วนให้ผลตอบแทนที่ต่ำอยู่แล้ว
โดยมีหนึ่งในแหล่งพักเงินที่ปลอดภัยที่สุดในเวลานี้
อย่างตลาดตราสารหนี้ของภาครัฐเป็นหนึ่งในตัวเลือกที่สำคัญ
เพราะถือเป็นสินทรัพย์ที่มีความคล่องตัวมากที่สุดในโลก
จากการที่นักลงทุนสามารถมองหาตลาดรองเพื่อขายแลกเปลี่ยนได้ทันทีเมื่อต้องการ โดยที่ราคาไม่เปลี่ยนแปลงมากนัก




ส่วนสาเหตุที่ต้องเป็นพันธบัตรรัฐบาลของเยอรมนีกับสหรัฐฯ
เป็นเพราะเศรษฐกิจของทั้งสองประเทศมีขนาดใหญ่
โดยสำหรับเยอรมนีถือได้ว่าใหญ่ที่สุดในยุโรป
และอัตราการเติบโตทางเศรษฐกิจเป็นไปอย่างคงที่ด้วยอัตรา 0.5%
ซึ่งช่วยพยุงให้สถานการณ์ในยูโรโซนไม่เลวร้ายไปมากกว่าที่เป็นอยู่ในปัจจุบัน

ขณะที่สหรัฐฯ แม้เศรษฐกิจจะชะงักด้วยตัวเลขการว่างงานที่ยังไม่กระเตื้อง
แต่ความเชื่อถือในค่าเงินเหรียญสหรัฐยังคงมีอยู่ไม่เสื่อมคลาย
พันธบัตรสหรัฐฯ จึงได้รับการยอมรับในฐานะแหล่งพักเงินปลอดภัยอันดับ 1 ไม่เปลี่ยนแปลง
หลักฐานยืนยันก็คือ อัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลสหรัฐอายุ 10 ปี
ในขณะนี้อยู่ที่ 1.5% เท่านั้น
สะท้อนให้เห็นว่าเศรษฐกิจที่ไม่ค่อยแข็งแรงสักเท่าไรนักของสหรัฐน ในขณะนี้
ไม่ได้กระทบต่อการระดมทุนด้วยการขายพันธบัตรของรัฐบาลสหรัฐฯ เลยแม้แต่น้อย

ทั้งนี้ ต้องยอมรับว่าความกลัวต่อสถานการณ์ภาวะเศรษฐกิจอ่อนแอดังกล่าว
ทำให้เยอรมนีมีหนทางประหยัดเงินงบประมาณของประเทศได้ถึงหมื่นล้านยูโร (ราว 4 แสนล้านบาท)  โดยในการขายพันธบัตรรัฐบาลอายุ 2 ปี เมื่อวันที่ 18 ก.ค.
เยอรมนีสามารถระดมเงินได้สูงถึง 5,000 ล้านยูโร (ราว 2 แสนล้านบาท)
ด้วยอัตราผลตอบแทนที่ต่ำกว่า 25 สตางค์
ขณะที่การขายพันธบัตรรัฐบาลอายุ 10 ปีก่อนหน้านี้
สามารถระดมเงินโดยให้อัตราผลตอบแทนพันธบัตรเพียงแค่ 1.5%

นับเป็นอัตราที่ วูล์ฟกัง ชูเอเบิล รัฐมนตรีคลังเยอรมนี ยังยอมรับว่าต่ำผิดปกติ
ทั้งๆ ที่ประเทศเพื่อนบ้านชาติสมาชิกยูโรโซนของเยอรมนี เช่น สเปน กรีซ อิตาลี หรือกระทั่งฝรั่งเศส
กำลังเจ็บปวดกับการต้องแบกรับต้นทุนภาระหนี้ที่สูงขึ้นเกินระดับอันตรายที่ 7% ด้วยกันทั้งสิ้น

ประโยชน์ที่เยอรมนีได้ไปเต็มๆ จากการที่อัตราผลตอบแทนพันธบัตรต่ำในครั้งนี้ก็คือ 
รัฐบาลสามารถลดการขาดดุลงบประมาณโดยไม่ต้องหาทางตัดลดค่าใช้จ่าย
หรือบังคับใช้นโยบายรัดเข็มขัดตามที่ตนเองแนะนำให้กับชาติสมาชิกสหภาพยุโรป

ที่กำลังเผชิญหน้ากับวิกฤตหนี้สาธารณะอยู่ในขณะนี้

เรียกได้ว่าเยอรมนีสามารถลดต้นทุนภาระหนี้ของตนเองโดยไม่ต้องออกแรง
โดยจากเดิมที่มีการคาดการณ์กันไว้ในปี 2552 ว่า
รัฐบาลเยอรมนีอาจต้องใช้ต้นทุนที่สูงถึง 5.2 หมื่นล้านยูโร (ราว 2.08 ล้านล้านบาท)
สำหรับการระดมทุนในปี 2556
แต่ด้วยวิกฤตยูโรโซนที่ทำให้พันธบัตรรัฐบาลเยอรมนีได้รับความนิยม
ทำให้ตัวเลขดังกล่าวในขณะนี้เหลือเพียง 2 หมื่นล้านยูโร (ราว 8 แสนล้านบาท)

เจนส์ บอยเซนโฮเกรฟ นักวิเคราะห์จากสถาบันคีล เพื่อเศรษฐกิจโลกแห่งเยอรมนี ระบุว่า
หากสถานการณ์ของยูโรโซนยังคงเลวร้ายอย่างเสมอต้นเสมอปลายเช่นนี้
รัฐบาลเยอรมนีอาจจะเก็บเกี่ยวงบประมาณด้วยการประหยัดเข้าประเทศได้มากถึง 1 แสนล้านยูโร
(ราว 4 ล้านล้านบาท) ภายในปี 2563
ขณะเดียวกันก็ยังมีเงินเพียงพอที่จะใช้กระตุ้นเศรษฐกิจให้เติบโตได้

นอกจากนี้ นักวิเคราะห์อีกส่วนหนึ่งถึงกับประเมินว่า
ภายในปี 2559 ดุลงบประมาณของเยอรมนีอาจจะกลับมาสมดุลอีกครั้ง
ก่อนที่ปริมาณหนี้ของประเทศจำนวนกว่า 2 ล้านล้านยูโร (ราว 80 ล้านล้านบาท)
หรือคิดเป็น 80% ของผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศ (จีดีพี) จะเริ่มลดลงอีกด้วย

อย่างไรก็ตาม ผู้เชี่ยวชาญด้านเศรษฐศาสตร์ก็ไม่วายออกมาเตือนว่า
แม้เยอรมนี หรือสหรัฯ หรือประเทศใด ก็ตาม
จะสามารถตักตวงประโยชน์จากวิก
ตหนี้สาธารณะในกลุ่ยูโรโซนได้ 
แต่ก็ต้องไม่ลืมว่าประโยชน์ที่หยิบฉวยได้ในขณะนี้เป็นเพียงผลชั่วคราว ไม่ได้ยั่งยืนถาวรแม้แต่น้อย

เพราะต้องไม่ลืมว่า ตราบใดที่วิกฤตในภูมิภาคยุโรป 
ซึ่งถือเป็นตลาดนำเข้าส่งออกสินค้าที่สำคัญอีกแห่งหนึ่งของโลกยังไม่ได้รับการแก้ไข 
ภาคเศรษฐกิจจริงก็จะยังคงอ่อนแออยู่ต่อไป ไม่มีการซื้อขายอย่างที่ควรจะเป็น ขาดการลงทุน 
สุดท้ายผลประโยชน์ที่รัฐบาลเยอรมนีหรือสหรัฐฯ เก็บเกี่ยวมาได้ก็ต้องเหือดหายไปอยู่ดี 
และเผลอๆ อาจจะต้องแบกรับภาระหนี้เพิ่มมากขึ้น

เนื่องจากเมื่อเศรษฐกิจไม่สามารถขับเคลื่อนไปได้
ท้ายที่สุดรัฐบาลย่อมจำเป็นต้องควักเงินออกมาใช้เพื่อช่วยพยุงสถานะของบริษัทต่างๆ
โดยเฉพาะบรรดาสถาบันการเงินและธนาคารของประเทศ
ซึ่งเป็นแหล่งเงินทุนสำคัญของธุรกิจองค์กร พร้อมๆ กับหาทางกระตุ้นเศรษฐกิจอื่นๆ เพิ่มเติม

ทั้งนี้ทั้งนั้น แม้วลีที่ว่า “ในวิกฤตย่อมมีโอกาส” จะยังคงใช้ได้อยู่เสมอในทุกสถานการณ์

แต่สำหรับสถานการณ์ของวิกฤตยูโรโซนแล้ว
โรแลนด์ โดเอิห์รน หัวหน้าผู้เชี่ยวชาญด้านวงจรเศรษฐกิจและการเติบโตของสถาบันเศรษฐกิจอาร์ดับเบิลยูไอ
แสดงความเห็นว่า โอกาสที่หาได้ย่อมไม่ใช่ทางรอดสำหรับประเทศใดประเทศหนึ่งแต่เพียงอย่างเดียวแน่นอน

เพราะ “ไม่มีใครอยู่รอดได้โดยลำพัง” ก็ยังคงเป็นวลีที่ไม่มีวันล้าสมัยเช่นกัน

.

