31 สิงหาคม 2555

3 ทุ่มคืนนี้ QE3 จะมีหรือไม่?

วันนี้เป็นวันศุกร์ นักเทรดบางคนก็กล่าวว่าเป็นวันศุกร์อาถรรพ์ เพราะเอาแน่เอานอนกับราคาไม่ได้
ซึ่งศุกร์นี้คงเป็นอีกวันที่ตลาดเงินฟอเร็กซ์ ราคาอาจแกว่งตัวผันผวนในช่วงที่ประธานเฟดแสดงสุนทรพจน์
ยิ่งถ้าไม่มีการส่งสัญญาณเรื่องการออกมาตรการผ่อนคลายทางการเงินที่ชัดเจน
อาจเห็นแท่งเทียนมีการแด๊นซ์แกว่งก่อนจะไปทิศทางใดทางหนึ่ง

ปัจจัยจากปัญหาหนี้ยุโรปและข้อมูลทางเศรษฐกิจที่อ่อนแอจากฝั่งยุโรป ทั้งการว่างงานเยอรมันที่สูงขึ้น
และดัชนีความเชื่อมั่นทางเศรษฐกิจของผู้บริหารและผู้บริโภคในยูโรโซนเดือนส.ค. ที่ร่วงลงมาอยู่ที่ระดับ 86.1
ซึ่งลดลงจากเดือนก่อนหน้าที่ 87.9 และยังต่ำสุดนับตั้งแต่ส.ค. ปี 2552 
ประกอบกับคาดการณ์ของตลาดที่มองว่าโอกาสเกิด QE3 อาจลดลง
เนื่องด้วย FED อาจจะรอความชัดเจนของการดำเนินมาตรการของ ECB ในวันที่ 6 กันยายนก่อนก็ได้
ประกอบกับอาจจะรอพิจารณาตัวเลขด้านการจ้างงานนอน-ฟาร์มที่จะรายงานในวันที่ 7 กันยายนนี้ด้วย
จึงทำให้ตลาดทุนทั่วโลกยังอยู่ในภาวะถูกขายทำกำไร

ขณะที่ก็ยังไม่มีท่าทีใดๆ จากเฟดก่อนการประชุมเจ้าหน้าที่ธนาคารกลางทั่วโลกที่ Jackson Hole ในค่ำคืนนี้
ทำให้นักลงทุนเริ่มคาดว่านายเบน เบอร์นันเก้ ประธานธนาคารกลางสหรัฐ 
อาจจะไม่ส่งสัญญาณเกี่ยวกับมาตรการกระตุ้นเศรษกิจเพิ่มเติมในคืนวันนี้ เวลา 21.00 น. ตามเวลาประเทศไทย
โดยเฉพาะตัวเลขเศรษฐกิจของสหรัฐฯ ในช่วงหลังก็ถือว่าไม่ได้อ่อนแอลงจนน่าเป็นห่วง
ซึ่งล่าสุดตัวเลขการใช้จ่ายของผู้บริโภคสหรัฐฯ ยังเพิ่มขึ้นมากสุดในรอบ 5 เดือน
ขณะที่จำนวนผู้ขอรับสวัสดิการว่างงานรายสัปดาห์หรือ Unemployment Claims ก็ยังทรงตัวจากสัปดาห์ก่อน
คาดว่าหลังจากนี้นักลงทุนจะเลือกพุ่งความสนใจไปที่การประชุมอีซีบีในสัปดาห์หน้าแทน

อีกทั้งนักลงทุนต่างรับรู้ความเสี่ยงจากการประชุมของกลุ่มธนาคารต่างๆ ทั่วโลกที่แจ็คสัน โฮล
ซึ่งเริ่มต้นขึ้นเมื่อวานนี้โดยเหล่าผู้ปกครองผู้บริหารธนาคารกลางต่างๆ ได้มารวมตัวกันในรัฐไวโอมิ่ง
เพื่อการประชุมครั้งนี้เป็นเวลา 3 วัน ในการแชร์มุมมองความคิดในเรื่องเศรษฐกิจโลก
และช่วยกันหาหนทางการตอบสนองที่ดีที่สุดร่วมกัน


Ben Bernanke

ในอดีตเมื่อปี 2010 นายเบน เบอร์นันเก้ 
ได้ใช้การแถลงการณ์จากที่ประชุมแจ็คสัน โฮล นี้เช่นกันในการส่งสัญญาณการออกมาตรการ QE2

เมื่อวานนี้อิตาลีสามารถประมูลขายพันธบัตรครั้งแรกในเดือนนี้ได้ทั้งสิ้นมูลค่า 7.29 พันล้านยูโร
ซึ่งมีอัตราผลตอบแทนระดับต่ำกว่า 6% โดยความสำเร็จในการประมูลพันธบัตรของอิตาลีนั้น
ชี้ให้เห็นถึงความเชื่อมั่นของนักลงทุนที่ว่าอีซีบีจะดำเนินการตามคำพูดที่ได้ให้ไว้
และสามารถใช้มาตรการต่างๆ เพื่อเปลี่ยนวิถีทางของวิกฤตหนี้ในภูมิภาค

ทางด้านนายมาเรียโน ราฮอย นายกรัฐมนตรีของสเปนได้กล่าวย้ำ
หลังจากการประชุมกับนายฟรังซัวร์ ออลลองด์ ประธานาธิบดีฝรั่งเศสว่า
เขากำลังรอฟังรายละเอียดเพิ่มเติมเกี่ยวกับแผนการช่วยเหลือ
ก่อนการตัดสินใจว่าสเปนจะรับความช่วยเหลือจากยุโรปหรือไม่
และเขาอาจไม่รับการช่วยเหลือเพิ่มเติมหากแผนของอีซีบีไม่มีความชัดเจน

มูดี้ส์ อินเวสเตอร์ เซอร์วิส ระบุในรายงานฉบับใหม่ว่า
ความเสี่ยงช่วงขาลงที่จะส่งผลกระทบต่อการฟื้นตัวของเศรษฐกิจทั่วโลกในปี 2555 - 2556 นั้นมีมากขึ้น
ขณะที่การขยายตัวของเศรษฐกิจเกิดใหม่ก็จะชะลอตัวลงกว่าที่ได้มีการคาดการณ์ไว้
โดยมูดี้ส์ยังระบุอีกว่า ความเสี่ยงหลักๆ ที่จะส่งผลกระทบต่อแนวโน้มของเศรษฐกิจโลกได้แก่
ภาวะถดถอยมากกว่าที่ได้มีการคาดการณ์ไว้ในยูโรโซน
ความเสี่ยงของภาวะฮาร์ด แลนด์ดิ้งในประเทศเศรษฐกิจเกิดใหม่ที่สำคัญๆ เช่น จีน อินเดีย และบราซิล

ตัวเลขเศรษฐกิจวันนี้คงไม่สำคัญเท่ากับ
21:00 Fed Chairman Bernanke Speaks

.






30 สิงหาคม 2555

ข่าวฟอเร็กซ์ 30 ส.ค.

ความหวังของนักลงทุนต่อประธานเฟดที่จะประกาศมาตรการ QE3 เริ่มลดลง
เนื่องจากตัวเลขเศรษฐกิจของสหรัฐฯ นั้นยังเติบโตในระดับปานกลาง

โดยความสนใจทั้งหลายทั้งปวงยังจดจ่ออยู่ที่การแถลงสุนทรพจน์ของนายเบน เบอร์นันเก้
ประธานธนาคารกลางสหรัฐฯ (เฟด) ที่เมืองแจ๊คสัน โฮล รัฐไวโอมิ่ง ในวันศุกร์นี้
ซึ่งอาจมีการส่งสัญญาณเกี่ยวกับการดำเนินมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจในอนาคต

นายเบน เบอร์นันเก้ ประธานธนาคารกลางสหรัฐฯ (เฟด)

ขณะเมื่อวาน ตัวเลข GDP ไตรมาส 2 ของสหรัฐฯ
ที่ประกาศออกมาขยายตัวตามคาดที่ 1.7% จากระดับ 1.5% ครั้งก่อน
โดยเพิ่มขึ้นจากที่คาดการณ์ไว้ครั้งแรกเมื่อเดือนที่แล้ว
ซึ่งปัจจัยที่ทำให้จีดีพีไตรมาส 2 ดีกว่าการประมาณการเบื้องต้นคือยอดส่งออกที่ดีเกินคาด ยอดนำเข้าที่ลดลง
รวมถึงการบริโภคส่วนบุคคลที่แข็งแกร่ง ทว่าการใช้จ่ายภาครัฐก็ยังคงเป็นตัวฉุดรั้งจีดีพี
แต่ไม่มากเท่ากับที่คาดการณ์ในเบื้องต้นขณะที่การใช้จ่ายภาคธุรกิจก็ลดลง
นอกจากนี้ตัวเลขยอดขายบ้านที่รอปิดการขายก็ออกมาดีกว่าที่ตลาดคาดการณ์
โดย Pending Home Sales เพิ่มขึ้น 2.4% ในเดือน ก.ค. เมื่อเทียบกับเดือน มิ.ย.
สู่ระดับ 101.7 ซึ่งสูงกว่าคาดการณ์ และสูงสุดนับตั้งแต่เดือน เม.ย. 2553
นับเป็นสัญญาณล่าสุดที่บ่งชี้ว่าตลาดอสังหาริมทรัพย์สหรัฐฯ แข็งแกร่งขึ้น
ส่วนรายงานสรุปภาวะเศรษฐกิจหรือ Beige Book ที่ระบุว่า
เศรษฐกิจสหรัฐฯ ยังคง “ขยายตัวอย่างค่อยเป็นค่อยไป
ทั่วภูมิภาคและภาคธุรกิจส่วนใหญ่ในเดือนกรกฎาคมและต้นเดือนสิงหาคม
แต่แนวโน้มการฟื้นตัวในภาคค้าปลีกและภาคการผลิตยังไม่มีความชัดเจน
ตัวเลขเศรษฐกิจที่ประกาศออกมาล่าสุดเหล่านี้ได้ส่งผลให้นักลงทุนลังเลที่จะเพิ่มการลงทุนในสินทรัพย์เสี่ยง
เพราะตัวเลขเศรษฐกิจอยู่ในภาวะที่ยากแก่การตีความ เพราะออกมาไม่ดี คนก็กลัวๆ ลังเล
แต่ถ้าออกมาดี ก็มองได้ว่าอาจจะไม่มีมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจรอบใหม่

ทั้งนี้ สัปดาห์หน้านักลงทุนจะเปลี่ยนความสนใจไปยังฝั่งยุโรป ก่อนหน้าการประชุม ECB ในวันที่ 6 ก.ย.
ขณะด้านข่าวสารในยุโรปที่น่าสนใจติดตาม คือ
• นายกรัฐมนตรีเยอรมัน ยังคงคัดค้านแนวคิดที่จะให้ใบอนุญาตธนาคารพาณิชย์กับกองทุนช่วยเหลือ ESM 
ซึ่งหากกองทุนดังกล่าวไม่สามารถแปลงสภาพเป็นธนาคารได้
ก็จะมีเงินทุนจำกัดในการซื้อพันธบัตรรัฐบาลและเพิ่มทุนให้กับธนาคาร
• รัฐบาลสเปนจะประกาศแผนตั้ง Bad Bank ในวันศุกร์
ซึ่งจะเป็นหน่วยงานที่เข้ามาบริหารจัดการหนี้เสียของธนาคารสเปน
เพื่อเป็นการปูทางสำหรับแผนการช่วยเหลือของสหภาพยุโรปต่อไป
และเป็นหนึ่งในเงื่อนไขที่ต้องทำเพื่อให้ได้เงินช่วยเหลือภาคธนาคารมูลค่า 1 แสนล้านยูโร

ทำให้ตลาดยุโรปได้รับแรงลบ ประกอบกับความกลัวของนักลงทุนเกี่ยวกับแนวทางการใช้ ESM
หรือมาตรการช่วยเหลืออื่นๆ ที่ปัจจุบันดูเหมือนว่ายังไม่ได้มีข้อสรุปร่วมกันระหว่างผู้เกี่ยวข้อง
ไม่ว่าจะเป็นท่าทีของนายมาริโอ้ ดรากี ประธานธนาคารกลางยุโรป (ECB) ที่ดูอ่อนลงเล็กน้อย
กับเรื่องรวมยุโรปจากบทความที่ตีพิมพ์ในสื่อของเยอรมนี ซึ่งแสดงความคิดเห็นว่า
อีซีบีจะต้องใช้มาตรการพิเศษในเวลาที่เหมาะสม เพื่อทำให้มั่นใจว่านโยบายการเงินมีประสิทธิภาพ
โดยธนาคารก็จะต้องปฏิบัติตามอำนาจที่มีอยู่ เพื่อสร้างเสถียรภาพด้านราคา
ซึ่งบางครั้งก็ต้องใช้มาตรการอื่นๆ นอกเหนือจากเครื่องมือด้านนโยบายการเงินทั่วไปที่มีอยู่
โดยเฉพาะเมื่อตลาดการเงินกำลังแยกเป็นส่วนๆ หรือได้รับผลกระทบจากความกลัวที่ไร้เหตุผล
ตอนนี้ อีซีบีกำลังร่างแผนซื้อพันธบัตรใหม่ เพื่อกดต้นทุนการกู้ของประเทศที่มีปัญหา เช่น สเปนและอิตาลี
ซึ่งนายดรากีคาดว่า จะมีการเปิดเผยรายละเอียดเกี่ยวกับเรื่องนี้ออกมาหลังการประชุมอีซีบีในวันที่ 6 ก.ย.
โดยที่ผ่านมา ธนาคารกลางเยอรมนีก็ได้คัดค้านแผนดังกล่าวมาตลอด
ล้วนแสดงให้เห็นว่าปัญหาหนี้สินยุโรปอาจยืดเยื้อต่อไปอีก ส่งผลลบต่อบรรยากาศการลงทุนทั่วโลก

ตัวเลขเศรษฐกิจที่สำคัญในวันนี้
• เวลา 14.55 น. ตัวเลขอัตราว่างงานของเยอรมนี (German Unemployment Change)
• เวลา 19.30 น. ตัวเลขผู้ขอรับสวัสดิการผู้ว่างงานของสหรัฐฯ (Unemployment Claims)
• เวลา 19.30 น. ดัชนีราคา​การ​ใช้จ่าย​เพื่อ​การบริ​โภคส่วนบุคคลพื้นฐาน (Core PCE Price Index)
• เวลา 19.30 น. ตัวเลขการใช้จ่ายส่วนบุคคล (Personal Spending)
• วันแรกของการประชุมเศรษฐกิจนานาชาติ (Jackson Hole Symposium)

.

