22 มกราคม 2556

เยอรมันถอนทองคำกลับประเทศ

เยอรมันเอาจริง! 
ธนาคารกลางเมืองเบียร์ประกาศถอนทองคำกลับประเทศ
รอบแรกเกือบ 700 ตัน มูลค่าทะลุ 1 ล้านล้าน 

อ้าง “เผยเหตุผลไม่ได้”

 
 
ธนาคารกลางเยอรมนี (Deutsche Bundesbank)
ประกาศเดินหน้าแผนดึงทองคำสำรองปริมาณมหาศาลกลับมาไว้ในประเทศ
ถือเป็นการ “ยืนยันความถูกต้อง” ของรายงานข่าวก่อนหน้านี้
ที่มีการเผยแพร่โดยหนังสือพิมพ์ด้านธุรกิจและการเงินรายวัน 
ฮันเดิลสบลัตต์ เมื่อวันที่ 15 มกราคมที่ผ่านมา

     

รายงานข่าวล่าสุดเมื่อวันจันทร์ (21 ม.ค.) จากนครแฟรงก์เฟิร์ต
ซึ่งอ้าง โมริตซ์ เอากุสต์ ราช โฆษกของ บุนเดสบังก์ ระบุว่า
“ผมขอยืนยันว่า เรามีความจำเป็นต้องนำทองคำของเยอรมนีกลับประเทศ 
ด้วยเหตุผลหลายประการด้านความมั่นคง ซึ่งเป็นเหตุผลที่เราไม่สามารถเปิดเผยต่อสาธารณชนได้ 
แต่ส่วนหนึ่งเป็นเพราะเราจำเป็นต้องปกป้องทองคำของเรา
และยังต้องคำนึงถึงความปลอดภัยของเจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้องกับการถอนทองคำกลับประเทศครั้งนี้”


ท่าทีล่าสุดของโฆษกบุนเดสบังก์มีขึ้นเพียงไม่ถึง 24 ชั่วโมง
หลังจาก ดีทรอยต์ ฟรี เพรสส์ หนังสือพิมพ์รายวันเก่าแก่ในมลรัฐมิชิแกนของสหรัฐฯ
ที่มียอดจำหน่ายกว่าวันละ 234,580 ฉบับ ตีพิมพ์รายงานข่าวที่ระบุว่า
ธนาคารกลางเยอรมนี เตรียมเดินหน้าแผนการถอนทองคำของตนชุดแรก
ที่มีปริมาณมหาศาลถึง 674 ตันจากธนาคารกลางสหรัฐฯ (เฟด) สาขานิวยอร์ก
รวมถึงที่ตั้งธนาคารกลางฝรั่งเศสในกรุงปารีส เพื่อนำทองคำจำนวนดังกล่าว
กลับมาเก็บไว้ภายในที่ทำการของบุนเดสบังก์ในนครแฟรงก์เฟิร์ต
      
โดยในจำนวนทองคำ 674 ตันของเยอรมนีที่จะถูกถอนกลับประเทศครั้งนี้
คิดเป็นทองคำที่ฝากไว้ในมหานครนิวยอร์กของสหรัฐฯ 300 ตัน
ส่วนอีก 374 ตันที่เหลือเป็นทองคำที่ฝากไว้กับธนาคารกลางฝรั่งเศส
และทองคำล็อตนี้ที่เยอรมนีจะดึงกลับประเทศมีมูลค่าสูงถึง 36,000 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ 