ข่าวฟอเร็กซ์ 24 ก.ค.

หลังจากมีข่าวว่าสเปนเริ่มมีแนวโน้มที่จะต้องขอความช่วยเหลือทางการเงินในระดับประเทศ
และอัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลอายุ 10 ปีที่พุ่งสู่ระดับ 7.596%
ในขณะที่มูดี้ส์ได้ปรับเปลี่ยนแนวโน้มอันดับความน่าเชื่อถือของเยอรมนี, เนเธอร์แลนด์ และลักเซมเบิร์ก
เป็นเชิงลบจากความไม่แน่นอนเกี่ยวกับวิกฤติหนี้ที่ยืดเยื้อของยูโรโซน
รวมทั้งแนวโน้มที่กรีซอาจจะไม่สามารถปฏิบัติตามเงื่อนไขในการรับเงินช่วยเหลือได้ทันกำหนด
และอาจจะต้องออกจากยูโรโซนในที่สุด
ได้ส่งผลให้ตลาดหุ้นทั่วโลกปรับตัวลงจากความวิตกต่อวิกฤติหนี้ในยูโรโซนอีกครั้ง
ส่วนในสัปดาห์นี้จะมีประกาศตัวเลข PMI ของหลายประเทศซึ่งคาดว่าจะออกมาไม่ดีนัก
และย่อมส่งผลกดดันต่อตลาดเงินและสินทรัพย์เสี่ยงต่างๆ ต่อได้

ภาพหนี้สินในยุโรปดูมีทางออกที่ดีแต่ยังคงยืดเยื้อ 
นักลงทุนจึงจำเป็นต้องจับตาผลสรุปเกี่ยวกับท่าทีของเยอรมนี
ขณะที่นโยบายการเงินสหรัฐฯ ในปัจจุบันยังผ่อนคลายเอื้อต่อการเก็งกำไร 
โดยเฉพาะหากมีมาตรการอัดฉีดเพิ่มเติม

สำนักงานสถิติ​แห่งสหภาพยุ​โรป ​หรือยู​โรส​แตท ​เปิด​เผยว่า
ยอดหนี้สาธารณะของรัฐบาลกลุ่มประ​เทศยู​โร​โซน​เพิ่มขึ้น​แตะระดับ 88.2%
ของผลิตภัณฑ์มวลรวมภาย​ในประ​เทศ (จีดีพี)
ณ สิ้นสุด​ไตรมาส​แรกปีนี้ จากระดับ 87.3% ณ สิ้นสุด​ไตรมาสสุดท้ายปีที่ผ่านมา
ทั้งนี้ ประ​เทศที่มีอัตราส่วนหนี้สินต่อจีดีพีสูงสุด ณ สิ้นสุด​ไตรมาส​แรก ​ได้​แก่ กรีซ 132.4%
ตามมาด้วยอิตาลี 123.3% ​โปรตุ​เกส 111.7% ​และ ​ไอร์​แลนด์ 108.5%
​ในขณะที่​เอส​โท​เนีย บัล​แก​เรีย ​และลัก​เซม​เบิร์ก มีอัตราส่วนต่ำที่สุดที่ 6.6%, 16.7% ​และ 20.9% ตามลำดับ

ติดตามดูตัวเลขเศรษฐกิจที่สำคัญ Euro-zone PMI ในช่วงบ่ายวันนี้
ได้แก่ ตัวเลขดัชนีการจัดการจัดซื้อภาคการผลิตและบริการในฝรั่งเศส เยอรมัน และยุโรปโดยรวม
ที่จะประกาศประมาณ 14.00 – 15.00 น. 
โดยเฉพาะบรรยากาศการลงทุนในยุโรปที่ดูย่ำแย่
อาจมองว่าตัวเลข PMI ที่มีการคาดกันว่าจะออกมาโตเล็กน้อยจากเดือนก่อน 
ส่วนตัวเลขการผลิตในสหรัฐฯ ที่สำคัญ คือ Flash Manufacturing PMI
ตัวเลขดัชนีการจัดการจัดซื้อภาคการผลิตในสหรัฐฯ ที่จะประกาศประมาณ 20.00 น.

วันนี้ ทางกลุ่มทรอยก้า ซึ่งประกอบด้วยคณะกรรมาธิการยุโรป อีซีบี และไอเอ็มเอฟจะเข้าเยือนกรีซ
ซึ่งประเด็นดังกล่าวก็สร้างความกังวลให้กับตลาดไม่แพ้เรื่องสเปนเช่นกัน
โดยที่ก่อนหน้านี้สกุลเงินยูโรมีการรีบาวน์ขึ้นมาหลังจากไอเอ็มเอฟได้ประกาศว่า
จะเริ่มเข้าหารือเจรจากับผู้มีอำนาจของกรีซในเรื่องที่ว่า
ควรทำอย่างไรเพื่อดึงเศรษฐกิจของกรีซกลับเข้าสู่ภาวะปกติ
จึงทำให้กรีซกลับมาเป็นประเด็นที่หลายฝ่ายจับตาขณะวิกฤตหนี้ยุโรปยังไม่สิ้นสุดลงอีกครั้งในสัปดาห์นี้
พร้อมกันนั้น องค์กรเจ้าหนี้ของกรีซต้องประเมินการดำเนินการของกรีซว่า
เป็นไปตามเป้าหมายในการขอรับเงินช่วยเหลือหรือไม่ ส่งผลให้เกิดความกังวลอีกระลอกว่า
กรีซอาจจะต้องออกจากยูโรโซนหรือไม่

ภาพจาก หนังสือพิมพ์เดลินิวส์

มูดี้ส์ อินเวสเตอร์ส เซอร์วิส หนึ่งในสถาบันจัดอันดับความน่าเชื่อถือชั้นนำของโลก
ได้ประกาศลดแนวโน้มความน่าเชื่อถือของเยอรมนี, เนเธอร์แลนด์ และลักเซมเบิร์ก
ลงสู่ "เชิงลบ" จากเดิมมีเสถียรภาพ
โดยระบุถึงความไม่แน่นอนที่เพิ่มขึ้นเกี่ยวกับวิกฤตหนี้สาธารณะในยูโรโซน
ซึ่งการตัดสินใจปรับลดแนวโน้มความน่าเชื่อถือของทั้ง 3 ประเทศในครั้งนี้
มูดี้ส์พิจารณาจากความเสี่ยงที่เพิ่มขึ้นว่า กรีซอาจจะต้องออกจากกลุ่มยูโรโซน
ซึ่งจะก่อให้เกิดภาวะ 'วิกฤตการณ์ภาคการเงินแบบลูกโซ่'
และจะทำให้เยอรมนี, เนเธอร์แลนด์ ลักเซมเบิร์ก
รวมถึงประเทศอื่นๆ ที่มีอันดับความน่าเชื่อถือสูงสุดนั้น ต้องแบกรับภาระในการให้ความช่วยเหลือ

นายมาซาอากิ ชิราคาวะ ​ผู้ว่า​การธนาคารกลางญี่ปุ่น (บี​โอ​เจ) กล่าว​เตือน​ในวันนี้ว่า
วิกฤตหนี้ยุ​โรป​และ​เศรษฐกิจของสหรัฐที่​เปราะบาง​เป็นปัจจัย​เสี่ยงที่จะถ่วง​การฟื้นตัวทาง​เศรษฐกิจของญี่ปุ่น
ผู้ว่า​การบี​โอ​เจกล่าวว่าหากปัญหาหนี้ของยุ​โรป​เลวร้ายลง ​ก็จะส่งผลกระทบต่อ​การค้า ​
ความ​เชื่อมั่นทางธุรกิจ ระบบ​การ​เงิน​และอัตรา​แลก​เปลี่ยน
ดังนั้น ​จึงจำ​เป็นต้อง​ให้​ความสน​ใจอย่างจริงจังกับปัจจัย​เสี่ยงดังกล่าว...