29 สิงหาคม 2555

ข่าวฟอเร็กซ์ 29 ส.ค.

เมื่อเอ่ยถึง "นักลงทุน" ในข่าวเศรษฐกิจ การเงิน หรือตลาดหุ้น ตลาดทอง และตลาดเงินแล้ว
นักลงทุนในที่นี้หมายถึงใครกัน เพราะคำคำนี้มักปรากฏในข่าวเสมอ และเห็นบ่อย
จะเป็นนักลงทุนรายเล็ก รายย่อย หรือนักลงทุนรายใหญ่ หรือสถาบันการเงิน หรือกองทุนต่างๆ
หรือหมายถึงบุคคลทั่วๆ ไปที่ชอบการลงทุน ก็ต้องจำกัดความกันเอาเอง

ล่าสุด นักลงทุน (อีกแล้ว) ยังคงอาศัยรายงานตัวเลขเศรษฐกิจและเหตุการณ์ต่างๆ
เป็นข้ออ้างในการเข้าเก็งกำไรเกี่ยวกับมาตรการอัดฉีดเพิ่มเติมของเฟด
โดยปัจจุบันได้มุ่งประเด็นไปที่การกล่าวสุนทรพจน์ของนายเบอร์นันเก้อย่างพร้อมเพรียง

เมื่อวาน (วันอังคาร) สกุลเงินยูโรแข็งค่าเทียบดอลลาร์ ขณะตลาดรอ "ประธานเฟด" แถลงในศุกร์นี้
โดยยูโรทะยานดีดขึ้นเมื่อเทียบกับดอลลาร์เป็นครั้งแรกในรอบ 3 วัน
ซึ่งได้แรงหนุนจากความหวังเกี่ยวกับการซื้อพันธบัตรโดยธนาคารกลางยุโรป (ECB) เพื่อควบคุมวิกฤติหนี้
และการคาดการณ์เกี่ยวกับการผ่อนคลายนโยบายของธนาคารกลางสหรัฐ (FED)

โดยเมื่อวาน ข่าวในยุโรปส่วนใหญ่ออกมาบวก
ทั้งการประมูลพันธบัตรของสเปนและอิตาลีวานนี้ก็ได้ผลตอบรับในด้านบวก
ทั้งนี้ กระทรวงการคลังของสเปนประมูลขายตั๋วเงินคลังอายุ 3 และ 6 เดือน ได้รวมกัน 3.6 พันล้านยูโร
ซึ่งสูงกว่าเป้าหมายสูงสุดที่ระดับ 3.5 พันล้านยูโร โดยที่อัตราผลตอบแทนตั๋วเงินคลังลดลง
ทว่าตัวเลขเศรษฐกิจสเปนก็ยังอ่อนแอ
ทั้งมีความกังวลว่าแคว้นคาตาลัญจะขอความช่วยเหลือจากรัฐบาลกลางสเปน

ด้านแนวโน้มตัวเลขเศรษฐกิจของสหรัฐฯ เมื่อคืนนี้ค่อนข้างไร้ทิศทาง
โดยดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภคเดือน ส.ค. ลดสู่ระดับต่ำสุดในรอบ 9 เดือน
ขณะที่ตัวเลขราคาบ้านเพิ่มขึ้นเกินคาดในเดือน มิ.ย.
ทำให้ไม่ได้ช่วยหนุนแนวคิดเกี่ยวกับโอกาสในที่เฟดจะออก QE3 มากนัก
รวมทั้งนักลงทุนยังได้รับแรงกดดันจากความกังวลเรื่องเศรษฐกิจโลกและวิกฤติหนี้ยูโรโซนต่อ
จึงทำให้ตลาดหุ้นสหรัฐฯ และยุโรปยังคงปรับตัวลดลงต่อเนื่อง
(สังเกตตาราง World Market Watch ด้านขวาในบล็อกนี้ดูก็ได้)

โดยนักลงทุนส่วนใหญ่ยังให้ความสนใจไปที่เรื่องเดิมๆ ระหว่างรอการประชุมของ
เหล่ากลุ่มธนาคารกลางและรัฐมนตรีคลังจากทั่วโลกที่แจ็คสัน โฮล รัฐไวโอมิงของสหรัฐฯ ในวันศุกร์และวันเสาร์
ซึ่ง นายเบน เบอร์นันเก้ ประธานเฟด มีกำหนดการกล่าวสุนทรพจน์ในการประชุมครั้งนี้เช่นกัน
โดยเขาได้เคยใช้การประชุมประจำปีนี้ประกาศการใช้มาตรการผ่อนคลายการเงินรอบที่แล้วมาแล้ว
ขณะที่สแตนดาร์ด แบงก์กล่าวในรายงานว่า
"การประชุมที่แจ็คสัน โฮลไม่ใช่สถานที่อภิปรายสำหรับนายเบอร์นันเก้ในการจะประกาศใช้ QE3"
แม้ล่าสุดเริ่มมีความไม่มั่นใจต่อการออกมาตรการใหม่ๆ มากขึ้นก็ตาม
ส่วนประธานอีซีบีจะงดการเข้าร่วมประชุมดังกล่าวเนื่องจากติดภารกิจมากมาย
ทั้งนี้นายดรากี ประธานอีซีบีตัดสินใจไม่เข้าร่วมรายการที่แจ็คสัน โฮลของเฟดโดยให้เหตุผลว่างานยุ่ง
ซึ่งทำให้นักลงทุนเริ่มมีการเก็งกำไรกันว่า
อีซีบีอาจกำลังเตรียมมาตรการช่วยเหลือเพิ่มเติมในการประชุมในสัปดาห์หน้านี้
นับเป็นอีกสัญญาณหนึ่งที่ส่งผลบวกต่อบรรยากาศการลงทุน

- สำนักงานสถิติแห่งชาติสเปน เปิดเผยว่า
ผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศ (จีดีพี) ไตรมาส 2 ปรับตัวลดลง 0.4% จากไตรมาสก่อนหน้า
ซึ่งจีดีพีปรับตัวลง 0.3% บ่งชี้ว่าเศรษฐกิจของสเปนประสบภาวะถดถอยรุนแรงขึ้น


- นายฌอง-มาร์ค เอโรต์ นายกรัฐมนตรีฝรั่งเศส เปิดเผยว่า
รัฐบาลฝรั่งเศสอาจต้องปรับลดคาดการณ์การเติบโตทางเศรษฐกิจสำหรับปี 2556
ซึ่งจะส่งผลให้มีการลดรายจ่ายและปรับเพิ่มภาษีมากขึ้นเพื่อทำให้แผนลดยอดขาดดุลมีความคืบหน้า
โดยตัวเลขคาดการณ์ในปัจจุบันอิงกับการขยายตัวของจีดีพีที่ 1.2% ซึ่งอาจต้องปรับลดลงเล็กน้อย
นักเศรษฐศาสตร์ส่วนใหญ่คาดว่า การขยายตัวของเศรษฐกิจในปี 2556 จะต่ำกว่า 1% อย่างชัดเจน

- นายอดัม โพเซน คณะกรรมาธิการกำหนดนโยบายการเงินของธนาคารกลางอังกฤษ
กล่าวต่อสำนักข่าว CNBC เมื่อวานนี้ว่า
ธนาคารกลางสหรัฐ ธนาคารกลางยุโรป และธนาคารกลางอังกฤษควรประกาศการกระตุ้นเศรษฐกิจในเดือนหน้า
โดยประธานเฟด “อาจมีการประกาศการผ่อนคลายการเงิน” ในการกล่าวสุนทรพจน์ในวันศุกร์นี้
เนื่องจากเฟดได้บ่งชี้ว่ามาตรการ QE3 กำลังใกล้เข้ามา

ตัวเลขเศรษฐกิจที่สำคัญในวันนี้
• เวลา 19.30 น. คาดการณ์ผลผลิตมวลรวมสหรัฐ (Prelim GDP q/q)
• เวลา 21.00 น. ยอดทำสัญญาขายบ้านสหรัฐ (Pending Home Sales).
• เวลา 01.00 น. เปิดเผยรายงานสรุปภาวะเศรษฐกิจ Beige Book

Beige Book


.

28 สิงหาคม 2555

ข่าวฟอเร็กซ์ 28 ส.ค.

^^
ก่อนอื่นต้องขอบใจทุกท่านมากๆ สำหรับการติดตามบล็อกนี้
แม้นบางวันกว่าจะโพสต์บทความใหม่ได้นั้นก็สายโด่ง หรือค่อนไปร่วมบ่ายโมงบ้าง
คือผมทำบล็อกนี้ขึ้นมาโดยไม่ได้หวังผลประโยชน์ส่วนตัวใดๆ 
ไม่มีลิงก์โบรกเกอร์ให้สมัครเพื่อหวังได้ค่าคอมมิชชั่นในฐานะพาร์ทเนอร์
เจตนาก็หวังว่า...ปัจจัยด้านข่าวสารจะพอช่วยให้นักเทรด Forex ชาวไทยมีข้อมูลเพิ่มขึ้น
เผื่อเป็นประโยชน์ต่อการเปิดออเดอร์แต่ละครั้งนอกเหนือจากปัจจัยทางเทคนิค หรืออินดิเคเตอร์
จะได้ไม่เทรดเยี่ยงนักพนันที่กระโจนเข้าสู่บ่อน...หรือเป็นแมงเม่าที่โบยบินเข้ากองไฟร้อนๆ

สกุลเงินดอลลาร์เริ่มแข็งค่าขึ้นทีละเล็กละน้อย ขณะที่เงินเยนเช้านี้ดีดตัวแข็งค่าขึ้นพอควร
ด้วยญี่ปุ่น​ได้ปรับลด​การประ​เมิน​เศรษฐกิจของประ​เทศลง
กอปรกับนักลงทุนหันไปเก็งกำไรค่าเงินเยนกันก่อน เพื่อรอดูท่าทีของเฟดและอีซีบี


ส่วนแนวโน้มตลาดหุ้นในประเทศต่างๆ นั้นก็เริ่มมีลักษณะแกว่งตัวผันผวน
โดยมูลค่าการซื้อขายก็บางเบาลง เนื่องจากนักลงทุนส่วนใหญ่ได้ชะลอการซื้อขายก่อน
ซึ่งปัจจัยหลักที่นักลงทุนต่างให้ความสนใจในระยะสั้นสัปดาห์นี้
คงไม่พ้นการรอคำแถลงสุนทรพจน์ประธานเฟดที่เมืองแจ็คสัน โฮล รัฐไวโอมิง ในวันศุกร์ที่ 31 ส.ค.นี้
ว่านายเบน เบอร์นันเก้ จะมีการส่งสัญญาณเกี่ยวกับมาตรการเพิ่มเติม (QE3) หรือไม่
ด้านผู้กำหนดนโยบายสหรัฐฯ ยังออกมาให้ความเห็นต่อ QE3 อย่างต่อเนื่อง
โดยผู้ว่าเฟดสาขาชิคาโก ยังแข็งขันที่จะเชียร์ QE3 เช่นเดิม (แต่ไม่มีสิทธิ์ออกเสียงในปีนี้)
ส่วนผู้ว่าเฟดสาขาคลีฟแลนด์ ก็กล่าวเชียร์นโยบายการเงินผ่อนคลายเพิ่ม แต่ไม่จำเป็นต้องออก QE3
โดยกล่าวว่าจะสนับสนุนนโยบายที่เป็นประโยชน์ต่อเศรษฐกิจและต้องบริหารจัดการความเสี่ยงได้

เมื่อโฟกัสไปที่ตลาดหุ้นในยุโรปพบว่าปิดบวกได้ค่อนข้างดี
สืบเนื่องจากระดับความเชื่อมั่นของนักลงทุนต่อการออกนโยบายของ ECB นั้นสูงกว่าของ FED
โดยนักลงทุนจะค่อนข้างมั่นใจว่าที่ประชุม ECB ในวันที่ 6 ก.ย. นั้น
น่าจะมีการดำเนินการเพิ่มเติมในการที่จะหนุนเศรษฐกิจยุโรปและจัดการกับวิกฤติหนี้ยูโรโซน

เมื่อคืนมีข่าวสำคัญออกมา คือ
นายโวล์ฟกัง ชอยเบิล รัฐมนตรีคลังเยอรมนี ได้ออกมากล่าวภายหลังเสร็จสิ้น
การพบปะหารือกับนายปิแอร์ มอสโควิซี รัฐมนตรีคลังฝรั่งเศส
ว่าทั้งเยอรมันและฝรั่งเศสเตรียมจัดตั้งคณะทำงานขึ้นมาคณะหนึ่ง
เพื่อจะผลักดันความร่วมมือด้านสหภาพธนาคารและสหภาพการคลังให้เดินหน้าได้สะดวก
รวมทั้งเสริมสร้างความแข็งแกร่งให้กับสหภาพการเงินในยุโรปด้วย
โดยทั้งสองประเทศจะจัดทำข้อเสนอร่วมกันในประเด็นต่างๆ และเตรียมดำเนินการตามข้อตกลงที่มีร่วมกับทางกรีซ
อีกทั้งจะประสานงานอย่างใกล้ชิดในเรื่องการเพิ่มทุนให้ภาคธนาคารสเปน
ซึ่งน่าจะเป็นประเด็นบวกที่ช่วยประคองตลาดได้บ้างไปจนถึงต้น ก.ย.