(ราว 1.07 ล้านล้านบาท)
หรือคิดเป็นกว่า 1 ใน 5 ของทองคำสำรองทั้งหมดของเยอรมนี

      
ก่อนหน้านี้เมื่อวันที่ 15 มกราคมที่ผ่านมา หนังสือพิมพ์รายวัน ฮันเดิลสบลัตต์ ของเยอรมนีรายงานว่า
บุนเดสบังก์มีแผนนำทองคำของตนจำนวนมากที่ฝากไว้ในประเทศอื่น
ทั้งในสหราชอาณาจักร ฝรั่งเศสและสหรัฐฯ กลับประเทศเร็วๆ นี้เพื่อความมั่นคงทางการคลัง
โดยระบุถือเป็นหนึ่งในการโยกย้ายทองคำระหว่างประเทศครั้งใหญ่ที่สุดในประวัติศาสตร์โลก
หลังจากรัฐบาลเยอรมนีในอดีตโดยเฉพาะตั้งแต่หลังสงครามโลกครั้งที่ 2 เป็นต้นมา
ต่างมีนโยบายนำทองคำของตนไปฝากไว้ในต่างแดนเพื่อกระจายความเสี่ยง
จากสถานการณ์ทางการเมืองระหว่างประเทศที่ตึงเครียดในยุค “สงครามเย็น
เนื่องจากรัฐบาลเยอรมนีในเวลานั้นเกรงว่า ทองคำของตนจะถูกสหภาพโซเวียตยึดครองเข้าสักวันหนึ่ง
      
ตามข้อมูลที่สื่อดังอย่าง ฮันเดิลสบลัตต์ รายงาน ระบุว่า
ขณะนี้ 45 เปอร์เซ็นต์ของทองคำของเยอรมนีถูกนำไปฝากไว้ในธนาคารกลางสหรัฐฯ (เฟด)
ขณะที่อีก 13 เปอร์เซ็นต์ และ 11 เปอร์เซ็นต์
ถูกนำไปเก็บไว้ในธนาคารกลางของอังกฤษ และธนาคารกลางฝรั่งเศส ตามลำดับ
ส่งผลให้มีปริมาณทองคำเพียงแค่ 31 เปอร์เซ็นต์เท่านั้นที่ถูกเก็บไว้ภายในสำนักงานใหญ่ของบุนเดสบังก์
หรือธนาคารกลางเยอรมนี ในนครแฟรงก์เฟิร์ต
      
รายงานข่าวยังระบุว่า ทองคำของเยอรมนีทั้งหมดที่นำไปฝากไว้ในฝรั่งเศส
จะเป็นทองคำส่วนแรกที่รัฐบาลเยอรมนีต้องดึงกลับมาไว้ในประเทศ
ขณะที่ทองคำบางส่วนที่ฝากไว้ในอังกฤษ และสหรัฐฯ 

ยังจำเป็นต้องคงอยู่ตามเดิมต่อไปก่อนอีกระยะหนึ่ง
เพื่อรองรับการแลกเปลี่ยนเงินตราระหว่างประเทศ

      
ทั้งนี้ ธนาคารกลางเยอรมนีได้ชื่อว่า...
เป็นผู้ถือครองทองคำสำรองรายใหญ่เป็นอันดับที่ 2 ของโลก รองจากสหรั
โดยปริมาณทองคำในความครอบครองของบุนเดสบังก์นั้นมีกว่า 3,396.3 ตันเมื่อสิ้นปี 2011
หรือคิดเป็น
มูลค่าไม่ต่ำกว่า 133,000 ล้านยูโร (ราว 5.3 ล้านล้านบาท)
      
ก่อนหน้านี้ ในช่วงปี ค.ศ.1998-2001 มีข้อมูลว่า
ธนาคารกลางของเยอรมนีได้เคยถอนทองคำล็อตใหญ่ปริมาณกว่า 850 ตัน
ที่ฝากไว้ในธนาคารกลางของอังกฤษในกรุงลอนดอนมาแล้วเช่นกัน
ท่ามกลางข่าวลือในขณะนั้นว่า
วิกฤตเศรษฐกิจในเอเชียที่เริ่มต้นในประเทศไทยเมื่อปี 1997 อาจลุกลามมาถึงยุโรป

อ้างอิงจาก : ผู้จัดการออนไลน์

16 มกราคม 2556

เยอรมนีจ่อถอน “ทองคำมหาศาล”

ยามว่างๆ ก็มักหาข่าวการบ้านการเมืองหรือข่าวสังคมทั่วไปๆ อ่านคั่นเวลาทำโน่นนี่บ้าง
โดยเว็บไซต์ที่ชอบเข้าก็มี ไทยโพสต์, ผู้จัดการออนไลน์, คมชัดลึก หรือ กรุงเทพธุรกิจ ฯ
และวันนี้ก็ได้ไปเจอข่าวที่น่าสนใจ...ก็ตามระเบียบที่จะนำมาบอกต่อๆ กัน

จริงๆ พาดหัวข่าวแบบเต็มๆ นั้น คือ...