ทั้งนี้ บรรดานักวิเคราะห์มองว่า สกุลเงินเยน
ซึ่งเคยสร้างสถิติแข็งค่าเทียบสุดเมื่อเทียบกับค่าเงินดอลลาร์สหรัฐเมื่อปีที่แล้ว
กำลังกลายเป็นทางเลือกที่ปลอดภัยที่สุดในเวลานี้ สำหรับนักลงทุนที่ต้องการหนีความเสี่ยง
ท่ามกลางกระแสความวิตกเกี่ยวกับวิกฤตเศรษฐกิจยุโรป และภาวะเศรษฐกิจชะลอตัวของสหรัฐฯ
โดยก่อนหน้านี้ รัฐบาลญี่ปุ่นเคยออกโรงเตือนหลายครั้งว่า
สกุลเงินเยนกำลังได้รับการตีค่าสูงเกินเหตุ ส่งผลให้รัฐบาลต้องเข้าแทรกแซง
เพื่อควบคุมค่าเงินเยนให้อยู่ในระดับที่เหมาะสม

.

23 กรกฎาคม 2555

แง่คิดเสี่ยยักษ์

ช่วงนี้ ชีวิตค่อนข้างวุ่นๆ และมีหลายอย่างที่ต้องทำ
ขณะที่เรื่องเทรด Forex ก็ปล่อยวางและถอยห่างจากตลาดบ้าง
คือ ถ้าเทรดเงินจริงก็ไม่น่าเล่นเท่าไหร่ ความผันผวนมีสูงและเกิดได้โดยไม่คาดคิดเสมอ
ทว่าผมก็เปิดบัญชีเดโมไปเมื่อเช้าละ ประเดิมสัก 10,000$ เลย กะเทรดแบบไม่ต้องคิดมาก
เทรดเพื่อวางราคาไว้ดูตลาดเงินว่าจะเป็นเช่นไร
ดูกราฟสัปดาห์ แล้วจับตาดูว่า EU จะทำโลว์ใหม่เมื่อวันที่ 6 เดือน 6 ปี 2010 ที่ราคา 1.1874 ได้หรือไม่!!
ส่วน EJ ไม่ต้องกล่าวถึง เปิดกราฟเดือนดูแล้ว โอ้!!! ร้อนแรงจริง

ส่วนประเด็นข่าวก็ยังไม่คอยมีอะไรนัก
จากเว็บ forexfactory ช่วง 3 ทุ่ม มีข่าว Consumer Confidence (ข่าวเหลือง)
Consumer Confidence จะออกทุกวันอังคารสุดท้ายของเดือน เป็นข้อมูลเดือนปัจจุบัน
เป็นการสำรวจในแต่ละครัวเรือน โดยตัวเลขตัวนี้จะมีความสัมพันธ์กับเรื่องของ การว่างงาน
อัตราเงินเฟ้อ และรายได้ที่แท้จริง
การที่ตัวเลขมีค่าที่เพิ่มมากขึ้นหมายถึงเศรษฐกิจที่ดีขึ้น ทำให้ค่าเงินแข็งค่า 

** รอยเตอร์รายงาน ธนาคารกลางสเปนเปิดเผยว่าเศรษฐกิจสเปนหดตัวลง 0.4%
ในไตรมาสเดือนเม.ย.-มิ.ย. หลังหดตัวลง 0.3% ในไตรมาสแรกปีนี้
ขณะที่ธนาคารกลางยังคาดการณ์ว่า เศรษฐกิจจะหดตัวลง 1.0% ในปีนี้
เทียบกับที่คาดว่าจะหดตัวลง 0.4% ในไตรมาสก่อน ทั้งนี้สเปนจะเปิดเผย
ข้อมูลผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศ (GDP) เบื้องต้นอย่างเป็นทางการในวันที่ 30 ก.ค.นี้

** รอยเตอร์รายงานว่า นายอเล็กซานเดอร์ โดบรินท์ เลขาธิการพรรคคริสเตียน โซเชียล ยูเนียน (CSU)
ซึ่งเป็นพรรคร่วมรัฐบาลของเยอรมนี เปิดเผยว่า
กรีซควรจะเริ่มจ่ายเงินบำนาญและเงินเดือนข้าราชการเป็นสกุลเงินดราคมาครึ่งหนึ่ง
เพื่อเป็นการเริ่มกระบวนการออกจากยูโรโซนอย่างค่อยเป็นค่อยไป
ซึ่งเป็นวิธีที่ดีสำหรับกรีซมากกว่าการเปลี่ยนแปลงแบบกะทันหัน
และการใช้เงินดราคมาเป็นสกุลเงินคู่ขนานไปด้วยจะทำให้เศรษฐกิจมีโอกาสที่จะขยายตัวขณะที่เจ้าหน้าที่ตรวจสอบจาก "ทรอยกา" ซึ่งประกอบด้วยคณะกรรมาธิการยุโรป, ธนาคารกลางยุโรป (อีซีบี)
และกองทุนการเงินระหว่างประเทศ (ไอเอ็มเอฟ) จะเดินทางถึงกรุงเอเธนส์ในวันพรุ่งนี้
เพื่อตรวจสอบการปรับลดงบรายจ่ายประมาณ 1.17 หมื่นล้านยูโร
ที่กรีซต้องดำเนินการในปี 2013 และ 2014

...........

ช่วงนี้ ไม่น่าเทรดฟอเร็กซ์จริงๆ
หากคิดจะซื้อสกุลเงินยูโรถือไว้ก็ยากจะเก็งกำไรระยะยาว
หรือไม่ถ้า buy ไว้แล้วมีกำไรก็ต้องรีบปิดออเดอร์ เดี๋ยวเกิดร่วงอีกจะโดนลากติดลบเอา
ทั้ง EU ไหนๆ ก็ร่วงผ่าน 1.2000 ได้แล้ว ก็ไม่รู้มันจะพิศวาสอยากไปทำนิวโลว์ของปี 2010 หรือเปล่า
ครั้นจะเล่น sell ก็แหม...เกิดปุบปับมีปัจจัยข่าวด้านบวกมา แล้วมันดีดขึ้น จะกลายเป็นขายก้นเหวอีก
เดี๋ยวนี้ อินดี้ชักเอาไม่อยู่ ไม่ชัวร์ ยิ่งไทม์เฟรมสั้นก็สัญญาณหลอกง่าย
พอเห็นสัญญาณขึ้นกลับกลายเป็นแค่พักหรือปรับฐานแล้วก็ร่วงต่ออย่างกับทรายดูด

 เสี่ยยักษ์ วิชัย วชิรพงศ์

มาอ่านแง่คิดของ "กูรูพันล้าน" เสี่ยยักษ์ วิชัย วชิรพงศ์ กันต่อ

#  ถ้าเราอ่านว่าหุ้นตัวนี้กำลังเป็น "ขาขึ้น" แต่วอลุ่มมัน "หาย" (วอลุ่มเทรดลดลง)
หมายความว่ารายใหญ่กำลัง "เก็บของ" ไม่ปล่อยหุ้นออกมาหมุนเวียนในตลาด
สภาพคล่องของหุ้นตัวนั้นจะค่อยๆ ลดลง..เพราะฉะนั้น ถ้าเราไปเจอ "หุ้นขึ้น วอลุ่มหาย"
นี่คือสุดยอดหุ้น ใครหาพบคนนั้นรวย
พูดภาษาชาวบ้านให้เข้าใจง่ายๆ คำว่า "วอลุ่มหาย" หมายความว่า
รายใหญ่อยู่ในช่วงสะสมหุ้น เก็บหุ้น "ใส่ปี๊บ" ไม่เอาหุ้นมาหมุนในตลาด
แต่ถ้าเป็นกรณี "ตรงกันข้าม" สมมติว่า "หุ้นขึ้น" อยู่ดีๆ แล้วมีแรงขาย "ทุบฮวบ"
กดให้ราคาหุ้น "หล่น" ลงมาพร้อม "วอลุ่ม" ที่หนาแน่น
เป็นการยืนยันว่าหุ้นตัวนั้น "หมดรอบ" แล้ว คุณต้องขายทิ้ง
ให้ตั้งข้อสังเกตไว้ก่อนว่าหุ้นตัวนั้นกำลังจะเปลี่ยนแนวโน้มเป็น "ขาลง"