ตัวเลขเศรษฐกิจที่สำคัญในวันนี้
• เวลา 15.00 น. ปริมาณเงินที่หมุนเวียนในระบบเศรษฐกิจยูโร (M3 Money Supply)
เวลา 20.00 น. ดัชนีวัดตลาดที่อยู่อาศัยในสหรัฐฯ โดยการติดตามราคาอสังหาริมทรัพย์ในเมือง 20 เขตเมืองใหญ่ (S&P/CS Composite-20 HPI)
• เวลา 21.00 น. คอนเฟอเรนซ์ บอร์ด เปิดเผยดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภค (CB Consumer Confidence)

** คืนนี้  S&P/CS Composite กับ CB Consumer Confidence 
สองตัวนี้ถ้าตัวเลขออกมาบวก ดอลลาร์จะแข็งค่าขึ้น

.

27 สิงหาคม 2555

ข่าวฟอเร็กซ์ 27 ส.ค.

เมื่อวันศุกร์ ยูโรร่วงลงเมื่อเทียบกับดอลลาร์เป็นครั้งแรกในรอบ 5 วัน
ขณะที่ความไม่แน่ใจเกี่ยวกับแผนการของผู้กำหนดนโยบายในการควบคุมวิกฤติหนี้
ทำให้นักลงทุนลดความต้องการซื้อสกุลเงินยูโรลง

นักลงทุนยังมีความหวังว่าธนาคารกลางยุโรปจะมีมาตรการใหม่ๆ ออกมาในการประชุมวันที่ 6 ก.ย.
หลังมีข่าวว่าช่วงนี้ ECB กำลังอยู่ระหว่างพิจารณากำหนดเป้าหมายในโครงการซื้อพันธบัตรครั้งใหม่
ซึ่งอาจจะช่วยควบคุมต้นทุนการกู้ยืมและป้องกันการลุกลามของวิกฤติหนี้ในยูโรโซนได้บ้าง
นอกจากนี้ยังลุ้นโอกาสที่เฟดจะออกมาตรการกระตุ้นทางการเงินเพิ่มเติมเพื่อหนุนเศรษฐกิจ
เนื่องจากนายเบน เบอร์นันเก้ ประธานเฟดได้แสดงความเห็นลักษณะดังกล่าวในจดหมาย
ที่ส่งถึงคณะกรรมการกำกับดูแลของสภาคองเกรส
ก่อนที่ในคืนวันศุกร์นี้ ประธานเฟดจะเข้าร่วมประชุมเศรษฐกิจประจำปีที่เมืองแจ็คสัน โฮล รัฐไวโอมิง
จึงส่งผลให้ตลาดหุ้นเอเชียเช้านี้ยังค่อนข้างสดใส
ขณะที่ตลาดหุ้นสหรัฐฯ และยุโรปเมื่อคืนวันศุกร์ก็สามารถกลับมาปิดเป็นบวกได้อีกครั้ง

สุดสัปดาห์ที่ผ่านมา กรีซยังไม่บรรลุความต้องการที่จะขอผ่อนคลายการปรับลดงบประมาณ
แต่กระแสข่าวที่เยอรมันยังคงต้องการให้กรีซเป็นส่วนหนึ่งของยูโรต่อไป
ซึ่งถือเป็นปัจจัยที่น่าจะลดความกังวลของตลาดไปได้

มีแหล่งข้อมูลของธนาคารกลางระบุว่า ECB กำลังพิจารณาการจัดตั้งเป้าหมายการเข้าซื้อพันธบัตร
เพื่อหลีกเลี่ยงความพยายามจากนักเก็งกำไรเพื่อนำเงินเข้ามาสู่ตลาด
ในขณะที่นายกรัฐมนตรีเยอรมันพยายามที่จะลดแรงกดดันในวิกฤตยูโรโซนเมื่อวันอาทิตย์
หลังจากบุนเดสแบงก์พยายามเปรียบเทียบแผนการเข้าซื้อพันธบัตรของอีซีบีให้เสมือนยาอันตราย


แหล่งข่าวยังกล่าวอีกว่า
รัฐบาลสเปนกำลังเจรจากับประเทศอื่นๆ ในยูโรโซน
เกี่ยวกับเงื่อนไขในการให้ความช่วยเหลือแก่สเปน
เพื่อกดดันต้นทุนการกู้ยืมให้ลดต่ำลง
ทว่าก็ยังไม่ได้ตัดสินใจในขั้นสุดท้ายในการขอความช่วยเหลือจากต่างประเทศ

ทางเลือกที่มีการหารือกันในขณะนี้คือ การให้กองทุนรักษาเสถียรภาพการเงินยุโรป (EFSF)
เข้าซื้อพันธบัตรสเปน ในการเปิดประมูล (หรือในตลาดแรก)
และให้ธนาคารกลางยุโรป (ECB) เข้าแทรกแซงในตลาดรอง
เพื่อกดดันอัตราผลตอบแทนพันธบัตรสเปนให้ลดต่ำลง
ขณะแหล่งข่าวอีกรายหนึ่งกล่าวว่า
ยังไม่มีการหารือกันเกี่ยวกับตัวเลขที่เฉพาะเจาะจงในการให้ความช่วยเหลือครั้งนี้
ซึ่งการหารือดังกล่าวได้เริ่มต้นขึ้นเมื่อ 2-3 สัปดาห์ก่อน

"การเจรจาต่อรองได้เริ่มต้นขึ้นแล้วและกำลังดำเนินต่อไป โดยขณะนี้
ทางเลือกที่เป็นที่ชื่นชอบและได้รับการหารือกันอย่างจริงจัง ก็คือ
การให้อีเอฟเอสเอฟเข้าซื้อพันธบัตรในตลาดแรก และให้อีซีบีเข้าซื้อพันธบัตรในตลาดรอง"

ส่วนแหล่งข่าวรายอื่นๆ ก็แสดงความเห็นในเชิงระมัดระวังสำหรับเรื่องนี้
โดยแหล่งข่าวรายหนึ่งกล่าวว่า ยังไม่มีสิ่งใดที่ชัดเจนในเรื่องการให้ความช่วยเหลือแก่รัฐบาลสเปน
ในขณะที่แหล่งข่าวอีกรายหนึ่งกล่าวว่า ยังไม่มีการหารือกันแต่อย่างใดในขณะนี้

ขณะที่โฆษกของกระทรวงเศรษฐกิจสเปน กล่าวว่า
สเปนไม่ได้ปรับเปลี่ยนจุดยืนไปจากเดิม ซึ่งก็คือ
จะรอจนกว่าคณะกรรมการกำหนดนโยบายของอีซีบี ประชุมกันในวันที่ 6 ก.ย. นี้ก่อน
เพื่อรอดูรายละเอียดว่าอีซีบีวางแผนจะแทรกแซงตลาดอย่างไร
แล้วรัฐบาลสเปนจึงค่อยตัดสินใจว่าจะเคลื่อนไหวต่อไปเช่นไร

สเปนกลายเป็นจุดสนใจสำคัญในวิกฤติหนี้ยูโรโซนที่ดำเนินมานาน 2 ปีครึ่ง
โดยภาคธนาคารของสเปนได้ขอความช่วยเหลือจากยุโรปในวงเงิน 1 แสนล้านยูโร ในเดือนมิ.ย.
และรัฐบาลบางแคว้นของสเปนก็มีหนี้สินสูงมาก
ฉะนั้น อาจจะไม่มีการประกาศเรื่องการให้ความช่วยเหลืออย่างเป็นทางการก่อนวันที่ 12 ก.ย.
แต่ความเคลื่อนไหวในเรื่องนี้ อาจดำเนินไปอย่างรวดเร็วหลังวันดังกล่าวก็ได้

ส่วนปัจจัยที่น่าสนใจเพิ่มในช่วงเดือนกันยายน คือ
• วันที่ 12 ก.ย. ศาลรัฐธรรมนูญเยอรมนีมีกำหนดจะประกาศ
คำวินิจฉัยเกี่ยวกับกองทุนกลไกรักษาเสถียรภาพยุโรป (อีเอสเอ็ม)
ซึ่งถ้าหากศาลยังไม่ตัดสินในเรื่องนี้ รัฐบาลเยอรมนีก็จะไม่สามารถให้สัตยาบันต่อการจัดตั้งอีเอสเอ็มได้
• เนเธอร์แลนด์จะจัดการเลือกตั้งในวันที่ 12 ก.ย.ด้วยเช่นกัน
• รัฐมนตรีคลังของอียูจะประชุมกันที่ไซปรัสในวันที่ 14-15 ก.ย.

ตัวเลขเศรษฐกิจสำคัญในวันนี้
• ดัชนีภาวะเศรษฐกิจเยอรมนี เวลา 15.00 น.

.

26 สิงหาคม 2555

วันสบายๆ

วันอาทิตย์นับเป็นวันสบายๆ วันหนึ่งในรอบสัปดาห์
ได้พักผ่อน ได้ผ่อนคลาย มีเวลาทำกิจวัตรในครอบครัว
ทั้งไม่ต้องวิเคราะห์กราฟเพื่อหาแนวโน้มในการเทรด Forex (บางท่านอาจเตรียมตัวหาทิศทางล่วงหน้าก็มี)
ขณะบางคนอาจออกไปกินข้าวนอกบ้าน หรือจะดูหนังสักเรื่อง
อาจไปช็อปปิ้งกับสาวๆ จากนั้นก็หาร้านนั่งดื่มเหล้าเพื่อฟังเพลงเพราะๆ
หรือจะนัดสังสรรค์กับผองเพื่อน หรือเข้าสวนดูแลต้นไม้ดอกไม้ หรือทำความสะอาดห้องที่รก--

วันอาทิตย์เป็นวันที่ทำอะไรต่อมิอะไรได้หลายอย่าง
บางคนอาจใช้วันนี้เพื่อการนอนชาร์จพลังเตรียมสู้ศึกกับตลาดฟอเร็กซ์ในวันรุ่งขึ้นก็เป็นได้

สัปดาห์หน้า (พรุ่งนี้แล้วสิ) เหล่าแมงเม่าผู้ไม่กลัวไฟทั้งหลาย
ต้องจับตาพัฒนา​การของวิกฤติหนี้ยุ​โรป ​โดย​เฉพาะประ​เด็นที่​เกี่ยวข้องกับส​เปน​และกรีซ
และที่สำคัญที่ตลาด​การ​เงินจับตามอง​ก็คือ การกล่าวสุนทรพจน์ของ นายเบน เบอร์นันเก้ ประธานเฟด
ซึ่งจะแถลงนโยบายที่เมืองแจ็คสัน โฮล รัฐไวโอมิง ในวันศุกร์ที่ 31 ส.ค. นี้
เพื่อประ​เมิน​โอกาสของมาตร​การผ่อนคลายรอบ​ใหม่ของสหรัฐฯ

***

เอาละ... เกือบลืมรายงานผลเทรดของสัปดาห์ที่แล้ว

ผลปิดออเดอร์เทรด Forex วันที่ 20 - 24 สิงหาคม

ส่วนที่ยังไม่ปิดก็มี...เพราะยังยอมถือติดลบอยู่ ^^ (แก้ไม่หายสักทีเรื่องกอดติดลบนี่)
ทว่าไม่เป็นไร เพราะเป็นบัญชีเดโม (โหะๆ) จุดบกพร่องตัวเองยังมีอยู่...
ยอมเป็น "เม่าเงินจริง สิงห์เงินปลอม" ไปพลางๆ ก่อน (บัญชีจริงล้างพอร์ตไป 3 รอบแล้ว)

สัปดาห์หน้าขอให้นักเทรดชาวไทยโชคดีกันถ้วนทั่วในตลาดฟอเร็กซ์กันนะครับ

.