ลือหึ่ง! เยอรมนีจ่อถอน “ทองคำมหาศาล” ที่ฝากไว้ต่างแดนกลับประเทศ อ้างทำเพื่อความมั่นคง

ธนาคารกลางเยอรมนี (Deutsche Bundesbank)
ต้องการนำทองคำของตนจำนวนมากที่ฝากไว้ในประเทศอื่นๆ
ทั้งในสหราชอาณาจักร ฝรั่งเศส และสหรัฐอเมริกากลับประเทศ เร็วๆ นี้

เพื่อความมั่นคงทางการคลัง
ทั้งนี้เป็นรายงานของหนังสือพิมพ์ด้านธุรกิจและการเงินรายวัน 

ฮันเดิลสบลัตต์เมื่อวันอังคาร (15 ม.ค.)
โดยหากรายงานดังกล่าวเป็นความจริง จะถือเป็น

หนึ่งในการโยกย้ายทองคำระหว่างประเทศครั้งใหญ่ที่สุดในประวัติศาสตร์
      
รายงานของสื่อสิ่งพิมพ์ฉบับดังกล่าวระบุว่า...
ศาลของรัฐบาลกลางเยอรมนีว่าด้วยการตรวจเงินแผ่นดิน
ได้เข้าตรวจสอบปริมาณทองคำคงคลังของประเทศหลังได้รับการร้องขออย่างเป็นทางการ
เมื่อปีที่แล้วจากกลุ่มเคลื่อนไหวภายในประเทศของพวก “ยูโรสเค็ปติกส์
หรือพวกที่มีความสงสัยคลางแคลงใจต่อบทบาทและความจำเป็นของสหภาพยุโรป (อียู)
      
หลังการเข้าตรวจสอบปริมาณทองคำคงคลังของประเทศ ศาลฯ ดังกล่าวของเยอรมนี
ได้เรียกร้องให้รัฐบาลเยอรมนีภายใต้การนำของนายกรัฐมนตรีหญิงเหล็ก อังเกลา แมร์เคิล
เร่งหาทางนำทองคำของเยอรมนีจำนวนมากที่ไปฝากไว้ในต่างประเทศกลับคืนมาเพื่อความมั่นคงทางการคลัง
หลังจากรัฐบาลเยอรมนีในอดีต โดยเฉพาะตั้งแต่หลังสงครามโลกครั้งที่ 2 เป็นต้นมา
ต่างมีนโยบายนำทองคำของตนไปฝากไว้ในต่างแดน
เพื่อกระจายความเสี่ยงจากสถานการณ์ทางการเมืองระหว่างประเทศที่ตึงเครียดในยุค “สงครามเย็น
      
ตามข้อมูลที่สื่อดังอย่าง “ฮันเดิลสบลัตต์”  รายงานระบุว่า
ขณะนี้ 45 เปอร์เซ็นต์ของทองคำของเยอรมนีถูกนำไปฝากไว้ในธนาคารกลางสหรัฐฯ (เฟด)
ขณะที่อีก 13 เปอร์เซ็นต์ และ 11 เปอร์เซ็นต์ 

ถูกนำไปเก็บไว้ในธนาคารกลางของอังกฤษ และธนาคารกลางฝรั่งเศสตามลำดับ
ส่งผลให้มีปริมาณทองคำเพียงแค่ 31 เปอร์เซ็นต์เท่านั้น
ที่ถูกเก็บไว้ภายในสำนักงานใหญ่ของบุนเดสบังก์หรือธนาคารกลางเยอรมนี ในนครแฟรงก์เฟิร์ต

      
รายงานข่าวซึ่งอ้างคำแนะนำของศาลฯ ระบุว่า
ทองคำของเยอรมนีทั้งหมดที่นำไปฝากไว้ในฝรั่งเศส
ควรจะเป็นทองคำส่วนแรกที่รั
บาลเยอรมนีต้องดึงกลับมาไว้ในประเทศ
ขณะที่ทองคำบางส่วนที่ฝากไว้ในอังกฤษและสหรั
ฯ ยังจำเป็นต้องคงอยู่ตามเดิมต่อไปก่อน
เพื่อรองรับการแลกเปลี่ยนเงินตราระหว่างประเทศ