#  ส่วนตัวชอบใช้กราฟ MACD ระยะเดือน (Month)
เป็นดัชนีชี้นำหลักสำหรับการลงทุน "รอบใหญ่ๆ" ที่ผ่านมาก็ใช้ได้ผลดีมาตลอด
แต่ถ้ามาถามรายละเอียดเกี่ยวกับทฤษฎี "ผมไม่รู้" แต่รู้ว่าถ้า MACD ทะลุ "ศูนย์" ลงไปเลย "ไม่ดี"
แต่ถ้า MACD อยู่ต่ำกว่าศูนย์ มันจะขึ้นมาที่ศูนย์ก่อน
จากนั้นหุ้นจะปรับตัวลงอีกรอบ คือมีการพักตัวรอบใหญ่ แล้วถ้ามันกลับมาที่ "ศูนย์" อีกที บีบตัวแล้ว "ตัดขึ้น"
คราวนี้หุ้นจะเป็นขาขึ้น "รอบใหญ่"
มันเป็นสูตรวิธีคิดว่า การที่ MACD มันบีบแล้ว "รอ" ตัดขึ้นเหนือ "ศูนย์" ราคาหุ้นอยู่ในเขต "Oversold"
คือ อยู่ในเขตขายมากเกินไป จนข่าวร้ายไม่มีผลต่อราคา ไม่มีทางร้ายไปกว่านี้แล้ว
คนที่ติดหุ้นอยู่จะให้ขายก็ไม่อยากขายขาดทุนมาก จะให้บุ่มบ่ามรีบซื้อก็ยังไม่กล้าซื้อ นิ่งๆ เฉื่อยๆ ชาๆ
"จุดนั้นคือจุดที่อันตรายที่สุด แต่เป็น...จุดที่ปลอดภัยที่สุด คือประมาณ ตี 5 ถึง ตี 5 ครึ่ง
จ่ายกับข้าวสบายๆ ไม่ต้องแย่งกับใคร ถ้าอยากจะรวย คุณต้องรอจังหวะนี้ให้ได้"

# นิสัยผมถ้าอะไรที่ไม่แน่ใจเต็มร้อย ผมจะระมัดระวังตัว จะเข้าไปลงทุนด้วยเงินก้อนน้อยๆ ก่อน
ยิ่งถ้าเป็นหุ้นเก็งกำไร จะเล่นเป็นรอบ จะไม่ทุ่มและจะไม่ถือยาว
ถ้ามั่นใจหุ้นตัวไหนมากๆ ก็ซื้อหุ้นตัวนั้นเก็บเอาไว้ครึ่งหนึ่งก่อน
และเมื่อไรที่เห็นปริมาณการซื้อขายเข้ามามากๆ ก็จะรีบซื้อหุ้นอีกครึ่งหนึ่งทันที
กลยุทธ์นี้ หมายถึงการ "หยั่งกำลังหุ้น" หรือการ "โยนหินถามทาง"
การลงทุนครั้งแรก เราต้องเริ่มจากเงินก้อนเล็กก่อน ถ้าชนะค่อยสู้ต่อ ถ้าแพ้ก็ "เลิก"
ถ้าเข้าไปแล้วมีกำไรส่วนหนึ่ง ก็จะเอากองหลังมาสู้เพิ่ม ถ้าพลาดท่าก็จะ Cut Loss ทิ้ง ยังเหลือกองหลังไว้พยุงตัว
"วิธีการซื้อหุ้นที่ดี เราอย่าเพิ่งทุ่มก้อนใหญ่ ค่อยๆ หย่อนลงไป ลงแล้วชนะ (ทัพหลวง) ค่อยตามลงไป"

.

ข่าวฟอเร็กซ์ 23 ก.ค.

สกุล​เงินยู​โร​ได้รับผลกระทบอย่างหนักจากปัญหาด้าน​การคลัง​และภาคธนาคารของประ​เทศกลุ่มยู​โร​โซน
โดยยู​โรร่วงสู่ระดับต่ำสุดนับตั้ง​แต่​เดือน พ.ย. 2543 ​ในกรอบบนของ 94 ​เยน ​
ใน​การซื้อขาย​เช้านี้ที่ตลาดปริวรรติ​เงินตรา​โต​เกียว จาก​ความวิตกกังวลครั้ง​ใหม่​เกี่ยวกับวิกฤติหนี้ยู​โร​โซน
Spain

ขณะที่ความวิตกเกี่ยวกับภาวะเศรษฐกิจโลกและวิกฤติหนี้ยูโรโซนยังมีอยู่ต่อเนื่อง
หลังมีข่าวว่าเมืองวาเลนเซียได้ขอความช่วยเหลือทางการเงินจากรัฐบาลสเปน
ทำให้สเปนอาจต้องขอรับความช่วยเหลือจากต่างประเทศเพิ่มเติม
ซึ่งปัญหาในสเปนก่อให้เกิดความไม่แน่นอนรอบใหม่ให้กับตลาดเงินตลาดทุนโลก
โดยอีแกน โจนส์ ปรับลดอันดับเครดิตสเปนลงเหลือ CC+
นอกจากนี้ธนาคารกลางยุโรป (ECB) ประกาศไม่ยอมรับพันธบัตรรับาลของกรีซเป็นหลักประกัน

สัปดาห์นี้ จะมีการประกาศตัวเลข PMI ของหลายประเทศซึ่งจะเป็นปัจจัยที่กดดันตลาดด้วย
อย่างไรก็ตาม ภาวะเศรษฐกิจโลกที่อ่อนแอก็มีสิทธิที่จะหนุนแรงซื้อเก็งกำไรจากการคาดหวัง
เกี่ยวกับมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจใหม่ที่จะมีออกมา
โดยเฉพาะสัปดาห์หน้า (31 ก.ค.-1 ส.ค.) จะมีการประชุมเฟด
ซึ่งตลาดคาดหวังเกี่ยวกับมาตรการ QE3 ยังมีอยู่
กระนั้น ก็มีมุมมองว่าสหรัฐฯ ยังน่าจะอยากเก็บกระสุนนัดสำคัญนี้ไว้
เพื่อรับมือกับความผันผวนในตลาดเงินที่อาจเกิดขึ้นในช่วง ส.ค.-ก.ย.
และจังหวะเวลาที่เหมาะสมในการออกมาตรการดังกล่าวอาจอยู่ในช่วง ก.ย.-ต.ค.
ซึ่งจะเป็นช่วงก่อนเลือกตั้งประธานาธิบดีในเดือน พ.ย.