25 สิงหาคม 2555

31 สิงหาฯ เรื่อง QE3

สกุลเงินยู​โรอ่อนค่าลงเมื่อ​เทียบดอลลาร์ หลังจากที่ธนาคารกลางยุ​โรป (อีซีบี) ​เปิด​เผยว่า
จะรอดู​การตัดสิน​ใจของ​เยอรมนี​เรื่อง​เงินช่วย​เหลือยุ​โรปก่อนที่จะดำ​เนิน​แผน​การซื้อพันธบัตรรัฐบาล
ทำให้​เงินยู​โร​เผชิญกับปัจจัยลบจากกระ​แสคาด​การณ์ที่ว่า
ประธานอีซีบีอาจยัง​ไม่ประกาศ​แผน​การซื้อพันธบัตรรัฐบาล​ใน​การประชุมวันที่ 6 กันยายนนี้
​เนื่องจากต้อง​การรอดู​การตัดสิน​ใจของ​เยอรมนีที่มีต่อกองทุนช่วย​เหลือยุ​โรป
อีกทั้งนักลงทุนต่างสงสัยว่าผู้มีหน้าที่กำหนดน​โยบายวาง​แผนอย่าง​ไร​ใน​การควบคุมวิกฤตหนี้
จึงส่งผล​ให้นักลงทุนลด​ความต้อง​การ​ในสกุล​เงินยู​โร
กระนั้น เงินยู​โร​ก็ยังไม่ร่วงลง​ไปมากกว่านี้​ เพราะมีข่าวว่า ECB กำลังพิจารณาว่า
จะกำหนดขอบ​เขตอัตราผลตอบ​แทนพันธบัตร​ใน​การซื้อพันธบัตรรอบ​ใหม่ ​
ซึ่งจะช่วยควบคุมต้นทุน​การกู้ยืม​และป้องกัน​ไม่​ให้​เกิด​การ​เ​ก็งกำ​ไร

ขณะ​เดียวกันนักลงทุนกำลังจับตาดู นาย​เบน ​เบอร์นัน​เก้ ประธานธนาคารกลางสหรัฐ (​FED)
ที่จะมีการกล่าว​แถลง​ใน​การประชุมประจำปีของ​เฟด​ในวันที่ 31 ส.ค.นี้ ​
ซึ่งมี​การคาดหมายว่า​เฟดจะส่งสัญญาณ​เพิ่ม​เติม​เกี่ยวกับ​การ​ใช้มาตร​การผ่อนคลาย​เชิงปริมาณรอบที่ 3 ​หรือ QE3 ​
โดยอาจส่งผลลบต่อ​เงินดอลลาร์ ​เนื่องจากจะ​ทำ​ให้​เงินดอลลาร์ด้อยค่าลง แต่จะ​เป็นผลดีต่อตลาดทองคำ



***

ระทึก! ศาลเยอรมนีชี้ขาด จุดเปลี่ยนการเงินโลก
โดย : กรุงเทพธุรกิจ


น.ส.อุสรา วิไลพิชญ์ นักเศรษฐศาสตร์อาวุโสของสแตนดาร์ด ชาร์เตอร์ด (สแตนชาร์ต) กล่าวว่า
ปัญหาวิกฤติหนี้รัฐยุโรปยังไม่จบและยังแก้ไม่ได้
ซึ่งเป็นปัจจัยเสี่ยงสำคัญสุดที่กำหนดทิศทางเศรษฐกิจโลก และเศรษฐกิจไทยครึ่งหลังปีนี้

"ยิ่งวิกฤติยืดเยื้อถึงปีหน้า ยิ่งเป็นความเสี่ยงหลักสำคั 
ไทยจึงต้องตระหนักว่าผลกระทบเกิดกับเศรษกิจอาจจะยืดเยื้อมากกว่าคาดไว้ได้
ยิ่งปั
หาแก้ไม่ตก แน่นอนเป็นความเสี่ยงของเศรษกิจไทยกับโลกชะลอตัวยาวไม่หยุดแค่ครึ่งหลังปีนี้"

สิ่งที่น่ากังวล คือ หากมีบางอย่างไม่เป็นไปตามคาด ถ้าวิกฤติยุโรปขยายวงกว้าง
ซึ่งขณะนี้ลุกลามในสเปนแล้ว รอเพียงแค่การขอความช่วยเหลืออย่างเป็นทางการเหมือนกรีซ 
และถ้าวิกฤติลามจากสเปนไปอิตาลี  จะทำให้ปัญหาทวีความรุนแรงมากในอนาคต
กลายเป็นความตกใจและอาจทำให้ความเชื่อมั่นการบริโภคและลงทุนแย่กว่าเดิม
ตลาดเงินผันผวนมากขึ้น ปฏิกิริยาผู้กำหนดนโยบายการเงินการคลังมีมากกว่าเดิม
กลายเป็นผู้คนตกใจบวกความผันผวนตามมา

"ทุกฝ่ายไม่ว่าจะเป็นนักธุรกิจ นักลงทุนและผู้กำหนดนโยบายทั่วโลก
ตระหนักอยู่แล้วว่าโลกมีแนวโน้มชะลอตัว
แต่ส่วนใหญ่ก็ยังมองว่าเศรษฐกิจปีหน้าน่าจะดีกว่าปีนี้ถือเป็นความเสี่ยง
ทุกฝ่ายจึงต้องมองถึงเศรษฐกิจปีหน้าเพื่อป้องกันความเสี่ยงไว้ ไม่ใช่วางแผนแค่ครึ่งหลังปีนี้ไม่พอ
แต่ต้องวางแผนเผื่อปีหน้าเลย"

ปัจจัยเสี่ยงต้องจับตาเฝ้าระวังในครึ่งหลังปีนี้ น.ส.อุสรา กล่าวว่า
เรื่องแรก คือ วันที่ 12 กันยายนนี้ ศาลรัฐธรรมนูญเยอรมนีจะพิจารณาว่า
เห็นชอบกับรัฐบาลหรือไม่ในการตั้งกลไกรักษาเสถียรภาพยุโรป (ESM) แบบถาวร
ถ้าไม่เห็นชอบเพราะเยอรมนีถือเป็นเสาหลักมีเงินเยอะสุดในยูโรโซน 17 ชาติ
กลายเป็นประเด็นสำคัญ คนตีความว่าแย่ ขาดความเชื่อมั่น และวิกฤติลุกลามปั่นป่วนได้อีกรอบ

เรื่องที่สอง วิกฤติจะลามจากสเปนไปอิตาลีหรือไม่ ต้องตามดูอย่างใกล้ชิดในช่วง 6 เดือนหน้า
ถ้าเกิดจริง...สะท้อนว่าวิกฤติยุโรปยังไม่ถึงจุดต่ำสุดเหมือนไฟยังไม่หยุดไหม้ ความเสียหายยิ่งกินวงกว้าง
สุดท้ายเป็นเรื่องต้องตามดูเจ้าหนี้กรีซจะเอาอย่างไรกับกรีซ ซึ่งผลจะออกมาในเดือนกันยายนนี้

"ปัจจัยเสี่ยงจะมากระจุกตัวในเดือนกันยายน
ถือเป็นหัวเลี้ยวหัวต่อสำหรับทิศทางตลาดเงินโลกและทิศทางเศรษฐกิจโลกปีหน้า
แต่ความเสี่ยงเหล่านี้ก็ถือเป็นแผนที่การเดินทางให้นักธุรกิจ นักลงทุน
และผู้กำหนดนโยบายในไทยจัดการวางแผนตัวเองในปีหน้าเช่นกัน"

น.ส.อุสรา เสนอว่าหากวิกฤติยุโรปลากยาวต่อเนื่อง วิธีการบริหารจัดการต้องแตกต่างกัน
กล่าวคือไทยอาจต้องเก็บกระสุนหรือยาที่มีอยู่อย่างจำกัดไว้ใช้ในยามจำเป็น คือ
อาจจำเป็นต้องลดดอกเบี้ยเพื่อหนุนความเชื่อมั่น แต่ประเด็นอยู่ที่ว่าจังหวะกับเวลาเหมาะสมว่า
จะใช้กระสุนหรือยาเมื่อใด จึงต้องรอใช้ตอนชัดเจนช่วงวิกฤติลุกลามจริงๆ

"คิดว่าอย่างกรณีเฟด เขามีคิวอี 3 (QE3) แน่ๆ
เพียงแต่ว่าเขารอดูให้เห็นจุดต่ำสุดของวิกฤติหนี้ยุโรปเสียก่อนแล้วค่อยใช้
สำหรับไทยทุกคนเห็นตรงกันว่าการลดดอกเบี้ยช่วยหนุนเศรษฐกิจไทยได้
แต่อาจต้องใจเย็นรอจุดต่ำสุดของวิกฤติ จึงใช้นโยบายลดดอกเบี้ยดึงความเชื่อมั่นให้ถูกเวลา"

.


24 สิงหาคม 2555

ข่าวฟอเร็กซ์ 24 ส.ค.

ค่าเงินยูโรแข็งขึ้นต่อเนื่องแม้นว่าความหวังเรื่อง QE3 จะลดลง
ส่วนหนึ่งอาจตอบรับดัชนี PMI ของเยอรมันและฝรั่งเศส เดือน ส.ค. ซึ่งออกมาดีกว่าที่ตลาดคาดเล็กน้อย
ทั้งยังมีข่าวว่าสเปนกำลังจะขอความช่วยเหลืออย่างเต็มรูปแบบในเร็วๆ นี้ แต่ก็ยังไม่มีรายละเอียดมากนัก

ด้านผู้กำหนดนโยบายของ FED เริ่มมีความเห็นที่แตกต่างจากเรื่องการทำ QE3
โดยเมื่อคืนนี้ นายเจมส์ บูลลาร์ด ผู้ว่าสาขาเซ็นหลุยส์ กล่าวว่า
รายงานการประชุมเฟดที่เชียร์ให้มี QE3 นั้นล้าสมัยแล้ว และข้อมูลสหรัฐฯ ช่วงหลังๆ ดีขึ้น
แต่เช้านี้ นายชาร์ลส อีแวนส์ ผู้ว่าสาขาชิคาโก ชี้ว่า
ให้คงนโยบายการเงินผ่อนคลายและมีนโยบายใหม่ๆ ออกมามากกว่านี้
โดยอ้างถึงการว่างงานที่ยังสูงและเงินเฟ้ออยู่ในระดับต่ำ
ดังนั้นภาพรวมตลาดจะไม่เล่นเรื่อง QE3 มากนักในระยะสั้น
เพื่อรอความชัดเจนกว่านี้จากการแถลงของนายเบน เบอร์นันเก้ ในวันที่ 31 ส.ค.นี้


นายเบน เบอร์นันเก้ ประธาน FED
“สมาชิก FOMC หลายรายตัดสินว่า ดูเหมือนว่าการผ่อนคลายการเงินเพิ่มเติมอาจนำมาใช้ในเร็วๆ นี้
หากข้อมูลเศรษฐกิจต่างๆ ที่กำลังเข้ามาเพิ่มเติมมีการบ่งชี้ถึงความอ่อนแอของเศรษฐกิจ”
โดยในวันที่ 31 สิงหาคม นายเบน เบอร์นันเก้ ประธานเฟดจะแสดงสุนทรพจน์ในสัปดาห์หน้า
ในการประชุมสัมมนาทางเศรษฐกิจประจำปีที่เมืองแจ็คสัน โฮล รัฐไวโอมิง
ซึ่งนายเบอร์นันเก้อาจมีการให้คำบอกใบ้เกี่ยวกับว่าจะมีการใช้มาตรการ QE3 เมื่อไหร่และอย่างไร
กระนั้น ดูเหมือนจะมีการเลื่อนการใช้มาตรการ QE3 ออกไป
เนื่องจากการใช้มาตรการ QE เพิ่มเติมก่อนการเลือกตั้งอาจดูเหมือนเป็นเกมทางการเมืองอย่างมาก
ซึ่งเฟดไม่ต้องการให้ถูกมองว่ามีแนวโน้มไปทางการเมือง
อย่างไรก็ตาม ทุกสิ่งจะถูกเปิดเผยหลังการประชุมที่แจ็คสัน โฮลในช่วงสิ้นเดือนนี้

ด้านฝั่งยุโรปยังไม่น่าลุ้นปัจจัยบวกใดๆ จากการหารือระหว่างกรีซ เยอรมัน และฝรั่งเศส
เพราะแนวโน้มที่กรีซจะผิดหวังจากการหารือครั้งนี้มีค่อนข้างสูง
ซึ่งต้องไปลุ้นอีกครั้งในกลางเดือนหน้าในการประชุมรมว. คลังยุโรป

