29 กันยายน 2555

QE3 กับการปล้นครั้งใหม่!!!

เช้าวันเสาร์ขณะฝนตกโปรยปราย อากาศเริ่มจะหนาวและน่านอนซุกใต้ผ้าห่มบนเตียงนุ่มๆ
ช่วงเสาร์-อาทิตย์ ตั้งใจว่าจะหาบทความดีๆ มีคุณภาพ และให้แง่คิดมาลงบล็อกนี้บ้าง
เพราะการเทรดโดยใช้อินดิเคเตอร์เพียวๆ คงไม่น่าโสภาแฮปปี้เท่าไหร่นัก
บางทีก็ต้องมองไปข้างหน้า จินตนาการไปสู่อนาคตกันบ้าง

***

QE3 กับการปล้นครั้งใหม่!!!
โดย...ท่านขุนน้อย จากไทยโพสต์

เพื่อแก้เบื่อ แก้เอือมกับความชุลมุนวุ่นวายภายในเข่งไก่...
เห็นทีจะต้องหันไปพูดถึงเรื่องมาตรการ QE3 ของคุณพ่ออเมริกาน่าจะเหมาะกว่า
เพราะถึงแม้จะเป็นเรื่องไกลตา แต่ก็ใกล้ตีนมิใช่น้อย พูดง่ายๆ ว่า...
การที่คุณพ่ออเมริกาท่านมุ่งที่จะปั๊มเงินดอลลาร์ออกมาสู่ตลาดคราวแล้วคราวเล่า
ชนิดแทบจะท่วมโลกทั้งโลกไปแล้วก็ว่าได้
สุดท้ายแล้ว...มาตรการเหล่านี้ย่อมต้องส่งผลกระทบต่อประเทศไทยแลนด์แดนสยามของหมู่เฮา
ไม่ว่าทางใดก็ทางหนึ่งอย่างมิอาจหลีกเลี่ยงได้แน่ๆ...

ถ้าไล่มาตั้งแต่ครั้ง QE1 หรือครั้งแรกที่ธนาคารกลางของสหรัฐ (เฟด) ได้งัดเอาสิ่งที่เรียกว่า
มาตรการผ่อนคลายในเชิงปริมาณ (Quantitative Easing) มาใช้เป็นตัวแก้ปัญหาเศรษฐกิจอเมริกา
ที่ไม่ว่าภาครัฐหรือภาคเอกชนต่างล้วนแต่มีหนี้สินอีนุงตุงนัง
ชนิดอาจต้องใช้เวลาอีกไม่รู้กี่ศตวรรษต่อกี่ศตวรรษถึงจะใช้หนี้ได้หมด
ในครั้งนั้นคุณพ่ออเมริกาท่านได้ปั๊มเงินดอลลาร์สดๆ ออกมา
โดยไม่ต้องใช้สินทรัพย์ใดๆ ค้ำประกันการันตี เป็นจำนวนถึง 1.7 ล้านล้านดอลลาร์เข้าไปแล้ว
มาถึง QE2 ก็กดก็ปั๊มกันเข้าไปอีกถึง 6 แสนล้านดอลลาร์
ส่วน QE3 ที่โผล่ตามมาติดๆ เมื่อวันที่ 13 กันยา.ที่ผ่านมา เที่ยวนี้ว่ากันว่า...
อาจต้องปั๊มเงินออกมาไม่ต่ำกว่าเดือนละ 80,000-100,000 ล้านดอลลาร์
นับจากต้นปีหน้าไปยันถึงปี ค.ศ.2015 หรือต่อเนื่องกันไปตลอด 5-6 ปี
ที่ถ้าหากนับรวมๆ กันแล้ว น่าจะไม่ต่ำไปกว่า 2 ล้านล้านดอลลาร์เป็นอย่างน้อย...

ส่วนมาตรการเหล่านี้มันจะช่วยแก้ปัญหาเศรษฐกิจอเมริกา
ช่วยในการกระตุ้นเศรษฐกิจ ช่วยลดอัตราการว่างงานให้ลดๆ ลงไปได้บ้าง หรือไม่ อย่างไร 
อันนั้นคงต้องปล่อยให้เป็นเรื่อง...ของมึง (ขอประทานโทษ...ของท่าน)
ซึ่งในทุกวันนี้ก็ยังคงมีการเถียงกันไม่หยุด ไม่ว่าในหมู่ผู้รู้ ผู้เชี่ยวชาญด้านเศรษฐกิจนอกอเมริกา
หรือในอเมริกาเอง กระทั่งในแวดวงธนาคารกลางของสหรัฐด้วยกัน 
เห็นข่าวแวบๆ ว่าประธานธนาคารกลางสหรัฐสาขาฟิลาเดลเฟีย
ถึงกับออกมายำมาตรการเหล่านี้ชนิดเละตุ้มเป๊ะ
เล่นเอาแมลงเม่า แมงกระชอน ในตลาดหุ้นทั่วโลกหวาดหวั่น ขวัญผวากันชนิดปีกร่วง ปีกหลุด
ดัชนีหุ้นดาวโจนส์ นิกเกอิ ฮั่งเส็ง ร่วงกันไปไม่รู้กี่จุดต่อกี่จุด
กว่าจะหายตื่นเต้น ตื่นตูม ก็ต้องปลุกปลอบขวัญกันไปมิใช่น้อย...
ภาพจาก www.churchstate.us