***


นายวูล์ฟกัง ชอยเบิล รมว.คลังเยอรมนี กล่าวกับหนังสือพิมพ์เยอรมนีฉบับหนึ่งว่า
เขาเชื่อมั่นว่าเศรษฐกิจของสเปนจะมีการฟื้นตัวขึ้นหลังจากการดำเนินการปฏิรูป
โดยระบุว่าเศรษฐกิจของสเปนมีศักยภาพและมีโครงสร้างที่แตกต่างจากเศรษฐกิจของกรีซ
นายชอยเบิลระบุว่า ตลาดอสังหาริมทรัพย์เป็นต้นตอของปัญหาการเงินของสเปน
เช่นเดียวกันสหรัฐฯ และมีความแตกต่างจากปัญหาในกรีซ

นาย​โยชิฮิ​โกะ ​โนดะ นายกรัฐมนตรีญี่ปุ่น
และ นายมาซาอากิ ชิรากาวา ​ผู้ว่า​การธนาคารกลางญี่ปุ่น (บี​โอ​เจ)
ได้ประชุมร่วมกัน​ในช่วง​เช้าวันนี้ ​
เพื่อหารือกัน​เกี่ยวกับน​โยบาย​การ​เงิน​และ​แนวทาง​การกระตุ้น​การขยายตัวทาง​เศรษฐกิจ ​
โดยมี​เป้าหมายที่จะช่วย​ให้ญี่ปุ่นสามารถรับมือกับภาวะ​เงินฝืดภาย​ในประ​เทศได้

ขณะที่ นายจุน อาซูมิ รมว.คลังญี่ปุ่น ​เปิด​เผย​ในวันนี้ว่า
รัฐบาลญี่ปุ่นกำลังจับตาดู​ความ​เคลื่อน​ไหว​ในตลาดปริวรรต​เงินตราอย่าง​ใกล้ชิด
​โดยย้ำว่าญี่ปุ่นจะ​ใช้ "มาตร​การขั้น​เด็ดขาด" ​ใน​การสกัด​การ​แข็งค่าของ​เงิน​เยน ​
ในขณะที่​เงิน​เยน​แข็งค่าขึ้นอย่างมาก​เมื่อ​เทียบกับสกุล​เงินยู​โร
"​การตอบสนองของผมที่มีต่อตลาดปริวรรต​เงินตรานั้น ​ไม่​เคย​เปลี่ยน​แปลง 
ผมมักจะพูด​เสมอว่า เราจะ​ใช้มาตร​การขั้น​เด็ดขาด​ใน​การต่อต้าน​การ​เ​ก็งกำ​ไรทุกรูป​แบบ ​
และป้องกัน​ไม่​ให้สกุล​เงิน​เยนผันผวนมากจน​เกิน​ไป"

***

มาตามเรื่อง "สเปน" กันแบบลึกๆ กัน โดยข้อมูลจากหนังสือพิมพ์ฐานเศรษฐกิจ
 
สเปนส่อเค้าเงินไม่พอใช้จ่าย

ผลการประมูลพันธบัตรรัฐบาลสเปนรอบล่าสุดที่น่าผิดหวัง ก่อให้เกิดข้อกังขาว่า
สเปนอาจจะไม่สามารถหาเงินทุนจากตลาดมาใช้จ่ายและใช้หนี้สำหรับปีนี้ได้เพียงพอ
จนต้องนำไปสู่การรับเงินช่วยเหลือจากยูโรโซนเพิ่มเติม

สำนักข่าวต่างประเทศรายงานว่า
สเปนเปิดการประมูลพันธบัตรรัฐบาลรอบล่าสุดเมื่อวันพฤหัสบดีที่ผ่านมา (19 ก.ค.)
โดยสามารถระดมเงินได้เกือบ 3 พันล้านยูโร
อย่างไรก็ตาม ผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลสเปนที่ประมูลออกไป
ทั้งพันธบัตรอายุ 2 ปี 5 ปี และ 10 ปี อยู่ในระดับที่เพิ่มสูงขึ้นจากการประมูลเมื่อเดือนก่อนอย่างถ้วนหน้า

เจมี เซียร์ลี นักยุทธศาสตร์จากซิตี้ กล่าวว่า
การประมูลพันธบัตรดังกล่าวไม่ใช่การประมูลที่ดีสำหรับสเปน
"เรามีข่าวด้านบวกในเรื่องของเงินช่วยเหลือภาคการธนาคาร และการที่รัฐบาล
ประกาศมาตรการรัดเข็มขัดเพิ่มเติม แต่ปัจจัยเหล่านี้ไม่ได้ช่วยเรียกความมั่นใจกลับคืนมา"

ซิตี้ประเมินว่าสเปนจะต้องออกพันธบัตรอีกครั้งละประมาณ 2,900 ล้านยูโรในการประมูลครั้งต่อๆ ไปเพื่อระดมเงินให้ได้ตามเป้าหมายตลอดทั้งปี
แต่เซียร์ลีแสดงความกังวลใจว่าสเปนอาจจะไม่สามารถทำเช่นนั้นได้ในการประมูทุกครั้ง 
พร้อมกับกล่าวว่าถ้าธนาคารกลางยุโรป (อีซีบี) ไม่ออกมาตรการซื้อพันธบัตร
ซึ่ง
ดูเหมือนมีความเป็นไปได้น้อยในเวลานี้ 
ก็เป็นการยากที่สเปนจะหยุดยั้งผลตอบแทนพันธบัตรไม่ให้พุ่สูงขึ้นไปกว่านี้
   
สเปนขอรับเงินช่วยเหลือด้วยเพดาน 1 แสนล้านยูโรแล้วก็จริง 
แต่เงินก้อนดังกล่าวมีเป้าหมายเพื่อช่วยเหลือธนาคารพาณิชย์ที่ประสบปัญหา
รัฐบาลสเปนยังจำเป็นที่จะต้องระดมเงินจากตลาดการเงินเพื่อนำมาชำระหนี้และใช้จ่ายงบประมาณที่ขาดดุล
ซึ่งกองทุนการเงินระหว่างประเทศ (ไอเอ็มเอฟ) ประเมินว่าเป็นมูลค่า 6.4 หมื่นล้านยูโรสำหรับปี 2555 ตลอดทั้งปี

   
นายคริสโตบาล มอนโตโร รัฐมนตรีงบประมาณของสเปน กล่าวต่อรัฐสภา
ในการลงมติสนับสนุนมาตรการรัดเข็มขัดรอบใหม่ของนายกรัฐมนตรีมาริอาโน ราฮอย
เป็นมูลค่า 6.5 หมื่นล้านยูโร ว่าเวลานี้รับาลไม่มีเงินในคลังสำหรับจ่ายให้กับข้าราชการ 
พร้อมกับกล่าวว่าสมาชิกรัฐสภาของสเปนตระหนักดีว่าถ้าไม่รับรองมาตรการดังกล่าว
ทางเลือกของสเปนคือต้องรับเงินช่วยเหลือเต็มรูปแบบ
ซึ่งจะทำให้สเปนต้องอยู่ภายใต้เงื่อนไขที่เข้มงวด
และสูญเสียความยืดหยุ่นในการลดการขาดดุลให้ได้ตามเป้าหมาย
แม้ว่าจะมีการประท้วงมาตรการดังกล่าวจากสหภาพแรงงานก็ตาม

ผู้นำยูโรโซนแสดงท่าทีในการประชุมเมื่อเดือนก่อนว่า
ยินดีจะให้ความช่วยเหลือสเปนและประเทศที่อ่อนแออื่นๆ
ด้วยการเปิดให้ใช้กองทุนช่วยเหลือเข้าซื้อพันธบัตรรัฐบาลในตลาดรอง (secondary market) ได้
อย่างไรก็ดี เดอะ วอลล์ สตรีต เจอร์นัล ระบุว่า
สเปนจะต้องยื่นคำร้องอย่างเป็นทางการเพื่อขอให้มีการดำเนินการในลักษณะดังกล่าว
ซึ่งจะต้องใช้เวลาอีกหลายเดือน
นอกจากนี้นักเศรษฐศาสตร์ยังมองว่า ด้วยจำนวนเงินที่มีอยู่อย่างจำกัดของกองทุนช่วยเหลือ
คือประมาณ 4 แสนล้านยูโรหลังจากให้เงินช่วยเหลือธนาคารสเปนไปแล้ว
อาจจะทำให้วิธีการดังกล่าวได้ผลเพียงระยะสั้นเท่านั้น
   
นักเศรษฐศาสตร์ให้ความเห็นเพิ่มเติมว่า การเปิดให้กองทุนช่วยเหลือกู้เงินจากอีซีบีได้โดยตรง
อาจจะช่วยผ่อนคลายความกังวลของนักลงทุนถึงความสามารถในการให้เงินกู้แก่รัฐบาลที่มีปัญหา
อย่างไรก็ตาม เจ้าหน้าที่ทางการกล่าวว่าอีซีบียังไม่ยอมให้กองทุนช่วยเหลือทำเช่นนั้นได้
   