โดยเมื่อวานนี้ การประชุมระหว่างนายกรัฐมนตรีเยอรมนี และนายกรัฐมนตรีฝรั่งเศส นั้น
1. นางอังเกลา แมร์เคล ผู้นำเยอรมนีเปิดเผยถึงการพูดคุยกับนายฟรังซัวร์ ออลลองด์ ผู้นำฝรั่งเศสว่า
จะพยายามผลักดันให้กรีซต้องใช้มาตการรัดเข็มขัดที่เข้มงวดต่อไป
โดยจะไม่ยอมอ่อนข้อให้จนกว่าจะได้รับรายงานจากทรอยก้าเรียบร้อยแล้ว
ทั้งสองผู้นำยังเสนอแนวร่วมต่อกรีซ โดยระบุว่า
กรีซไม่ควรคาดหวังการผ่อนปรนเรื่องระยะเวลา และให้ยึดมั่นต่อคำสัญญาที่ได้ให้ไว้
ขณะที่สำนักข่าวรอยเตอร์สรายงานเมื่อวานนี้ว่า
2. อีซีบีกำลังมีการพิจารณากำหนดเป้าหมายอัตราผลตอบแทนภายใต้แผนการเข้าซื้อพันธบัตรรอบใหม่
โดยปราศจากการตั้งระดับให้เป็นสาธารณะ ทั้งนี้ก็เป็นเพียงเป้าหมายที่บอกเป็นนัย
แต่จะไม่มีการตัดสินใจจนกว่าจะถึงการประชุมอีซีบีในวันที่ 6 กันยายน
ซึ่งทั้งสองเรื่องนี้แสดงให้เห็นถึงความล่าช้า
หรือความไม่ใส่ใจของภาครัฐในยุโรปเกี่ยวกับการจัดการกับปัญหาอย่างทันท่วงที
จึงส่งผลลบต่อบรรยากาศการลงทุนโดยเฉพาะในตลาดหุ้น

ด้านนายวูล์ฟกัล ชอยเบิล รัฐมนตรีคลังเยอรมนียังกล่าวในรายการวิทยุว่า
“การให้เวลาเพิ่มเติมไม่ใช่การแก้ปัญหา”
ซึ่งการให้เวลาเพิ่มเติมแก่กรีซอาจหมายถึงการเพิ่มต้นทุนแก่กลุ่มเจ้าหนี้ระหว่างประเทศ

ตัวเลขเศรษฐกิจที่สำคัญในวันนี้
• ผลผลิตมวลรวมในประเทศ และการลงทุนภาคธุรกิจเบื้องต้นรายไตรมาสในอังกฤษ 15.30 น.
• ดัชนีภาคบริการรายไตรมาสในอังกฤษ 15.30 น.
• ยอดขายสินค้าคงทนในสหรัฐฯ 19.30 น.

.

23 สิงหาคม 2555

จับตาดู 31 ส.ค. - 13 ก.ย.


ค่าเงินสกุลยูโรดีดกลับมาแข็งค่าขึ้น ขณะดอลลาร์อ่อนตัวลงอย่างรวดเร็ว
ทำให้นักลงทุนเริ่มหันเข้ามาเก็งกำไรในตลาดทองคำเพราะคาดว่าค่าเงินดอลลาร์จะอ่อนค่าลงในอนาคต
กอปรกับแรงส่งจากเรื่องความคาดหวังเรื่อง QE3 อาจจางลงไปบ้าง ทว่าก็ยังไม่หมดไปทีเดียว
ขณะที่ความหวังของนักลงทุนทั้งหลายยังจับตาการแก้ไขหนี้ของกรีซ สเปน และอิตาลีอยู่

ด้านตลาดหุ้นฝั่งสหรัฐฯ และยุโรปเริ่มมีแรงขายกดดัน ตามตลาดหุ้นเอเชียที่มีแรงขายไปเมื่อวานนี้
โดยนักลงทุนต่างชะลอการเข้าซื้อ เพื่อรอดูรายละเอียดแผนการของธนาคารกลางยุโรป
สำหรับการเข้าซื้อพันธบัตรรัฐบาลสเปนและอิตาลี ก่อนที่จะตัดสินใจเข้าซื้อหุ้นเพิ่มเติม
รวมทั้งแรงกดดันจากตัวเลขการส่งออกของญี่ปุ่นเดือน ก.ค. ที่ทรุดลงรุนแรงกว่าที่นักเศรษฐศาสตร์คาดไว้
โดยได้รับผลกระทบจากการส่งออกไปยังสหภาพยุโรป (EU)
ทำให้นักลงทุนยังวิตกเกี่ยวกับผลกระทบจากวิกฤติหนี้ยูโรโซนต่อภาพรวมเศรษฐกิจโลกต่อ

รายงานการประชุมของ FOMC เมื่อคืนนี้ ยังช่วยสนับสนุนว่าเฟดพร้อมที่จะกระตุ้นเศรษฐกิจรอบใหม่
หลังจากการเปิดเผยรายงานการประชุมรอบล่าสุด
ที่คณะกรรมการหลายคนเริ่มให้น้ำหนักกับการเตรียมใช้นโยบายที่จำเป็น
และโอกาสที่จะออกมาตรการฯ ในเร็วๆ นี้ เว้นเสียแต่เศรษฐกิจจะฟื้นตัวขึ้นได้ดีกว่าคาดมาก
แต่ในการประชุม 12-13 ก.ย. ความน่าจะเป็นมากที่สุดในการดำเนินนโยบายของเฟดคือ
การเลื่อนมุมมองของการคงดอกเบี้ยในระดับต่ำต่อไป
ส่วนการประกาศทำ QE3 ยังมีความเป็นไปได้ที่ต่ำกว่า
ทำให้ภายหลังจากนักลงทุนรับรู้รายงานการประชุมล่าสุดแล้ว
ตลาดจึงจะเริ่มให้น้ำหนักไปทางฝั่งยุโรปมากกว่า
โดยเฉพาะผลการหารือของกรีซกับเยอรมันและฝรั่งเศสในช่วงปลายสัปดาห์
ซึ่งเยอรมันออกมายืนยันว่ากรีซจะยังไม่ได้เงินช่วยเหลือในสุดสัปดาห์นี้
แต่ต้องรอให้กลุ่มทรอยก้าเข้าไปตรวจสอบอีกครั้ง

ประธานยูโรกรุ๊ปได้ประชุมกับนายกรัฐมนตรีกรีซแล้ว ภาพรวมคือยังให้เวลากรีซดำเนินนโยบายรัดเข็มขัด
แต่ก็ไม่มีการประกาศชัดเจนถึงการยืดเวลาให้อีก 2 ปี
ทั้งนี้คาดว่านักลงทุนจะรอการประเมินผลของเจ้าหนี้ในต้นเดือน ก.ย. เป็นสำคัญ
สำหรับการประชุมระหว่างนายฌอง คล็อด จุงเกอร์ ประธานยูโรกรุ๊ปและนายแอนโทนิส ซามาราส เมื่อวานนี้
นายจุงเกอร์ยังคงให้ความหวังแก่กรีซในเรื่องเวลาเพิ่มเติม เพื่อทำให้กรีซผ่านมาตรการรัดเข็มขัดไปให้ได้
ซึ่งขึ้นอยู่กับการประเมินของกลุ่มทรอยก้า ที่ประกอบด้วยอียูและไอเอ็มเอฟ
แต่มีการเตือนกรีซว่าเป็นโอกาสสุดท้ายในการที่จะหลีกเลี่ยงภาวะล้มละลาย



ส่วนการประชุมครั้งต่อไปของ FOMC มีกำหนดจะจัดขึ้นในวันที่ 12-13 ก.ย.
โดยตลาดคาดว่าอาจจะมีการประกาศมาตรการผ่อนคลายทางการเงิน
ซึ่งจะรวมถึงการซื้อหลักทรัพย์ที่มีสัญญาจำนองค้ำประกัน
ผลสำรวจจากรอยเตอร์ระบุว่า โอกาสที่เฟดจะออกมาตรการ QE3 เพิ่มขึ้นในช่วงเดือนที่ผ่านมาสู่ระดับ 60%
รวมไปถึงกลุ่มนักเศรษฐศาสตร์มีการลดการคาดการณ์การเติบโตของเศรษฐกิจในปีนี้และปีหน้าลงอีกด้วย
โดยนักข่าวเศรษฐกิจอาวุโสจากสำนักข่าว CNBC กล่าวว่า
ดูเหมือนว่ามีความเป็นไปได้ที่เฟดอาจมีการยกเว้นสัญญาที่ได้ให้ไว้ว่าจะรักษาระดับอัตราดอกเบี้ย
ให้อยู่ในระดับต่ำจากปี 2014 – 2015 ในการประชุม FOMC เดือนกันยายน
ทั้งนี้ดูเหมือนว่ามาตรการ QE จะอยู่ในแผนการใช้งานเพื่อการปรับปรุงพัฒนาเศรษฐกิจ
แต่สิ่งที่ยังไม่ชัดเจนก็คือเมื่อไหร่ที่จะเกิดการใช้มาตรการดังกล่าวขึ้น
โดยอาจมีการใช้ QE3 ในการประชุม FOMC เดือนหน้าก็เป็นได้
และดูเหมือนว่าเหล่าผู้กำหนดนโยบายก็เข้าใกล้มาตรการนี้มากขึ้น

วันที่สำคัญและปัจจัยที่ต้องติดตาม ได้แก่
วันที่ 31 ส.ค. นายเบน เบอร์นันเก้ ประธานเฟดจะแถลงนโยบายที่เมืองแจ็คสัน โฮล รัฐไวโอมิง
วันที่ 6 ก.ย. ECB จะประชุมนโยบายและน่าจะประกาศมาตรการซื้อพันธบัตร
วันที่ 12 ก.ย. มีการตัดสินของศาลเยอรมันกรณีใช้กองทุน ESM ซื้อพันธบัตรและเพิ่มทุนธนาคาร 
วันที่ 13 ก.ย. เฟดจะประชุม FOMC

ตัวเลขเศรษฐกิจที่สำคัญในวันนี้
•  ดัชนีการจัดการภาคการผลิต ภาคบริการในฝรั่งเศส เยอรมัน และยุโรปโดยรวม ช่วงบ่าย
•  ตัวเลขการอนุมัติการจำนองในอังกฤษ 15.30 น.
•  ตัวเลขผู้ขอรับสวัสดิการการว่างงานของสหรัฐฯ 19.30 น.
•  ยอดขายบ้านใหม่ในสหรัฐฯ 21.00 น.
และการประชุมระหว่างนางอังเกลา แมร์เคล นากยกรัฐมนตรีเยอรมัน
กับนายฟรังซัวร์ ออลลองด์ นากยกรัฐมนตรีฝรั่งเศส ในเยอรมนี

.

22 สิงหาคม 2555

FOMC Meeting Minutes คืนนี้ ตีหนึ่ง

ด้านตลาดหุ้นสหรัฐฯ ยังคงมีแรงขายทำกำไรกดดันต่อเนื่อง ขณะตลาดหุ้นฝั่งยุโรปยังขยับบวกได้ดี
เมื่อวานตลาดหุ้นยุโรปปิดบวกหลังมีรายงานว่าสเปนจำหน่ายตั๋วเงินคลังอายุ 12 และ 18 เดือนได้สูงกว่าเป้าหมาย
เนื่องจากนักลงทุนยังคาดหวังว่า ECB จะดำเนินมาตรการควบคุมวิกฤติหนี้ยูโรโซนต่อเนื่องในเร็วๆ นี้
โดยต้องติดตามจากผลการประชุมธนาคารกลางยุโรป ในวันที่ 6 ก.ย.นี้อีกครั้ง
(ซึ่งคาดว่าจะมีการประกาศนโยบายซื้อพันธบัตรอย่างเป็นทางการในวันดังกล่าว)

นายแอนโทนิส ซามาราส นายกรัฐมนตรีกรีซ

เทรดเดอร์อาจต้องระมัดระวัง เพราะข่าวสารจากฝั่งยุโรปจะสร้างความผันผวนให้กับตลาดตลอดสัปดาห์
- การประชุมประธานกลุ่มยูโรกับกรีซวันนี้ (22 ส.ค.)
- การหารือระหว่างเยอรมันและฝรั่งเศส (23 ส.ค.)
- นายกรัฐมนตรีกรีซจะเดินทางไปเยอรมันและฝรั่งเศสเพื่อขอผ่อนคลายแผนปรับลดค่าใช้จ่าย (24-25 ส.ค.)