      
อย่างไรก็ดี จนถึงขณะนี้
เยนส์ ไวด์มันน์ ประธานบุนเดสบังก์ วัย 44 ปีที่เข้ามารับตำแหน่งตั้งแต่พฤษภาคมปี 2011
ยังไม่ออกมาให้ความเห็นใดๆ ต่อรายงานของสื่อดังกล่าว
      
ทั้งนี้ ธนาคารกลางเยอรมนีได้ชื่อว่า...
เป็นผู้ถือครองทองคำสำรองรายใหญ่เป็นอันดับที่ 2 ของโลก รองจากสหรัฐฯ
โดยปริมาณทองคำในความครอบครองของบุนเดสบังก์นั้นมีกว่า 3,396.3 ตันเมื่อสิ้นปี 2011
หรือคิดเป็นมูลค่าไม่ต่ำกว่า 133,000 ล้านยูโร (ราว 5.3 ล้านล้านบาท)

***

เตือนนักลงทุนระมัดระวัง ต่างชาติขายทำกำไร 2 เด้ง ทั้ง “หุ้น-ค่าเงิน”

ผู้เชี่ยวชาญแบงก์คาด “บาทแข็ง” เป็นผลในช่วงสั้น
เตือนนักลงทุนระมัดระวังต่างชาติขายทำกำไร 2 เด้ง ทั้ง “หุ้น-ค่าเงิน
เผยช่วง 3 ปีที่ผ่านมา หุ้นไทยพุ่ง 250%
ขณะที่เม็ดเงินไหลเข้าจะไม่มากอย่างที่คาดไว้แล้ว
      
นางอุสรา วิไลพิชญ์ นักเศรษฐศาสตร์อาวุโส ธนาคารแสตนดาร์ด ชาร์เตอร์ด (ไทย)
กล่าวว่า...
การแข็งค่าของเงินบาทไทยในช่วงนี้
ส่วนหนึ่งน่าจะเป็นผลจาก นายเบน เบอร์นันเก้
ประธานธนาคารกลางสหรัฐฯ หรือเฟด
ออกมาแสดงความเห็นว่า จะยังไม่ยุติการใช้มาตรการคิวอี (QE)
ซึ่งก็เป็นผลทางจิตวิทยาทำให้นักลงทุนกล้าลงทุนในสินทรัพย์เสี่ยงเพิ่มขึ้น
ส่งผลให้มีเงินทุนไหลเข้ามาในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้อย่างต่อเนื่อง
      

อย่างไรก็ตาม เงินทุนที่ไหลเข้ามาในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้รวมทั้งไทยนั้น
น่าจะส่งผลให้ค่าเงินบาทแข็งค่าขึ้นเพียงแค่ชั่วคราวเท่านั้น
โดยเงินบาทไทยมีแนวรับสำคัญอยู่ที่ 30 บาทต่อดอลลาร์สหรัฐ
และเชื่อว่าระดับการแข็งค่าไม่น่าจะเกิน 29.75 บาทต่อดอลลาร์สหรัฐ
      
นางอุสรา กล่าวว่า สาเหตุที่มองเช่นนั้น เพราะช่วง 3-4 ปีที่ผ่านมา
มีเงินทุนต่างชาติไหลเข้าลงทุนในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ค่อนข้างมาก
และทำให้สินทรัพย์ต่างๆ โดยเฉพาะดัชนีตลาดหุ้นใน 3 ประเทศหลัก คือ
ไทย อินโดนีเซีย และฟิลิปปินส์ ปรับตัวขึ้นแรง 

ประกอบกับค่าเงินบาทช่วงหลายเดือนที่ผ่านมาก็ค่อนข้างนิ่ง
ดังนั้น การที่เงินบาทกลับมาแข็งค่าเร็วในช่วงนี้
นักลงทุนต่างชาติจึงอาจอาศัยโอกาสนี้ขายทำกำไรในสินทรัพย์ต่างๆ ออกมาก่อนได้