ขณะเดียวกัน รัฐสภาเยอรมนีมีมติอนุมัติการให้เงินช่วยเหลือสำหรับธนาคารสเปนเป็นที่เรียบร้อย
โดยเยอรมนีซึ่งเป็นผู้ให้การสนับสนุนทางการเงินแก่กองทุนช่วยเหลือรายใหญ่ที่สุด
จะการันตีเงินกู้มากถึง 2.9 หมื่นล้านยูโรภายใต้งบช่วยเหลือสเปน

ขณะที่จำนวนเงินกู้ที่แน่ชัดของสเปนน่าจะมีการประเมินกันในเดือนกันยายน
หลังจากมีการทดสอบภาวะวิกฤติ (stress test) ของแต่ละธนาคารว่าต้องการเงินทุนมากน้อยเพียงใด
ก่อนที่จะร่างแผนการปรับโครงสร้างในเดือนตุลาคม
ตามกำหนดเวลาที่ระบุไว้ในบันทึกความเข้าใจ (MOU) ว่าด้วยเงื่อนไขการรับเงินช่วยเหลือของสเปน
ซึ่งรัฐมนตรีคลังยูโรโซนมีกำหนดลงนามรับรองเมื่อวันศุกร์ (20 ก.ค.) ที่ผ่านมา

สเปนจะได้รับเงินงวดแรกทันที 3 หมื่นล้านยูโร
สำหรับธนาคารที่รัฐบาลเข้าไปอุ้มและต้องการเงินทุนอย่างเร่งด่วน
โดยเงินช่วยเหลือในช่วงแรกจะมาจากกองทุนช่วยเหลือชั่วคราว (อีเอฟเอสเอฟ)
จนกว่ากองทุนถาวร (อีเอสเอ็ม) จะเริ่มมีผลบังคับใช้ คาดว่าน่าจะเป็นประมาณเดือนกันยายน

.

22 กรกฎาคม 2555

ผ่อนพักสักหน่อย

เทรดฟอเร็กซ์นี่ก็มีเวลาได้ผ่อนคลายหรือมีเวลาได้อยู่กับครอบครัว
เพราะตลาดเงินหยุด 2 วัน ปิดวันเสาร์ - อาทิตย์
หรือนักเทรดท่านใดจะใช้ช่วงวันหยุดวิเคราะห์กราฟ แท่งเทียน อินดี้ ฟิโบ ลากเทรนไลน์
ตลอดจนประเมินปัจจัยด้านข่าวสารไปข้างหน้า เพื่อดูทิศทางและหาราคาเทรดที่เหมาะสม
เหล่านี้ก็นับว่าดี เสมือนเป็นการทำการบ้าน เตรียมตัว พร้อมที่จะลุยต่อ...

ส่วนผม หลังจากที่ "พอร์ตหาย" ก็อาจเทรดเงินเดโมแก้เก้อไปก่อน
กอปรกับผมทำ Blog ไว้สี่บล็อก ทั้งตอนนี้ก็กำลังจะเปิดร้านค้าออนไลน์สักหนึ่งแห่ง
กะจะลองทำธุรกิจ E-commerce แบบพอเพียงและเล็กๆ
โดยเปิดเป็นร้านขายหนังสือสะสมมือสอง
ซึ่งหนังสือนั้น ผมก็หยิบและปัดฝุ่นจากชั้นหนังสือในห้องของตัวเอง
(ร้านเพิ่งตั้งท้องเอง)
นักเทรดท่านใดสนใจเดินผ่านหน้าร้าน ขายหนังสือสะสมมือสอง
ก็ยินดียิ่ง
ร้าน lifebook ผมเพิ่งสร้างเมื่อวันศุกร์ที่ 22 นี้เอง วันเดียวกับที่พอร์ตหาย แหม...กฤษ์ชักยังไงๆ ละ
แถมตอนนี้ยังมะงุมมะงาหรา งกๆ เงิ่นๆ และค่อยๆ คลำๆ ทำร้านไปแบบเรียนรู้ ด้วยไม่เก่งด้านโปรแกรมเมอร์ หรือทำ web แต่อย่างใด
(มือใหม่หัดไปแบบอืดๆ ถึงขั้นตอนไหนที่งง ทำผิด ก็ต้องงมและหาวิธีการแก้ไขให้ได้)

ฉะนั้น บางทีผมอาจมาอัพข้อมูลที่บล็อกนี้ช้าไปบ้าง หรือมาพูดคุยเรื่องฟอเร็กซ์น้อยลงบ้าง
ทว่าก็จะพยายามทำให้เต็มที่ "ล้มเหลวแต่ยังไม่ล้มเลิก" 
คงไม่มีใครมาเทรด Forex แค่สามสี่เดือนแล้วเก่ง รวย ทำกำไรได้สม่ำเสมอ
หรือเทรดเป็นปีแล้วขึ้นชื่อว่าเป็นเทรดเดอร์เต็มตัว ถึงมีก็คงเป็นส่วนที่น้อยมาก และไม่เผยตัวแน่
เท่าๆ ที่อ่านจากบทความต่างๆ มาบ้าง ล้วนต้องใช้เวลาไม่ต่ำกว่า 5 ปีถึงจะอยู่ในตลาดเงินได้
ซึ่งแน่นอนว่า...มีส่วนน้อยหรือน้อยคนที่จะฝ่าไปถึง ส่วนใหญ่จะเสีย ขาดทุน และยอมแพ้
เรียกว่าถอดใจหรือท้อใจแล้วไปทำอย่างอื่นดีกว่า...

เรื่องเทรดเงินจริง ผมคงผ่อนๆ สักพัก ออกมาอยู่นอกตลาดบ้าง
ยังไงๆ ก็ยังมีเวลาชั่วชีวิตที่จะเทรด เล่นเดโมไปพลางๆ เพื่อตามดูตลาดเงินอย่างห่วงๆ
ดูสถานการณ์ทางสหภาพยุโรปแล้วก็น่าห่วงจริงแหละ ถ้ายังที่จะ buy ต่อ
ต้องจับตาดูว่าทางยุโรปจะมีปัจจัยเชิงบวกต่อตลาดเมื่อไหร่ มีมาตรการแก้ไขปัญหาที่แน่ชัดอย่างไร
เพราะทั้งตลาดหุ้นลอนดอน ตลาดหุ้นยุโรป และตลาดหุ้นนิวยอร์ก ต่างปิดร่วงกันถ้วนทั่ว
โดยเฉพาะหุ้นกลุ่ม​การ​เงินร่วงลงหลังจากต้นทุน​การกู้ยืมของส​เปนพุ่งขึ้นสูงสุด​เป็นประวัติ​การณ์
​เมื่อ​เทียบกับอัตราผลตอบ​แทนของ​เยอรนี ​ซึ่งกระตุ้น​ให้นักลงทุน​เกิด​ความวิตกกังวลว่า
วิกฤตหนี้​ในยุ​โรปกำลังย่ำ​แย่ลงและอาจทวีความรุนแรงมากขึ้น

เก็บเงินสดในพอร์ตไว้รอจังหวะขาขึ้นหรือทางยุโรปมีปัจจัยที่ดีกว่านี้
หรือหันไปเล่นคู่สกุลเงินอื่นก็ได้

.

21 กรกฎาคม 2555

ยูโรร่วงหนัก!