ขณะที่ค่าเงินยูโรแข็งค่าขึ้นเทียบกับเงินดอลลาร์สหรัฐฯ
ภายหลังนักลงทุนคาดการณ์ในทางบวกเกี่ยวกับการเข้าแทรกแซงตลาดพันธบัตรรัฐบาลของประเทศในกลุ่มยูโรโซน
แม้ว่าธนาคารกลางของยุโรปได้ออกมาปฏิเสธข่าวไปในช่วงก่อนหน้านี้แล้วก็ตาม
โดยนักลงทุนยังคงรอติดตามการเข้าพบผู้นำเยอรมันและฝรั่งเศสของนายกรัฐมนตรีกรีซในช่วงปลายสัปดาห์นี้
เพื่อหาข้อสรุปเกี่ยวกับข้อเสนอของรัฐบาลกรีซในการยืดระยะเวลาแผนการลดค่าใช้จ่ายจากเดิมออกไป 2 ปี
ซึ่งหากรัฐบาลกรีซได้รับการอนุมัติแผนดังกล่าวจะส่งผลดีต่อการเติบโตของเศรษฐกิจกรีซ
ส่วนประเด็นเกี่ยวกับเงินกู้รอบใหม่ของกรีซนั้นจะมีความชัดเจนในช่วงต้นเดือนหน้า

หลังจากนสพ. รายสัปดาห์ Der Spiege ของเยอรมนีตีพิมพ์ก่อนหน้านี้ว่า
อีซีบีอาจกำหนดอัตราผลตอบแทนของพันธบัตรรัฐบาลแต่ละประเทศในการประชุมเดือนหน้า
เมื่อวานนี้ทางหนังสือพิมพ์เดลี่ เทเลกราฟของอังกฤษมีรายงานคล้ายๆ กันโดยเน้นไปที่สเปนและอิตาลี
ซึ่งอีซีบีก็ออกมาให้ความเห็นปฏิเสธแบบไม่เต็มตัวทั้งสองครั้ง ทว่าก็ส่งผลให้เกิดการเก็งกำไรในเชิงบวก

นายเดนนิส ล็อคฮาร์ท ประธานธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) สาขาแอตแลนตา กล่าวเตือนว่า
การใช้นโยบายทางการเงินในเชิงรุกมากเกินไปอาจก่อให้เกิดความเสี่ยง
เนื่องจากนโยบายการเงินอาจไม่สามารถจัดการกับความท้าทายหลายประการที่สหรัฐฯ กำลังเผชิญอยู่ในปัจจุบัน

กระทรวง​การคลังญี่ปุ่น​เปิด​เผย​ในรายงาน​เบื้องต้นวันนี้ว่า
ญี่ปุ่นมียอดขาดดุล​การค้า​ใน​เดือน ก.ค.​ทั้งสิ้น 5.174 ​แสนล้าน​เยน ​
โดยส่วน​ใหญ่​ได้รับผลกระทบจาก​การหดตัวลงของยอด​การส่งออก
ท่ามกลาง​การชะลอตัวลงของ​เศรษฐกิจทั่ว​โลก อัน​เนื่องจากวิกฤตหนี้สาธารณะ​ในยุ​โรป
รายงานยังระบุว่า ยอด​การส่งออก​เดือน ก.ค.หดตัวลง 8.1% มาอยู่ที่ระดับ 5.3133 ล้านล้าน​เยน ​
ซึ่ง​เป็น​การหดตัวลงติดต่อกันสองเดือน ​โดย​เฉพาะยอดส่งออก​ไปยังยุ​โรป​และ​เอ​เชียที่หดตัวลงอย่างมาก

ตัวเลขเศรษฐกิจที่สำคัญในวันนี้
• ตัวเลขยอดขายบ้านมือสอง (Existing Home Sales) 21.00 น.
• การประชุม FOMC (FOMC Meeting Minutes) 01.00 น. คืนนี้
โดยจะมีการเปิดเผยรายงานการประชุมของธนาคารกลางสหรัฐฯ ในการประชุมครั้งหลังสุด
หากในรายงานการประชุมระบุว่า...
มีการหยิบประเด็นเรื่องการออกมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจขึ้นมาพูดถึงในการประชุมครั้งที่ผ่านมา
ก็มีแนวโน้มว่าในการกล่าวสุนทรพจน์ของประธานธนาคารกลางสหรัฐฯ ในช่วงปลายเดือนนี้ (31 ส.ค.)
อาจมีการส่งสัญญาณถึงการออกมาตรการผ่อนคลายทางการเงินรอบใหม่
ก่อนที่จะมีการประกาศอย่างเป็นทางการในการประชุมของธนาคารกลางสหรัฐฯ ครั้งถัดไปในเดือนกันยายน

.

21 สิงหาคม 2555

ข่าวฟอเร็กซ์ 21 ส.ค.

ตลาดต่างๆ มองภาพรวมทรงตัวเนื่องจากยังขาดปัจจัยใหม่ที่โดดเด่นเข้ามากระตุ้นในช่วงนี้
จึงมีโอกาสเคลื่อนไหวทั้งในแดนบวกและลบ ขึ้นหรือลง และผันผวนระหว่างวันยังมีสูง
ตราบเท่าที่นักลงทุนยังคงจับตาเรื่องการแก้ไขปัญหาหนี้ยูโรโซน
พร้อมกับมีความหวังเรื่องมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจรอบใหม่อยู่
ทำให้เทรดเดอร์ต่างๆ ยังคงรออยู่นอกตลาดเนื่องจากไม่มีตัวเลขเศรษฐกิจสำคัญใดๆ ออกมา

ขณะแรงเก็งกำไรจากประเด็นที่ว่าธนาคารกลางยุโรป (ECB)
จะกำหนดอัตราดอกเบี้ยพันธบัตรในตลาดรองจะลดลง หลังจากเมื่อคืนนี้ ECB ออกมากล่าวว่า
รายงานของ นสพ. รายสัปดาห์ Der Spiegel ของเยอรมันดังกล่าวนั้นไม่ถูกต้อง
โดยสื่อของเยอรมนีได้มีการรายงานเมื่อวานนี้ว่า...อีซีบีกำลังพิจารณาการตั้งขอบเขตจำกัด
สำหรับระยะเวลาในการช่วยเหลือเรื่องต้นทุนการกู้ยืมของประเทศที่จะมีความแตกต่างจากพันธบัตรเยอรมนี
อย่างไรก็ตาม ภายหลังโฆษกของอีซีบีได้ออกมาระงับการคาดการณ์ในเรื่องดังกล่าวแล้ว
โดยระบุว่ากำลังมีการถูกทำให้เข้าใจผิดในการที่จะกล่าวถึงการตัดสินใจของอีซีบีที่ยังไม่ทันจะเกิดขึ้น
ซึ่งตลอดสัปดาห์ที่ผ่านมานั้น อีซีบียังไม่มีการเข้าซื้อพันธบัตรใดๆ
กระนั้นพอเป็นไปได้ว่า ECB ยังคงมีมาตรการซื้อพันธบัตรออกมา
ทว่าอาจไม่ประกาศจำกัดดอกเบี้ยพันธบัตรแต่อย่างใด
ซึ่งคงต้องรอจนกว่าจะมีความชัดเจนในประเด็นนี้ในต้นเดือน ก.ย.
ขณะที่ล่าสุดเยอรมันเริ่มออกมาไม่เห็นด้วยกับกรีซ ซึ่งท้ายที่สุดแล้วการที่กรีซจะได้เงินหรือไม่
คงต้องขึ้นอยู่กับกลุ่มทรอยก้าที่จะเข้าไปยังกรีซอีกครั้งในต้นเดือนหน้า
โดยนักลงทุนยังรอติดตามผลการหารือระหว่างผู้นำเยอรมัน ฝรั่งเศส และกรีซ
เกี่ยวกับการขอยืดระยะเวลาการปรับลดรายจ่ายทางการคลังออกไปอีกระยะหนึ่ง

ธนาคารกลางเยอรมนี หรือบุนเดสแบงก์ ออกตัวคัดค้านแผนการซื้อพันธบัตรของอีซีบี
โดยมีความเห็นว่า การซื้อพันธบัตรรัฐบาลในยูโรโซนถือเป็นเรื่องอันตราย
และส่งผลให้เกิดความเสี่ยงต่อเสถียรภาพอย่างไม่อาจหลีกเลี่ยงได้
ทั้งนี้ ธนาคารกลางเยอรมนีได้แสดงความไม่เห็นด้วยมาโดยตลอดเกี่ยวกับการที่อีซีบีเข้าซื้อพันธบัตรรัฐบาล

นายเอิร์กกิ ทูโอมิโอยา รัฐมนตรีต่างประเทศของฟินแลนด์ ได้กล่าวกับสำนักข่าว BBC ว่า
รัฐบาลของประเทศที่ใช้สกุลเงินยูโรกำลังซุ่มเงียบเตรียมความพร้อมหากกรีซต้องออกจากยูโรโซน
โดยขณะนี้ได้มีการสมมติสถานการณ์ต่างๆ ซึ่งรวมถึงการล่มสลายของสกุลเงินยูโรด้วย
เพื่อหาทางรับมือหากว่าเหตุการณ์สมมตินั้นเกิดขึ้นจริง

มูดี้ส์ อิน​เวส​เตอร์ ​เซอร์วิส สถาบันจัดอันดับ​ความน่า​เชื่อถือ
ระบุ​ในรายงานฉบับหนึ่งว่า
กลุ่มประ​เทศสมาชิกที่อ่อน​แอของยู​โร​โซน อย่างกรีซ​และ​ไอร์​แลนด์
อาจจำ​เป็นต้อง​ใช้​เวลาจน​ถึงปี 2559 ​
เพื่อหนุนฐานะ​การคลังที่​ไม่มั่นคง​ให้​เสร็จสมบูรณ์
มูดี้ส์ยังระบุอีกว่า ส​เปน ​โปรตุ​เกส ​และอิตาลี
อาจจะพ้นจากภาว​การณ์ที่ยากลำบาก​ในปัจจุบันภาย​ในปี 2556
​โดย​ทั้ง 5 ประ​เทศข้างต้น​ได้ดำ​เนิน​การปฏิรูปที่ยากลำบาก​แต่มี​ความจำ​เป็น​แล้ว
มูดี้ส์สรุปว่า​การปฏิรูปดังกล่าว​ได้ดำ​เนิน​ไป​เพียงครึ่งทาง​เป็นอย่างมากที่สุด​ในขณะนี้

ปัจจัยในระยะสั้น คงต้องติดตามเรื่อง
• รายงานการประชุม FOMC จากเมื่อวันที่ 1 ส.ค. ที่จะออกในคืนนี้ (หนึ่งทุ่ม)
ว่าจะมีสัญญาณ QE3 หรือไม่ (คาดว่าไม่มี)
• การประชุมระหว่างแกนนำยุโรปกับรัฐบาลกรีซในวันพรุ่งนี้
ว่าจะมีการยืดเวลารัดเข็มขัดเศรษฐกิจให้อีกสองปี ได้หรือไม่
• รายงานการประชุม FED ในวันพฤหัสฯ FOMC Meeting Minutes (ตีหนึ่ง)

ตัวเลขเศรษฐกิจในวันนี้
• ตัวเลขการปล่อยกู้ภาครัฐของอังกฤษ Public Sector Net Borrowing 15:30 น.
• ตัวเลขประมาณการยอดสั่งซื้อสินค้าอุตสาหกรรมของอังกฤษ CBI Industrial Order Expectations 17:00 น.

.

20 สิงหาคม 2555

ข่าวฟอเร็กซ์ 20 ส.ค.