      
โดยก่อนหน้านี้ เงินบาทค่อนข้างนิ่งมานาน 4-5 เดือน และการที่ค่าเงินบาทแข็งค่าขึ้นมาเร็ว
อาจกระตุ้นให้นักลงทุนต่างประเทศขายทำกำไรสินทรัพย์ในประเทศออกมาก่อนเพื่อล็อกกำไร 
เชื่อว่านักลงทุนบางกลุ่มที่ลงทุนไว้ก่อนหน้านี้ ก็คงรอดูจังหวะการขายออกเช่นกัน
เพราะเขาได้กำไร 2 ต่อ จากทั้งราคา
หุ้นที่ปรับขึ้น และค่าเงินบาทที่แข็งค่า

            
“การปรับขึ้นอย่างร้อนแรงของดัชนีตลาดหุ้นในกลุ่มประเทศเอเชียตะวันออกเฉียงใต้นั้น
หากเทียบกับตลาดหุ้นของประเทศอื่นๆ โดยเฉพาะในกลุ่มเอเชียเหนือ อย่างเกาหลีใต้ ไต้หวัน และจีน
จะเห็นว่า ดัชนีหุ้นของกลุ่มประเทศเหล่านี้ยังปรับขึ้นไปไม่สูงมากนัก
จึงมีโอกาสที่เงินทุนต่างชาติจะไหลเข้าไปยังกลุ่มประเทศเหล่านี้มากกว่า”
      
นางอุสรา ยังเชื่อว่า ค่าเงินบาท และตลาดหุ้นไทยในระยะต่อไปมีโอกาสที่จะผันผวนอย่างมาก
จึงอยากแนะนำให้นักลงทุนใช้ความระมัดระวังในการลงทุน ขณะเดียวกัน ก็อยากฝากว่า
สำหรับผู้ที่ต้องใช้เงินสกุลต่างประเทศนั้น ช่วงนี้ถือเป็นจังหวะเหมาะที่จะซื้อเก็บเอาไว้
ทั้งเงินส
กุลดอลลาร์สหรัและเงินเยนของญี่ปุ่

      
สำหรับในส่วนของเงินเยนนั้น จะเห็นว่าหลังจากรัฐบาลใหม่ของญี่ปุ่นประกาศนโยบายเงินเยนอ่อนค่า
ทำให้เงินเยนเทียบเงินบาทอ่อนค่าลงต่อเนื่อง
จาก 40 บาทต่อ 100 เยนในอดีต มาอยู่ที่ 34 บาทต่อ 100 เยนในปัจจุบัน
หรืออ่อนค่าลงไปราว 16% ซึ่งโอกาสที่เงินเยนจะอ่อนค่าไปมากกว่านี้นั้น มองว่าน่าจะมีน้อย
และมีโอกาสที่เงินเยนจะกลับมาแข็งได้แม้ว่ารัฐบาลญี่ปุ่นจะประกาศนโยบายที่ชัดเจนออกมา
ซึ่งเป็นผลจากนักลงทุนขายทำกำไรจากข่าวดังกล่าว (Sell on fact) เรียบร้อยแล้ว...

*

13 มกราคม 2556

หน้าผาการคลัง หน้าผาฆ่าตัวเอง

หลังๆ มานี้...เรื่อง Forex สำหรับผมแล้วชักห่างๆ อืดๆ และไม่ได้สนใจเหมือนดังแต่ก่อน
ด้วยปัจจัยทางชีวิตหลายๆ ประการ รวมทั้งเวล่ำเวลาที่จะตามติดเกาะขอบอย่างสม่ำเสมอ
แต่ก็ยังเทรดฟอเร็กซ์ตามปกติ พอร์ตเงินเดโมเกลี้ยงฉาดก็ขอเงินปลอมใหม่และเทรดใหม่
ตั้งใจว่า...จะเทรดเงินปลอมเช่นนี้ไปตลอดปีนี้เลย สะสมประสบการณ์เข้าไว้...