ปัญหาของสหภาพยุโรปดูจะยืดเยื้อและอาจลุกลามเรื่อยๆ
พอกรีซเริ่มคลี่คลาย ก็มากังวลเรื่องหนี้สเปน ขณะที่อิตาลีอาจเป็นรายต่อไป


แม้นว่า...เมื่อวานนี้ รัฐมนตรีคลังจาก 17 ประ​เทศที่​ใช้สกุล​เงินยู​โร
​ได้อนุมัติ​เงื่อน​ไขสุดท้ายของข้อตกลงช่วย​เหลือส​เปน​
​เพื่อนำ​เงินไป​เพิ่มทุน​หรือปรับ​โครงสร้างทาง​การ​เงิน​ให้กับธนาคารพาณิชย์​ในประ​เทศ
โดยการอนุมัติข้อตกลง​นั้น ได้แก่การ​เปิดทาง​ให้มี​การ​เบิกจ่าย​เงินก้อน​แรกจำนวน 3 หมื่นล้านยู​โร (3.69 หมื่นล้านดอลลาร์)
จากวง​เงินกู้ 1 ​แสนล้านยู​โร (1.22 ​แสนล้านดอลลาร์)
ที่รมว.คลังยู​โร​โซน​ได้อนุมัติ​ไปก่อนหน้านี้​แล้ว


"​เรา​ได้อนุมัติบันทึกข้อตกลงอย่าง​เป็นทาง​การ ​ซึ่งกำหนด​ถึง​เงื่อน​ไข​ใน​การ​ให้​เงินกู้​แก่ส​เปน
​เพื่อนำ​ไปปรับ​โครงสร้างทาง​การ​เงิน​ให้กับธนาคารของประ​เทศ รัฐมนตรี​ทั้ง 17 คน​ได้​ให้​การอนุมัติ​แล้ว
นั่นหมาย​ความว่า ​โครง​การ​เงินกู้นี้สามารถดำ​เนินต่อ​ไป​ได้ ​แต่จะยัง​ไม่มี​การจ่าย​เงิน​ในทันที
เพราะยังต้องรอผล​การวิ​เคราะห์ของธนาคาร​แต่ละ​แห่ง​ซึ่งยังคงดำ​เนินอยู่​ในขณะนี้" 
ลุค ฟรี​เดน รมว.คลังลัก​เซม​เบิร์ก ​แถลงข่าวภายหลัง​เสร็จสิ้น​การประชุมทาง​โทรศัพท์

ทว่าก็ยัง​ไม่​เป็นที่ทราบ​แน่ชัดว่าจะมี​การ​เบิกจ่าย​เงิน​เมื่อ​ไร 
รวม​ถึงยัง​ไม่ทราบจำนวน​เงิน​ทั้งหมดที่จำ​เป็น​ใน​การพยุงภาคธนาคารของส​เปน
จนกว่าจะ​ถึง​เดือนกันยายน ​ซึ่งจะมี​การประ​เมินธนาคารของส​เปน​เป็นรายๆ​ ไป
ทั้งนี้ ​ความ​ไม่​แน่นอนของข้อตกลงดังกล่าว​ทั้ง​ใน​แง่ของ​เวลา​และวง​เงินนั้น 
ก็​ทำ​ให้นักลงทุนวิตกกังวลว่า วิกฤตหนี้ยุ​โรปอาจลุกลาม​ในวงกว้าง​และ​ไม่สามารถควบคุม​ได้

เมื่อวาน เงินสกุลยู​โรร่วงลงสู่ระดับ​เกือบต่ำสุด​ (ร่วงมาที่ 1.2143) ในรอบ 2 ปี​เมื่อ​เทียบกับดอลลาร์
​เนื่องจาก​ความวิตกกังวลที่ว่า วิกฤติ​การ​เงิน​ในยู​โร​โซนจะยังคง​ไม่คลี่คลาย​ใน​เร็วๆ นี้
​ในขณะ​เดียวกัน ค่า​เงินยู​โรก็อ่อน​แรงลงต่ำสุด​ (ร่วงมาที่ 0.770) ในรอบมากกว่า 3 ปี ​เมื่อ​เทียบกับ​เงินปอนด์

ปัจจัยหนึ่งที่ทำให้สกุล​เงินยู​โรอ่อน​แรงลงนั้น เพราะมีรายงานว่า
​เมืองวา​เลน​เซียจะขอ​ความช่วย​เหลือทาง​การ​เงินจากรัฐบาลส​เปน ​ซึ่งข่าวดังกล่าว
​ทำ​เกิด​ความวิตกกังวลว่าส​เปน​ซึ่ง​เป็นประ​เทศที่มี​เศรษฐกิจ​ใหญ่ที่สุด​เป็นอันดับ 4 ของยู​โร​โซน
อาจจะต้องขอ​ความช่วย​เหลือจากต่างประ​เทศ ​โดยรายงานระบุว่า
​เมืองวา​เลน​เซียยังคงต้อง​การ​เงินอีก 2.85 พันล้านยู​โรภาย​ในสิ้นปีนี้
ดังนั้นข่าว​การขอ​ความช่วย​เหลือของ​เมืองวา​เลน​เซียส่งผล​ให้ต้นทุน​การกู้ยืมของรัฐบาลส​เปนพุ่งขึ้น​เหนือระดับ 7%
นอกจากนี้ อีกปัจจัยที่ทำให้​เงินยู​โรยังร่วงลงหลังจากรัฐบาลส​เปนปรับลดคาด​การณ์​เศรษฐกิจ​ในปีนี้​และปีหน้า

สมาพันธ์ผู้ค้าปลีกแห่งอิตาลี เปิดเผยว่า แรงกดดันทางการคลังในอิตาลีเพิ่มขึ้นแตะระดับสูงสุดในโลก
โดยภาระทางการคลังของอิตาลีอยู่ที่ระดับเฉลี่ย 55% ของรายได้จากการจัดเก็บภาษีในปีนี้
ตามด้วยเดนมาร์กที่ 48.6% ฝรั่งเศส 48.2% และสวีเดน 48%
รายงานระบุว่า ภาระทางการคลังของอิตาลีไม่เพียงแต่มีอันดับสูงกว่าค่าเฉลี่ยของประเทศในยุโรปเท่านั้น
แต่ยังสูงกว่าญี่ปุ่นและสหรัฐฯ อยู่มาก โดยแรงกดดันทางการคลังของญี่ปุ่นและสหรัฐอยู่ที่ 30.6%
และ 26.3% ตามลำดับ
"อิตาลีรั้งอันดับ 1 ของโลก แถมยังไม่มีทีท่าว่าประเทศอื่นๆ จะสามารถแซงหน้าได้ในอนาคตอันใกล้
ประเทศอื่นๆ ที่ตามหลังอิตาลี ไม่เพียงแต่กำลังลดภาระทางภาษีเท่านั้น
แต่ยังมีขนาดเศรษฐกิจนอกระบบที่เล็กกว่ามากเมื่อเทียบกับของอิตาลี" สมาพันธ์ผู้ค้าปลีกฯ ระบุ
นอกจากนี้ รายงานยังระบุว่า อิตาลียังรั้งอันดับ 1 ของโลกในแง่ของเศรษฐกิจใต้ดิน
ซึ่งคิดเป็นสัดส่วน 17.5% ของผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศ (จีดีพี)
โดยแต่ละปีมีการหลีกเลี่ยงภาษีสูงถึง 1.54 แสนล้านยูโร (1.89 แสนล้านดอลลาร์)

***

น่าเหนื่อยใจกับการแก้ปัญาของยุโรปจริงๆ
แม้ รมว.คลังยูโรโซนจะอนุมัติเงื่อนไขการให้เงิน แต่ก็ยังไม่ได้มีการจ่ายเงินอัดฉีดเข้าไปในทันที
แถมยังมีการวิเคราะห์และประเมินการช่วยเหลือธนาคารสเปนเป็นแห่งๆ อีก
ทั้งต้องรอไปถึงเดือนกันยายน
ขณะวันที่ 12 กันยายน ศาลรัฐธรรมนูญของเยอรมนีจะพิจารณาเกี่ยวกับ
การให้สัตยาบันของรัฐสภาเยอรมนีต่อกองทุนกลไกรักษาเสถียรภาพยุโรป (ESM)
และสนธิสัญญาทางการคลังของยุโรป
ซึ่งยังเป็นปัจจัยลบต่อทั้งยูโรโซนเพราะเยอรมันยังไม่สามารถใส่เงินเข้ากองทุนได้จนกว่าเรื่องจะเรียบร้อย
ทำให้ ESM ขาดกำลังในการอัดฉีดสภาพคล่องเข้าสู่ชาติสมาชิกที่กำลังประสบปัญหา

บางที การออกมาอยู่นอกตลาดบ้างอาจเป็นการดีกว่า...

.