สกุลเงินยูโรปรับตัวลงเมื่อเทียบดอลลาร์ แต่แข็งค่าเมื่อเทียบกับเงินเยนในวันศุกร์ที่ผ่านมา
ขณะที่นักลงทุนเริ่มชะลอการซื้อขายยูโรเพื่อรอดูปัจจัยข่าวด้านต่างๆ
หรือเหตุการณ์สำคัญที่อาจจะทดสอบความต้องการเสี่ยงของนักลงทุนเอง

ด้านตลาดหุ้นสหรัฐฯ และยุโรปยังปิดสิ้นสัปดาห์ก่อนได้ในแดนบวก แม้ว่ามูลค่าซื้อขายจะเบาบางไปบ้าง
แต่นักลงทุนก็ยังคงมีความคาดหวังเชิงบวกว่า
ผู้กำหนดนโยบายของยูโรโซนใกล้ที่จะร่วมมือกันดำเนินมาตรการแก้ไขวิกฤติหนี้ในเร็วๆ นี้

นายกรัฐมนตรีมาริโอ มอนติ ของอิตาลี ได้กล่าวสุนทรพจน์ โดยระบุว่า
ปัญหาใหญ่ที่สุดที่ทั้งอิตาลีและยุโรปจะต้องเผชิญก็คือ
จะต้องไม่ทำให้เงินยูโรกลายเป็นปัจจัยที่ทำให้กลุ่มยูโรโซนเกิดความแตกแยก
ด้วยการที่ประเทศในยุโรปเหนือกดดันประเทศในยุโรปใต้ ซึ่งกำลังประสบกับวิกฤติหนี้สินด้วยความมีอคติ
โดยขณะนี้ถือว่ายูโรโซนยังคงมีความเสี่ยงอยู่
ทั้งนี้ สหภาพยุโรปและกลุ่มยูโรโซนมีความเห็นไม่ลงรอยกัน
เกี่ยวกับแนวทางการแก้ไขวิกฤติหนี้สินที่กำลังรุมเร้าหลายประเทศ 
ซึ่งผู้นำอิตาลียังกล่าวด้วยว่าประเทศอื่นๆ ควรจะให้โอกาสแก่อิตาลี
ในการแก้ปัญหาให้หลุดพ้นจากวิกฤติหนี้สิน 
รวมทั้งป้องกันไม่ให้วิกฤติการณ์ดังกล่าวลุกลามไปยังประเทศที่เศรษฐกิจอ่อนแออย่างเช่นสเปน เป็นต้น

นายฌอง คล็อด จุงเกอร์ ประธานยูโรกรุ๊ป

นายฌอง คล็อด จุงเกอร์ แห่งลักเซมเบิร์ก ในฐานะประธานยูโรกรุ๊ป กล่าวเมื่อวันเสาร์ที่ผ่านมาว่า
กรีซจะไม่ออกจากยูโรโซน เว้นแต่กรีซจะปฏิเสธในการปฏิบัติตามเป้าหมายการปฏิรูปเศรษฐกิจอย่างสิ้นเชิง
ซึ่งนายจุงเกอร์คาดหวังให้กรีซเพิ่มความพยายามเป็นสองเท่าในการทำให้เป้าหมายการปฏิรูปบรรลุผล
นอกจากนี้ ประธานยูโรกรุ๊ปยังระบุต่ออีกว่า
การที่กรีซพยายามเจรจาขอขยายเวลาไปอีก 2 ปีนั้นยังไม่ใช่สิ่งจำเป็นเร่งด่วนอะไร
แต่ต้องขึ้นอยู่กับผลการประเมินจากกลุ่มทรอยก้าเป็นสำคัญ

นายวูล์ฟกัล ชอยเบิล รัฐมนตรีคลังเยอรมนี ก็ได้กล่าวเมื่อวันเสาร์เช่นกันว่า
แม้นจะมีข้อจำกัดในการยื่นความช่วยเหลือต่อกรีซ
แต่กรีซก็ไม่ควรคาดหวังในการเรียกร้องขอความช่วยเหลือครั้งใหม่
ซึ่งเศรษฐกิจของกรีซตกอยู่ในภาวะถดถอยมาเป็นปีที่ 5 ติดต่อกันแล้ว
อีกทั้งประชาชนเองก็ยังมีความไม่พอใจทางการเมืองและสังคมเพิ่มมากขึ้นด้วย

นายแอนโทนิส ซามาราส นายกรัฐมนตรีกรีซ มีกำหนดการหารือกับนายฌอง คล็อด จุงเกอร์ ในวันพุธ
จากนั้นก็จะเข้าเยือนเยอรมนีในวันศุกร์ และไปเยือนฝรั่งเศสในวันเสาร์ของสัปดาห์นี้
เพื่อพูดคุยหารือเรื่องวิกฤตหนี้ที่กำลังดำเนินอยู่

สิ้นเดือนนี้ต้องตามดูว่าการประชุมที่แจ็คสัน โฮลล์ อาจมีการกล่าวถึงมาตรการ QE3 เป็นอย่างน้อย
จาก นายเบน เบอร์นันเก้ ประธานกลางสหรัฐฯ (FED) โดยมีการสำรวจจากรอยเตอร์โพลระบุว่า
ในช่วงเดือนที่ผ่านมา มีโอกาสเพิ่มขึ้นเล็กน้อยที่เฟดจะออกมาตรการ QE3 มาอยู่ที่ 60%

ขณะที่การชะลอตัวของเศรษฐกิจจีนได้ส่งผลกระทบต่อผลกำไรของบริษัทในประเทศ
โดยอัตราเติบโตผลกำไรของบริษัทที่จดทะเบียนในจีนหดตัวลงอย่างมากในช่วงครึ่งปีแรก
ซึ่งท่ามกลางความไม่เสถียรและความไม่แน่นอนของเศรษฐกิจโลก โดยเฉพาะอย่างยิ่งวิกฤตหนี้ยูโรโซน
เศรษฐกิจของจีนเติบโตขึ้น 7.6% ในไตรมาสที่สองเมื่อเทียบกับปีที่แล้ว
ซึ่งถือเป็นระดับการเติบโตที่ต่ำที่สุดในรอบมากกว่า 3 ปี

.

18 สิงหาคม 2555

ใครใคร่ซื้อก็ซื้อ ใครใคร่ขายก็ขาย

ผ่านไปอีกหนึ่งสัปดาห์...ตลาดหุ้นยุ​โรปเริ่มมีแนวโน้มที่ดีขึ้น
หลังอัตราผลตอบ​แทนพันธบัตรอายุ 10 ปีของส​เปนปรับตัวลดลง​แตะระดับต่ำสุด​ในรอบ 6 สัปดาห์
โดยปรับตัวลดลงสู่ระดับ 6.46% ​
​ในขณะที่​ความวิตกกังวล​เกี่ยวกับวิกฤตหนี้ยุ​โรปดูเหมือนจะ​เริ่มคลี่คลายลงระดับหนึ่ง
พร้อมกับที่นักลงทุนยังเฝ้าตามติดนโยบายของธนาคารกลางยุโรป ECB
หลังมีความเป็นไปได้ที่ ECB จะทำการผ่อนคลายนโยบายการเงินจากคำพูดของนายกรัฐมนตรีเยอรมัน
ซึ่งออกมาสนับสนุนแนวความคิดของประธานธนาคารกลางยุโรปที่จะช่วยเหลือยุโรปด้วยการซื้อพันธบัตร
เพื่อป้องกันภาวะย่ำแย่ของกลุ่มยูโรโซน ทั้งมี​แรงหนุนจาก​ความคาดหวังว่ายู​โร​โซนจะอยู่รอดปลอดภัย
จาก​แนว​โน้มที่รัฐบาลประ​เทศต่างๆ ​ในยุ​โรปจะตกลงอนุมัติ​การ​เบิกจ่าย​เงินกู้งวด​แรก​ให้ภาคธนาคาร
ซึ่งกำลังมีปัญหาของส​เปน ตามที่​ได้มี​การบรรลุข้อตกลงกัน​ไปก่อนหน้านี้

ส่วนดัชนีดาว​โจนส์ตลาดหุ้นนิวยอร์ก​ก็เดินหน้าขึ้นโดยปิดที่ระดับสูงสุด​ในรอบ 3 ​เดือนครึ่ง​
หลังรายงาน​ความ​เชื่อมั่น​ผู้บริ​โภคที่​เพิ่มสูงขึ้น​เกินคาด ​
ซึ่ง​เป็นสัญญาณบ่งชี้​ถึง​แนว​โน้ม​การ​ใช้จ่ายภาคครัว​เรือนที่​แข็ง​แกร่งขึ้น​ใน​ไตรมาสนี้
ช่วย​เพิ่ม​ความหวังว่า​เศรษฐกิจสหรัฐฯ กำลังฟื้นตัว

ต้องจับตาดู...
> 31 ส.ค. การประชุมของธนาคารกลางสหรัฐฯ (FED) ที่ Jackson Hole
> 6 ก.ย. ประชุมธนาคารกลางยุโรป (ECB)
> 12-14 ก.ย. ประชุมรัฐมนตรีคลังยุโรป

***

สัปดาห์ที่ผ่านมา...
ผมเปิดเทรด Forex ไม่มาก ไม่เน้นเฝ้ากราฟ และพยายามถอยห่างจากตลาดเงินบ้าง
ไม่อยากเล่นประหนึ่งว่ากำลังเดินเข้าไปในบ่อนการพนัน หรือลาสเวกัส (เมืองแห่งบาป Sin City)
ส่วนตัวคิดว่า ยิ่งหมกมุ่นหรือเทรดมากเท่าไหร่ โอกาสเสี่ยงที่จะเสียย่อมมีมากเท่านั้น
หากว่าเทรดแล้วมีกำไรก็ควรผ่อนๆ หรือพักบ้าง ไม่จำเป็นที่ต้องแสวงหากำไรทุกขณะ
แม้นว่าตลาดฟอเร็กซ์จะมีเวลาให้หาเงินได้ 5 วัน ตลอด 24 ชั่วโมงก็เถอะ...
ผมพยายามสร้างวินัยและระบบของตัวเอง นอกเหนือจากอินดิเคเตอร์

ผลปิดออเดอร์ Forex วันที่ 15-17 สิงหาคม 2555 แบบเม่าๆ

สัปดาห์หน้า...
Forex คู่ EUR/USD น่าจับตาดู (เปิดออเดอร์เลย) ว่าจะขึ้นได้หรือไม่--?
ทั้งปัจจัยด้านข่าวสารฝั่งยุโรปที่ดูเหมือนเริ่มดีขึ้น และปัจจัยทางเทคนิค
เมื่อพิเคราะห์จากกราฟ Weekly ขณะที่กราฟ Daily อาจมีแนวโน้มลงได้อีก

EUR/USD Week

ผมไม่มี Signal ใดๆ ทั้งนั้น
เพราะถ้าผมเก่งกาจ รอบรู้จริง และหยั่งทราบอนาคตค่าเงินล่วงหน้าได้ ก็คงทำกำไรได้มากมาย (อย่างมั่นใจ)

ฉะนั้น ใครใคร่ซื้อก็ซื้อ...ใครใคร่ขายก็ขาย...
อำนาจการตัดสินใจเปิดออเดอร์อยู่ที่ปลายมือท่านเท่านั้น
อย่าใจร้อน...หาราคาเปิดที่ดีที่สุด เหมาะสมที่สุด และเสี่ยงน้อยที่สุดไว้

ขอให้นักเทรด (แมงเม่า) ทุกท่านโชคดี
จงเชื่อมั่นในตนเอง เพราะประสบการณ์ด้วยตัวเราเองจะทำให้เราได้เรียนรู้ความจริงที่สุด
มันไม่มีทางลัดหรือสูตรสุดยอดไปสู่ความสำเร็จในเร็ววันแน่สำหรับตลาดฟอเร็กซ์--
บางที...การประสบผลในตลาดเงินนั้น อาจอยู่ที่เทคนิคที่เรียบง่ายและหัวใจที่ไม่ยอมแพ้ก็ได้

.




17 สิงหาคม 2555

ข่าวฟอเร็กซ์ 17 ส.ค.


สกุลยูโรปรับตัวขึ้นเมื่อเทียบดอลลาร์และเยนในวันพฤหัสบดี (เมื่อวาน)
ด้วยนักลงทุนเข้าซื้อคืนยูโรเมื่อเทียบกับดอลลาร์จากการคาดการณ์ที่เพิ่มขึ้นว่า
ธนาคารกลางยุโรป (ECB) จะดำเนินการมากขึ้นเพื่อควบคุมวิกฤติหนี้ยุโรป


ซึ่งมีข่าวบวกจากยุโรปเข้ามาเมื่อคืนนี้ โดย นางอัง​เกลา ​แมร์​เคล นายกรัฐมนตรีเยอรมัน
แถลงการณ์สนับสนุนแผนการซื้อพันธบัตรของอีซีบี
โดยกล่าวว่าแผนการดังกล่าวเป็นไปในทิศทางเดียวกับที่ผู้นำยุโรปคิด
จึงทำให้นักลงทุนมองว่าความเห็นดังกล่าวเป็นสัญญาณเชิงบวกบ่งชี้ว่า
เยอรมนีอาจใกล้ที่จะสนับสนุนการซื้อพันธบัตรของประเทศที่ประสบปัญหามากขึ้น
ทว่าตลาดเล่นเรื่อง ECB มานานมากแล้ว คาดว่าคำพูดของนางแมร์เคลจะไม่ส่งผลบวกมากๆ ต่อตลาดแต่อย่างใด
พร้อมทั้งยังมีข่าวบวกอีกเรื่อง หลังมีกระแสข่าวว่าสเปนเตรียมเข้ารับการช่วยเหลือด้านการเงินในเดือนหน้า
(6 ก.ย. ประชุม ECB ส่วน 12-14 ก.ย. ประชุมรัฐมนตรีคลังยุโรป)

ส่วนในสหรัฐฯ ยังมีความสับสนในเรื่อง QE3 ค่อนข้างมาก
ไม่ว่าจะเป็นจากตัวเลขเศรษฐกิจหรือจากผู้กำหนดนโยบายเอง
โดยประกาศตัวเลขยอดขอรับสวัสดิการว่างงานที่ออกมา 366,000 ตำแหน่ง
ซึ่งเพิ่มขึ้นจากงวดก่อนและสูงกว่าที่คาดไว้
ส่วนยอดเริ่มสร้างบ้านเดือน ก.ค. ต่ำกว่าคาด แต่คำขออนุญาตก่อสร้างกลับเพิ่มขึ้นมากกว่าคาด
โดยตัวเลขการเริ่มสร้างบ้านในเดือน ก.ค. อยู่ที่ 746,000 ยูนิต ลดลง 1.1% จากเดือน มิ.ย.
กระนั้น ตัวเลขดังกล่าวยังนับว่าแข็งแกร่งพอควร ทว่าก็บ่งชี้ว่าตลาดที่อยู่อาศัยของสหรัฐยังไม่ฟื้นตัวเต็มที่
แม้ว่าจะเริ่มมีสัญญาณที่ดีขึ้นบ้างก็ตาม
ส่วนเชิงนโยบาย เมื่อคืนนี้มีผู้ว่าเฟดถึง 3 คนออกมาคัดค้านการทำ QE3
(จากฟิลาเดลเฟีย, แคนซัส และมินนาโปลิส)
ส่งผลให้นักลงทุนต้องติดตามในสัปดาห์หน้าต่อ ซึ่งจะมีรายงานประชุมเฟดออกมาในวันที่ 21 ส.ค.
และน่าจะส่งสัญญาณที่ชัดเจนกว่านี้ต่อมาตรการดังกล่าว