วันนี้...บังเอิญ (อีกแล้ว) ได้อ่านบทความดีๆ ของท่าน ไสว บุญมา ในผู้จัดการออนไลน์
ก็เลยจัดแจงก็อปมาฝากกัน เผื่อจะเกิดประโยชน์อันใดกับนักเทรดชาวไทยที่ผ่านมาอ่านบล็อกนี้บ้าง


หน้าผาการคลัง หน้าผาฆ่าตัวเอง  

ผู้ติดตามข่าวโลกคงได้ผ่านหูผ่านตากับคำว่า
หน้าผาการคลัง” กันบ้างแล้ว
คำนี้เป็นคำใหม่ในแวดวงเศรษฐกิจซึ่งแปลมาจากคำว่า Fiscal Cliff
ใครจะเป็นคนคิดขึ้นใช้ไม่เป็นที่ประจักษ์อย่างแจ้งชัดนัก
นอกจากมันเป็นที่ยอมรับกันอย่างกว้างขวางว่า
หมายถึงสถานการณ์ทางเศรษฐกิจที่จะเกิดขึ้นในสหรัฐอเมริกา
ถ้ารัฐบาลไม่ออกกฎหมายใหม่เพื่อแก้กฎหมายเก่าที่จะมีผลผูกพันทันทีเมื่อขึ้นปี 2556

หากไม่ออกกฎหมายใหม่มาแก้กฎหมายเก่า สิ่งที่จะเกิดขึ้นในอเมริกามีสองอย่างด้วยกันคือ
รัฐบาลกลางจะต้องลดการใช้จ่ายลงอย่างฮวบฮาบและภาคเอกชนจะต้องจ่ายภาษีเพิ่มขึ้นจำนวนมาก
หากสองอย่างนั้นเกิดขึ้นพร้อมกัน มันหมายถึงการใช้จ่ายโดยทั่วไปในเศรษฐกิจจะลดวูบลงทันที
อันมีลักษณะคล้ายเดินๆ ไปแล้วทางสุดลงตรงหน้าผาทันที
ผลที่ตามมาคือความถดถอยร้ายแรงของเศรษฐกิจอเมริกันซึ่งตกอยู่ในภาวะลูกผีลูกคนมานาน
หลังวันที่ฟองสบู่อสังหาริมทรัพย์แตกเมื่อปี 2551

      
รัฐบาลอเมริกันอันมีฝ่ายบริหารเป็นผู้นำสามารถหาข้อตกลงกับฝ่ายนิติบัญญัติได้ภายในกำหนดเวลา
การตกหน้าผาจึงไม่เกิดขึ้น อย่างไรก็ตาม ปัญหายังไม่หมดไป
เพราะอีกไม่นานรัฐบาลกลางจะต้องเผชิญกับเพดานหนี้ คงเป็นที่ทราบกันดีแล้วว่า
รัฐบาลอเมริกันอยู่ได้ด้วยการกู้หนี้ยืมสินซึ่งเพิ่มขึ้นเป็นดินพอกหางหมูติดต่อกันมานาน
วันไหนที่รัฐบาลกู้เงินเพิ่มไม่ได้เพราะมีกฎหมายเพดานหนี้บังคับอยู่
วันนั้นก็จะเป็นวันที่เศรษฐกิจตกหน้าผาย่อยๆ
สภาพเช่นนี้ทำให้มีผู้ตราเศรษฐกิจอเมริกันว่ากำลังเดินทางตามยุโรปอันเป็นการพูดเชิงดูแคลน
      
 
อะไรทำให้บางคนดูแคลนยุโรป
      
ผู้ติดตามข่าวคงทราบดีแล้วว่าล่าสุด
กรีซแซงหน้าสเปนในด้านการมีอัตราการว่างงานสูงสุดเป็นประวัติการณ์
นั่นคือ ผู้อยู่ในวัยทำงานถึง 26.8% หางานทำไม่ได้
ในขณะที่อัตราในสเปนซึ่งครองอันดับหนึ่งมานานอยู่ที่ 26.6%
อัตราการว่างงานในระดับนั้นหมายถึงอะไรคงไม่ต้องขยายความมากนัก
นอกจากการรอวันที่สังคมจะล่ม หรือตกหน้าผาตาย
ในสเปน รัฐคาตาโลเนียซึ่งเป็นที่ตั้งของเมื่องบาเซโลนาที่มีความเป็นเลิศในหลายอย่าง
รวมทั้งฟุตบอลและเศรษฐกิจที่แข็งแกร่งกว่ารัฐอื่นอาจขอแยกตัวออกเป็นเอกราช
เหตุการณ์เช่นนั้นจะเป็นการเริ่มต้นของการแบ่งแยกสเปนซึ่งจะจบลงอย่างไรยากที่จะหยั่งได้
      