แต่สิ่งที่น่าคิดน่าสนใจยิ่งไปกว่านั้นก็คือว่า...
การปั๊มเงินดอลลาร์สดๆ ออกมาระลอกแล้วระลอกเล่าเช่นนี้
แม้ว่าจะอ้างว่าเพื่อเอาไปซื้อตราสารพันธบัตร และสินทรัพย์ที่ด้อยคุณภาพ
อันจะเป็นการช่วยเพิ่มความแข็งแรงให้กับระบบเศรษฐกิจของอเมริกา
หรือเป็นการกระตุ้นเศรษฐกิจ กระตุ้นการลงทุน และเพิ่มการจ้างงานไปในตัว
แต่เอาเข้าจริงๆ แล้ว ดูเหมือนว่าเงินเหล่านี้มันจะไม่ได้ไหลเข้าไปสู่ระบบเศรษฐกิจภายในอเมริกา
ไปช่วยหล่อเลี้ยงเส้นเลือดของบรรดาอเมริกันชน โดยเฉพาะประเภทปุถุชนคนธรรมดา

หรือคนยากคนจนซักเท่าไหร่นัก หรือไม่ได้ก่อให้เกิดการลงทุนการจ้างงานในสังคมอเมริกันอะไรกันมากมาย 
แต่มันกลับจะทะลักออกมานอกอเมริกา หรือกลับไหลทะลักออกมาท่วมโลกทั้งโลกซะเป็นหลักใหญ่...

อันเป็นไปตามธรรมชาติของเงินตรานั่นเอง...คือที่ไหนที่มันมีผลประโยชน์ มีกำไร
เงินมันมักจะต้องไหลไปที่นั่นตามคุณลักษณะทางธรรมชาติของมัน
ในเมื่อแหล่งผลิต หรือฐานการลงทุนโดยส่วนใหญ่มันย้ายออกมาอยู่ในเอเชีย
หรือในประเทศเศรษฐกิจใหม่กันแทบจะหมดแล้ว
ไม่ว่าคุณพ่ออเมริกาท่านจะปั๊มเงินดอลลาร์ออกมาซักเท่าไหร่
เงินเหล่านั้นมันก็จะติดปีกออกไปหา "กำไร" จากแหล่งผลประโยชน์ต่างๆ นานาในทั่วทุกซีกโลก
และโดยธรรมชาติของเงินตราอีกนั่นแหละ ที่ทำให้มันคงไม่ได้คิดจะหากำไรจากการลงทุนในแบบปกติธรรมดา
แบบมีจริยธรรม มีธรรมาภิบาล อย่างที่เพ้อๆ กันไป
หรืออย่างที่พวกชอบมั่วๆ อยู่กับเรื่องเงินๆ ทองๆ ในตลาดหุ้นบ้านเราเคยพูดๆ เอาไว้นั่นแหละว่า
"อย่าอุ้มพระเข้ามาในตลาดหุ้น"
การไหลทะลักของเงินดอลลาร์ออกไปท่วมโลกทั้งโลก
มันจึงมักก่อให้เกิดการแสวงหาประโยชน์ หรือการลงทุนในแบบที่เรียกว่า การเก็งกำไร
ไม่ว่าจะเป็นการเก็งกำไรในอสังหาริมทรัพย์ ในตลาดหุ้น 
หรือแม้กระทั่งในอัตราแลกเปลี่ยนเงินตราของแต่ละประเทศ
ที่เงินดอลลาร์อเมริกัน มันจะหลากไหลเข้ามาไม่ต่างไปจากน้ำป่าไหลหลาก 
หรือน้ำท้น น้ำเอ่อ น้ำแฉะ น้ำขังก็แล้วแต่จะเรียก...
                   