20 กรกฎาคม 2555

ที่สุด "ล้างพอร์ต"

ในที่สุดก่อนหนึ่งทุ่ม พอร์ตผมก็หายทันใดอีกรอบ
จริงๆ ก็เตรียมใจไว้อยู่แล้ว ด้วยไม่ได้ตั้ง SL และไม่อยากเติมเงินใส่โบรก
ต้องยอมรับจริงๆ ว่า สกุลเงินยูโรหาปัจจัยบวกยาก ไม่เหมาะแก่การช้อนซื้อใดๆ
ใครเข้าไป buy ยูโรไว้นี่แทบหอบหืด กล้ำกลืนฝืนทน กระอักกระอ่วน
เฉพาะคู่ EU ยังไม่สามารถยืนเหนือราคา 1.2300 ได้เลย

เท่าที่พอรู้ๆ จากพรรคพวกมาบ้าง คือไม่ค่อยมีใครอยาก sell ในราคาต่ำๆ เช่นนี้
โดยจิตวิทยามวลชน ส่วนใหญ่จึงมองไปที่การเปิด buy กันมากกว่า
นั่นแหละ ราคาที่อันตรายที่สุด ราคาที่ใครๆ ต่างกลัวมากที่สุด อาจหมายถึงเป็นราคาที่น่าเสี่ยง!!
ว่าแต่จักมีกี่คนที่คิดเปิดออเดอร์ sell หรือนี่คือวิธีคิดของเหล่าแมงเม่าที่บินเข้ากองไฟ
หรือว่านี่คือการดักกินรายย่อยที่ยัง buy แบบเชือดนิ่มๆ เป็นการสลายเด็ดปีกอย่างไร้คำบรรยาย

การล้างพอร์ตอีกรอบครานี้ของผมก็ทำให้ต้องทบทวนและมองตลาดฟอเร็กซ์กันใหม่
เราให้ความสำคัญเรื่องเทคนิเคิลมากเกินไปหรือไม่ หรือเราพะวักพะวงปัจจัยด้านข่าวสารมากเกินไป
หรือเราทุนน้อย (ก็ลงล็อตน้อยนะ)  หรือว่าเราอ่อนด้อยและยังมองตลาดเงินไม่ทะลุปรุโปร่ง
หรือเราใช้อารมณ์ในการเทรด หรือว่าเราคิดไปเอง หรือที่สุดเราโดนพวกรายใหญ่เล่นงาน ฯลฯ

เสี่ยยักษ์ วิชัย วชิรพงศ์
หลังจากพอร์ตหาย ผมก็คงทำใจสักพัก
สะสมพลังใจและกำลังเงินแล้วค่อยมาลุยต่อ
ตอนนี้ ขออ่านแง่คิดจาก "กูรูพันล้าน"
เสี่ยยักษ์ วิชัย วชิรพงศ์ ไปพลางๆ ก่อน
อาจเป็นหลักคิดการเล่นหุ้น แต่ก็นำมาใช้กับตลาดเงินได้





# คุณยังไม่มีประสบการณ์เลย คุณต้องขาดทุนก่อน ในชีวิตจริงต้องเป็นอย่างนั้น
นักลงทุนมือใหม่ "ขาดทุน" ถือเป็นเรื่องปกติ การเล่นหุ้นขาดทุน แสดงว่า "คุณยังรู้ไม่จริง"
อยู่ในตลาดหุ้นอย่าคิดว่าเราเก่งกว่าคนอื่น ยังมีคนที่รู้มากกว่าและเก่งกว่าเราตั้งเยอะแยะ
เราต้องรู้ให้ได้ว่าหุ้นที่เราจะซื้อ...เราซื้อเพราะอะไร?
เราต้องตอบให้ได้ว่าหุ้นตัวนี้มันจะขึ้นด้วยเหตุผลอะไร?
ถ้าคุณตอบได้ โอกาส "ชนะ" ก็มีมากกว่าครึ่ง
"คนจะเกิด (ในตลาดหุ้น) มันต้องเกิดจากการไขว่คว้า...ไม่ใช่ฟลุ้ค!"

#  การเล่นหุ้นให้ได้กำไรก้อนใหญ่ ปีหนึ่งเราควรเล่นหุ้นแค่ 2 เดือน ก็รวยมหาศาลแล้ว
ไม่จำเป็นต้องเล่น (เทรด) หุ้นทั้งปี แต่ถ้าอยากเล่นเป็นรายวัน ก็ให้คิดว่าเล่นเป็นค่ากับข้าว ไม่ใช่ทุ่มสุดตัว
เพราะถ้าอยากจะรวยจริงๆ บอกได้เลยครับว่า...คุณต้องเล่นรอบใหญ่เท่านั้น
ในช่วงที่ภาวะตลาดหุ้นไม่ดี เป็น Bearlish Trend สำหรับตัวผมจะเหลือหุ้นอยู่ในพอร์ตน้อยมาก
จะเล่นแค่สนุก เล่นเพื่อให้เราอยู่ในกระแส
ถ้าอยากจะเล่นเกมส์ให้ชนะ เราต้องศึกษา เราต้องรอบรู้ เราต้องมีเพื่อน
เราต้องคอยอ่านความคิดคนอื่นว่าเขามองยังไง จะเชื่อหรือไม่เชื่อก็เป็นอีกเรื่องหนึ่ง
ส่วนวิธีการ "จับปลาใหญ่" คุณต้องนิ่งๆ รอให้หุ้นลงต่ำๆ ค่อยเข้าไปเล่น ไม่ต้องกลัวว่าจะซื้อหุ้นไม่ได้
ถ้าคุณมีเงินเย็นอยู่ในกระเป๋าจะมีหุ้นดีๆ วิ่งมา "ชน" คุณเอง
ส่วนใหญ่ของคนที่ "ติดหุ้น" เพราะถูกอารมณ์ของตลาดหุ้นพาไป (ขาดทุน) ชอบไปซื้อหุ้นตอนที่ตลาดใกล้วาย

# สำหรับการลงทุนระยะสั้น การทำความเข้าใจกับ "แนวรับ" หรือ แนว Support
และ "แนวต้าน" หรือ แนว Resistance นั้น นับว่ามีความสำคัญอยู่ไม่น้อย
ถ้าราคาหุ้นช่วงไหนที่ทุกคนซื้อขาย "นัวเนีย" อยู่แถวนี้ "แน่น" มาก และนานพอสมควร
ถ้าจะฝ่าราคาตรงนี้ขึ้นไปได้ ต้องใช้เงินมาก
โดยหลักจิตวิทยาของคนเล่นหุ้น ถ้า "ขาดทุน" พอราคาขึ้นมาถึงทุน ก็จะรีบขาย
ภาษาหุ้นเขาเรียกว่า "ขอชีวิตคืน" ตรงจุดนั้น ก็จะเป็น "แรงต้าน"
แต่ถ้าราคามีการ Breakout หรือการทะลุผ่านแนวต้านขึ้นไปได้ แนวต้านตรงนี้ก็จะกลายเป็น "แนวรับ" เลยนะ
คนที่จะเล่นหุ้นเก็งกำไรระยะสั้น ต้องดูจุดนี้ประกอบด้วย

# ในบางตำรา...สูตรการเล่นหุ้นมักจะบอกว่า "ลงให้ซื้อ...ขึ้นให้ขาย" แต่วิธีคิดแบบนี้ใช้ไม่ได้ทุกครั้ง
คนที่ผ่านจุดอันตรายที่สุดมาแล้ว เขาจะไม่คิดแบบนี้ เพราะ "ลูกยังเล็ก" อันตราย!!
...เขาจะคิดตรงกันข้ามว่า "ลงให้ขาย" (Cut Loss) "ขึ้นให้ซื้อ" (Follow the Trend)
ซึ่งเป็นวิธีที่ "ลดความเสี่ยง" ได้ดีที่สุด
เราจะอ่านเกมได้อย่างไรกรณีที่หุ้นปรับฐานแล้วจะ "ลงแรง" หรือ "ไม่แรง"
"สัญญาณขาย" หรือ Sell Signal ตามหลักดีมานด์และซัพพลาย ก็คือ ในกรณีที่หุ้นจะลง "ไม่แรง" นั้น
รายย่อยจะยัง "ไม่เข้า" เมื่อหุ้นปรับฐานแล้ว มีโอกาสไปต่อ "สูง"
กรณีที่หุ้นจะ "ปรับตัวแรง" ให้สังเกต "วอลลุ่ม" มักจะทำ "พีค" ก่อน แสดงว่า...รายย่อยแห่เข้าใส่แล้ว
ยิ่งซื้อแบบไม่ลืมหูลืมตา (กลัวตกรถไฟขบวนสุดท้าย) เวลาที่หุ้นปรับตัว จะ "ลงแรง" และ "ลงหนัก"

.