กรีซคงไม่ประสบปัญหาเช่นนั้น แต่ก็มีการฆ่ากันเกิดขึ้นแล้วหลังรัฐบาลตัดงบประมาณลง
เพื่อทำตามความต้องการของสหภาพยุโรปและไอเอ็มเอฟในแนวที่ไทยต้องทำในปี 2540
ต้นตอของวิกฤตในกรีซได้แก่ การใช้นโยบายประชานิยมแนวเลวร้ายติดต่อกันมานาน
โดยรัฐบาลจ้างพนักงานพร้อมให้สวัสดิการและค่าแรงเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ
เมื่อเพิ่มสวัสดิการให้พนักงานของรัฐก็ต้องเพิ่มให้ประชาชนโดยทั่วไป
ในขณะเดียวกัน รัฐบาลก็พยายามเอาใจประชาชนโดยการลดอัตราภาษี หรือไม่เก็บเพิ่มขึ้นไป
พร้อมกับการเพิ่มขึ้นของการใช้จ่ายส่งผลให้เกิดภาวะงบประมาณขาดดุลรุนแรงขึ้นเรื่อยๆ
      
เนื่องจากกรีซเป็นสมาชิกของสหภาพยุโรปซึ่งมีข้อตกลงว่า
สมาชิกจะขาดดุลงบประมาณเกิน 3% ของผลิตภัณฑ์มวลรวมของประเทศ หรือจีดีพีไม่ได้
แต่รัฐบาลกรีซละเมิดกฏนั้นด้วยการตกแต่งบัญชีโดยมีธนาคารยักษ์ใหญ่ให้คำแนะนำ
ก่อนที่เรื่องจะแดงออกมาและเศรษฐกิจของกรีซเดินเข้าสู่ภาวะวิกฤต
ปรากฏว่ากรีซขาดดุลงบประมาณถึง 13% ของจีดีพีและเป็นหนี้สินแบบท่วมท้น
กรีซยังโชคดีที่ได้รับความช่วยเหลือทางการเงินจากสหภาพยุโรปและไอเอ็มเอฟ
ครั้งหนึ่งมีการพูดถึงการไล่กรีซออกจากสหภาพยุโรป
เมื่อไรกรีซถูกไล่ออก เมื่อนั้นหมายถึงการตกหน้าผาตายของกรีซ แม้จะยังไม่ตกหน้าผา
แต่ตอนนี้ชาวกรีกก็ต้องทุกข์ทนจากผลของการใช้นโยบายประชานิยมและความฉ้อฉลของรัฐบาล
อัตราการว่างงานที่ 26.8% เป็นตัวชี้บ่งตัวหนึ่งเท่านั้น ย้อนไปไม่นานชาวกรีกออกมาประท้วงรัฐบาล
เรื่องการตัดสวัสดิการของพวกตนส่งผลให้ถูกปราบปรามจนถึงขั้นเสียชีวิต
      
อาจจำกันได้ว่ากรีซและสเปนมิได้เป็นสมาชิกของสหภาพยุโรปตั้งแต่เริ่มต้นเมื่อปี 2500
กรีซเข้าเป็นสมาชิกเมื่อปี 2524 และสเปนเมื่อปี 2529 ทั้งที่ทั้งสองต้องการเป็นสมาชิกมาก่อนนั้น
การไม่ได้เป็นจากวันที่ต้องการเป็นมีเหตุสืบเนื่องมาจากสองประเทศนั้น
ยังมีการปกครองในแนวเผด็จการและมีสถาบันทางเศรษฐกิจและสังคมในแนวของประเทศกำลังพัฒนา
มากกว่าในแนวของประเทศก้าวหน้าซึ่งเป็นสมาชิกก่อตั้งสหภาพยุโรป
ประเทศทั้งสองต้องใช้เวลาปรับเปลี่ยนสถาบันและกฎหมายของตนจนเป็นที่ยอมรับของสังคมประชาธิปไตย
ที่ใช้ระบบตลาดเสรีเป็นแนวบริหารจัดการเศรษฐกิจจึงเข้าเป็นสมาชิกของตลาดร่วมยุโรปได้
เหตุการณ์ที่เห็นอยู่ชี้บ่งว่า แม้จะเข้าเป็นสมาชิกของประเทศที่เรียกกันว่าพัฒนาแล้ว
แต่หากยังไม่ระวังเรื่องการบริหารจัดการเศรษฐกิจให้รัดกุมจริงๆ
สิ่งที่เกิดขึ้นอาจเป็นหน้าผาที่จะพาสังคมไปตายได้ไม่ยาก
      