อย่างที่ศาสตราจารย์ ไมเคิล ฮัดสัน แห่งมหาวิทยาลัยมิสซูรี อดีตนักเศรษฐศาสตร์วอลสตรีท
ท่านเคยได้ตั้งข้อสังเกตเอาไว้ตั้งแต่ครั้ง QE1 แล้วว่า 
ในขณะที่อัตราดอกเบี้ยเงินกู้ในอเมริกาต่ำเตี้ยเพียงแค่ระดับ 1 เปอร์เซ็นต์เท่านั้น
ถ้าหากพวกบ้าเงินบ้าทองรายใด ใช้เงินลงทุนเพียงแค่ 1 ล้านดอลลาร์

แล้วไปกู้เงินจากธนาคารอเมริกันที่ต่างได้รับการอุ้ชู อัดฉีด 
จากมาตรการดังกล่าวมาอีกซัก 99 ล้านดอลลาร์ รวมเป็น 100 ล้านดอลลาร์ 
แล้วเอาเงินที่ว่าไปซื้อเงินหยวน หรือเงินเหรินหมินปี้ของจีนเอาไว้ซักพัก
และเมื่อไหร่ที่สหรั
ฯ สามารถกดดันจีนให้ต้องขึ้นค่าเงินหยวน
ให้เพิ่มขึ้นไปอีก 20 เปอร์เซ็นต์ตามเป้าหมายที่เคยป่าวประกาศมาโดยตลอด
เงิน 100 ล้านดอลลาร์ของพวกบ้าเงินบ้าทองรายนั้น ก็จะกลายเป็นเงิน 120 ล้านดอลลาร์ไปโดยทันที
หรือ แค่ลง
ทุ1 ล้านเท่านั้น ได้กำไรเพิ่มขึ้นมาถึง 20 ล้านดอลลาร์ 
หรือกำไรถึง 200 เปอร์เซ็นต์เหนาะ...
               
ในทัศนะของศาสตราจารย์ด้านเศรษฐศาสตร์รายนี้...มาตรการ QE ของสหรัฐจึงถูกสรุปเอาไว้ว่า
ไม่ต่างอะไรไปจาก การปล้น เราดีๆ นี่เอง ด้วยเหตุนี้...
ในแต่ละครั้งที่ธนาคารกลางสหรัฐงัดเอามาตรการดังกล่าวออกมาใช้ชนิดคราวแล้วคราวเล่า
บรรดาประเทศต่างๆ จึงต้องระวังกระเป๋าของตัวเองเอาไว้ให้ดี ไม่ใช่อ้าขา ผวาปีก
หมกมุ่น มัวเมาอยู่กับการขึ้นๆ ลงๆ ในตลาดหุ้นโดยไม่ได้คิดหน้า คิดหลัง คิดถึงประเทศตัวเอง 

สังคมตัวเองเอาไว้เลย เพราะไม่ว่าประเทศยักษ์ใหญ่ หรือยักษ์ใหม่ อย่างอินเดีย 
หรือแม้กระทั่งจีน ยังเคยต้องโหยหวน ครวญคราง กับมาตรการเหล่านี้มาโดยตลอด 
ต้องหาทางทำให้เงินสกุลของตัวเองไม่แข็งค่าจนเกินไป ต้องควบคุมปริมาณเงินไหลเข้า 
ต้องหาทางยับยั้งฟองสบู่จากการเก็งกำไรในธุรกิจอสังหาริมทรัพย์
ต้องพยายามรักษาความสมดุลระหว่างอัตราดอกเบี้ยกับภาวะเงินเฟ้อเอาไว้ให้ดี


แม้แต่ประเทศไทยแลนด์แดนสยามของหมู่เฮาก็เถอะ
ขณะที่อัตราดอกเบี้ยพันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทยให้ผลตอบแทนระดับ 3 เปอร์เซ็นต์
แต่พันธบัตรสหรัฐระยะ 2 ปีให้ผลตอบแทนเพียงแค่ 0.25 เปอร์เซ็นต์เท่านั้น
กระทั่งระยะ 10 ปี ยังให้แค่ 1.8  เปอร์เซ็นต์
โอกาสที่เงินดอลลาร์มันจะไหลทะลักเข้ามาฟันส่วนต่างกำไรกันแบบจะจะ 
เห็น ย่อมเป็นอะไรที่มิอาจหลีกเลี่ยงได้เลย
เฉพาะการปล้นคราวที่แล้วช่วงวิก
ติต้มยำกุ้งก็ฉิบหายกันไปแทบทั้งประเทศ
ครั้งนี้...ก็พึงระวังเอาไว้ให้ดีเถิด โดยเฉพาะ
ผู้ที่ถนัดในการใช้จ่ายแบบอีลุ่ฉุยแฉกซะจนเคย
ขนาด
QE3 ยังไม่ทันออกทธิ์ก็ดันออกอาการ ถังแตก ซะแว้ว!!!
         

 ปิดท้ายด้วยวาทะวันนี้ จาก โสเครติส...
“ผู้ที่มีความพอใจต่อสิ่งเล็กๆ น้อยๆ ที่ตัวเองมีอยู่ คือผู้ที่ร่ำรวยที่สุด 
เพราะความสันโดษ (ความพอเพียง) คือทรัพย์ของธรรมชาติ...”

เครดิตจาก : อิสรภาพแห่งความคิด thaipost

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น