สหรัฐอเมริกาต่างกับสหภาพยุโรปในแง่ที่มีรัฐบาลกลางอันแข็งแกร่ง
ส่วนสหภาพยุโรปมีสมาชิกที่มีรัฐบาลเป็นของตนเองถึง 27 ประเทศ
นอกจากนั้น รัฐบาลอเมริกันยังเป็นมหาอำนาจที่สามารถพิมพ์เงินดอลลาร์ออกมาใช้ได้มากมาย
โดยที่สังคมโลกทั่วไปยอมรับ นอกจากนั้น ทุกครั้งที่รัฐบาลต้องประสบกับเรื่องเพดานหนี้
รัฐสภาก็ร่วมมือหาทางออก อเมริกาจึงไม่น่าจะตกหน้าผาในรูปของกรีซหรือสเปน
ส่วนการตกหน้าผาการคลังแบบทันทีทันใดก็ไม่น่าจะเกิดขึ้น
ทั้งนี้เพราะเมื่อเข้าตาจนจริงๆ ฝ่ายบริหารและฝ่ายนิติบัญญัติก็จะหาทางออกได้

ดังที่มีตัวอย่างให้ดูเมื่อวันขึ้นปีใหม่ที่ผ่านมา...
      

หันมามองเมืองไทยจากมุมมองของหน้าผาซึ่งจะพากันไปตายหรือไม่จะพบว่า
ไทยไม่มีหน้าผาการคลังแบบอเมริกา ฉะนั้น การเดินไปตกหน้าผาแบบทันทีทันใดจะไม่เกิดขึ้นแน่
แต่ไทยกำลังสร้างหน้าผาเพื่อฆ่าตัวเองในแนวเดียวกับกรีซ

      
จะเห็นว่ารัฐบาลเพิ่มการใช้จ่ายสารพัดอย่างเพื่อสร้างความนิยมให้แก่ตัวเอง
แต่แทนที่จะเก็บภาษีเพิ่มเพื่อหาเงินมาสนับสนุนการใช้จ่ายพร้อมกันไปด้วย
รัฐบาลกลับพยายามลดภาษี ตัวอย่างที่เห็นได้ง่ายๆ ได้แก่
การลดอัตราภาษีเงินได้และการให้คืนภาษีแก่ผู้ที่ซื้อรถยนต์คันแรก
การทำเช่นนั้นย่อมนำไปสู่การขาดดุลงบประมาณเพิ่มขึ้น รัฐบาลปิดงบประมาณด้วยการกู้หนี้ยืมสิน
แต่รัฐบาลไทยไม่สามารถพิมพ์เงินบาทออกมาใช้ได้เช่นรัฐบาลอเมริกันพิมพ์เงินดอลลาร์
ฉะนั้น ในวันหนึ่งข้างหน้ารัฐบาลไทยก็จะไม่สามารถหากู้ยืมเพิ่มอีกได้
และในวันนั้นก็จะต้องคลานไปหาไอเอ็มเอฟซึ่งเป็นการล้มละลาย
หรือตกหน้าผาฆ่าตัวตายในแนวเดียวกับกรีซ
แน่ละ ผู้คลานไปหาไอเอ็มเอฟจะไม่ใช่ผู้บริหารบ้านเมืองชุดปัจจุบัน
ซึ่งเชี่ยวชาญในด้านการตีกรรเชียงหลบเลี่ยงปัญหา
แต่จะเป็นพรรคฝ่ายค้านเช่นเดียวกันกับเมื่อปี 2540

***