ส่วนภาพรวมเศรษฐกิจอังกฤษเริ่มฟื้นตัวหลังจากยอดค้าปลีกพุ่งสูงขึ้น 0.3% จาก​เดือน มิ.ย.ที่ปรับขึ้น 0.8%
​และหาก​เทียบกับ​เดือน ก.ค.ปี 2554 ที่ยอดค้าปลีกพุ่งขึ้น 2.8%

ขณะที่ นายกรัฐมนตรีกรีซ จะจัดการประชุมกับผู้นำยูโรโซนในสัปดาห์หน้า
โดยกรีซจะรับประกันต่อผู้นำยูโรโซนว่าจะทำตามสัญญาในการออกมาตรการรัดเข็มขัดเพิ่มเติม
และจะประเมินว่าผู้นำยูโรโซนจะให้เวลาแก่กรีซมากยิ่งขึ้นในทำตามสัญญาหรือไม่
โดยจะเดินทางไปกรุงเบอร์ลินและกรุงปารีสเพื่อประชุมกับนายกรัฐมนตรีเยอรมนี
และประธานาธิบดีฝรั่งเศส โดยในช่วงต้นสัปดาห์หน้า ทั้งจะประชุมกับประธานยูโรกรุ๊ปด้วย
ด้าน นายคริสตอส สไตคูรัส รมช.คลังกรีซ เปิดเผยว่า
กรีซคาดว่าจะได้รับเงินช่วยเหลือระหว่างประเทศงวดถัดไป
ทันทีที่ผู้ปล่อยกู้มีคำตัดสินครั้งสุดท้ายกลางเดือนหน้า ซึ่งคาดว่าจะเป็นวันที่ 14 กันยายน ภายใต้มาตรการช่วยเหลือ
ทั้งนี้ นายสไตคูรัสกล่าวว่า กลุ่มทรอยก้าจะเดินทางมาที่กรุงเอเธนส์อีกครั้งในช่วงต้นเดือนหน้า
และจะทำการตรวจสอบให้แล้วเสร็จภายในกลางเดือนหน้า 

ส่วน ธนาคารกลางอิตาลี รายงานว่า
หนี้สาธารณะของอิตาลีพุ่งขึ้นแตะระดับสูงสุดเป็นประวัติการณ์ในเดือนมิถุนายนที่ระดับเกือบ 2 ล้านล้านยูโร
และยอดขาดดุลงบประมาณประจำปีของอิตาลีก็อยู่ในระดับสูงกว่าปีที่แล้ว โดยมีสาเหตุสำคัญ
จากการที่อิตาลีต้องจ่ายเงินสมทบมาตรการให้ความช่วยเหลือทางการเงินสำหรับประเทศอื่นๆ ในยูโรโซน
ทั้งนี้ ธนาคารกลางอิตาลียังระบุว่า
หนี้สาธารณะของอิตาลีในช่วงสิ้นเดือนมิถุนายนเพิ่มขึ้น 6.6 พันล้านยูโร สู่ระดับ 1.973 ล้านล้านยูโร
โดยขณะนี้หนี้อิตาลีมีสัดส่วนราว 123 % ของจีดีพี ซึ่งถือว่าสูงเป็นอันดับ 2 ของยูโรโซนโดยรองจากกรีซ
ทำให้นักลงทุนต่างชาติได้พากันลดการถือครองพันธบัตรรัฐบาลและตั๋วเงินคลังอิตาลีลงกว่า 25%
ส่งผลให้ปริมาณการลงทุนในตราสารหนี้รัฐบาลอิตาลีลดลงสู่ระดับต่ำสุดนับตั้งแต่ต้นปี 2548

ตัวเลขเศรษฐกิจที่สำคัญในวันนี้
• ดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภคขั้นต้นเดือน ส.ค. 20.55 น.
• ดัชนีชี้นำเศรษฐกิจสหรัฐฯ ของคอนเฟอเรนซ์ บอร์ดเดือน ก.ค. 21.00 น.

.

16 สิงหาคม 2555

เศรษฐกิจยูโรโซนจ่อปากเหว "ถดถอย"


เจอบทความที่น่าสนใจเลยนำเอามาฝากกัน เพื่อเป็นข้อมูลการเทรดในอนาคต
หรือไว้เล่นเก็งกำไรระยะสั้น หรือจะอยู่เฉยๆ นอกตลาดเพื่อรอดูทิศทางที่ชัดเจนขึ้นก็ตามแต่
ข่าวก็คือข่าว ซึ่งก็เป็นปัจจัยพื้นฐานที่ไม่ควรมองข้าม แม้นว่าจะชอบเทรดตามปัจจัยด้านเทคนิค

***

จีดีพียูโรโซนหดตัว 0.2% ในไตรมาสล่าสุด 
จ่อปากเหวภาวะถดถอยรอบ 2 
จับตาแรงสะเทือนต่อเศรษฐกิจโลก

ภาพประกอบจากกรุงเทพธุรกิจ

เศรษฐกิจของยูโรโซนกำลังไต่อยู่บนปากเหวภาวะถอดถอยรอบ 2 (double-dip recession)
หลังจีดีพีของกลุ่มสมาชิก 17 ประเทศที่ใช้เงินสกุลเดียวกันหดตัว 0.2% ในไตรมาส 2
และมีสิทธิฉุดลากเศรษฐกิจโลกให้พลอยย่ำแย่ไปด้วย
เศรษฐกิจของยูโรโซนที่มีมูลค่า 13 ล้านล้านดอลลาร์ กำลังหดตัว

แม้ขณะนี้ยูโรโซนจะยังหลบพ้นจากโหมดถดถอยทางเทคนิคไปได้
เพราะตัวเลขจีดีพีในไตรมาสแรกปีนี้อยู่ที่ศูนย์
จึงยังไม่เข้านิยามของภาวะถดถอยทางเทคนิคที่ตัวเลขจีดีพีต้องหดตัว 2 ไตรมาสติดต่อกัน
แต่เป็นไปได้มากที่เศรษฐกิจยูโรโซนอาจหดตัวต่ออีกในไตรมาส 3

นักเศรษฐศาสตร์อาวุโสจากศูนย์วิจัยเศรษฐกิจและธุรกิจ "ทิม โอเลนเบิร์ก" ระบุว่า
สถานการณ์ย่ำแย่ในยุโรป รวมถึงความเชื่อมั่นทางธุรกิจที่ลดลง
และการค้าที่ชะลอตัว กำลังฉุดลากเศรษฐกิจโลกให้ดิ่งลงไปด้วย
เท่ากับจีดีพีในยูโรโซนที่ติดลบในไตรมาส 2 เติมโมเมนตัมขาลงให้กับเศรษฐกิจโลก

นักเศรษฐศาสตร์หลายรายมองว่า เป็นไปได้ที่ภาวะ "ย่ำแย่" กำลังจะเปลี่ยนเป็น "เลวร้าย"
และแม้แต่เขตเศรษฐกิจขนาดใหญ่สุดของยุโรปก็อาจจะ "เอาไม่อยู่"
จนกว่าจะหามาตรการเด็ดขาดมารับมือกับวิกฤติหนี้ในยูโรโซนได้

นักวิเคราะห์จากคอมเมิร์ซ แบงก์ "ยอร์ก เครเมอร์" กล่าวว่า เศรษฐกิจของเยอรมนียังค่อนข้างแข็งแกร่ง
แต่ก็อาจยังไม่แข็งแรงพอที่จะประคับประคองยูโรโซนเอาไว้ได้เพียงลำพัง
และนี่อาจเป็นข่าวเชิงบวกระลอกท้ายๆ ที่ออกมาจากเมืองเบียร์
รวมถึงเป็นไปได้ที่เศรษฐกิจเยอรมนีจะหดตัวในช่วงไตรมาสถัดไป
ถึงแม้โครงสร้างพื้นฐานจะดี แต่เยอรมนีไม่สามารถแยกตัวเองออกมาจากภาวะถดถอยที่เกิดขึ้นในยูโรโซนได้
ยิ่งไปกว่านั้น เศรษฐกิจโลกก็เริ่มผ่อนเกียร์ลงแล้วด้วย

ตัวเลขเศรษฐกิจของเมืองเบียร์เริ่มสะท้อนเค้าลางของการติดหวัดจากวิกฤติหนี้ยูโรโซน
ไม่ว่าจะเป็นเศรษฐกิจที่ผ่อนฝีเท้าลง ภาคการผลิตที่ชะลอตัวลง
การลงทุนด้านธุรกิจในช่วงครึ่งปีแรกที่ลดลงท่ามกลางบรรยากาศในยุโรปที่ยังมืดมน

ด้านนักเศรษฐศาสตร์จากเอบีเอ็น แอมโร "เอไลน์ ชูลิ่ง" ให้ความเห็นว่า
สิ่งต่างๆ ตอกย้ำแนวคิดที่ว่า ยูโรโซนกำลังเดินสู่ภาวะถดถอย ซึ่งเห็นได้จากวงจรอุบาทว์ที่เกิดขึ้น
ไม่ว่าจะเป็นการปรับลดงบประมาณ การขึ้นอัตราดอกเบี้ยในกลุ่มประเทศชายขอบของยูโรโซน
และหนี้สาธารณะที่พุ่งสูง ยิ่งผู้กำหนดนโยบายดำเนินการช้ามากเท่าไร
เราก็คาดการณ์ถึงการหดตัวทางเศรษฐกิจที่อาจเกิดขึ้นในไตรมาส 3

ส่วนเศรษฐกิจของ "ฝรั่งเศส" พี่บิ๊กยุโรปอีกราย ไม่ขยับจากระดับ 0% เป็นเวลา 3 ไตรมาสติดต่อกัน
และธนาคารกลางแดนน้ำหอมประเมินว่าอาจหดตัวเล็กน้อยในไตรมาสถัดไป
เมื่อดูตัวเลขเศรษฐกิจสำคัญๆ ก็ไม่ค่อยสดใส
ไม่ว่าจะเป็นการใช้จ่ายของผู้บริโภคที่เคยเป็นหัวเรี่ยวหัวแรงของระบบเศรษฐกิจฝรั่งเศสก็ดิ่งลง
ผู้บริโภคพากันลดรายจ่ายเพราะคาดว่าคงหนีไม่พ้นมาตรการรัดเข็มขัดของรัฐบาลในเร็วๆ นี้
รวมทั้งตัวเลขการว่างงานที่แตะระดับ 10%

นี่ทำให้ภาคธุรกิจของแดนน้ำหอม อย่างบริษัทผลิตรถยนต์ต้องปรับลดปริมาณการผลิต
เพื่อไม่ให้สต๊อกสินค้าบวมท่ามกลางยอดขายที่อืดเป็นเรือเกลือ

"เปอโยต์-ซีตรอง" หั่นยอดผลิตในโรงงานประกอบที่ฝรั่งเศส 16% ส่วนเรโนลต์ผลิตรถน้อยลง 6%

ขณะที่ประเทศทางตอนใต้ที่กำลังเผชิญวิกฤติหนี้อย่างรุนแรง ภาพความมืดมนยังคงดำเนินต่อไป
ควบคู่กับเศรษฐกิจที่หดตัว รายได้จากภาษีที่ลดลง ยิ่งทำให้การหั่นงบประมาณเป็นได้ยากมากขึ้น

ดูอย่างประเทศที่ขอรับความช่วยเหลือทางการเงินไปแล้ว
ทั้งโปรตุเกส ซึ่งกำลังประสบภาวะถดถอยที่หยั่งลึกมากขึ้น
โดยจีดีพีไตรมาสล่าสุดหดตัวมากถึง 1.2%
ส่วนเศรษฐกิจกรีซหดตัวหนักถึง 6.2% และเผชิญแรงกดดันในการรัดเข็มขัดเพิ่มเติม
เพื่อให้เป็นไปตามเกณฑ์ขอรับความช่วยเหลือทางการเงินรอบใหม่
เนื่องจากกรีซต้องการเงินสดสำหรับจ่ายเงินเดือนและบำเหน็จบำนาญ
รวมถึงค่าใช้จ่ายต่างๆ ท่ามกลางเงินในคลังที่ร่อยหรอลงเรื่อยๆ

เอเธนส์ เพิ่งประมูลขายตราสารหนี้ระยะสั้น เพื่อระดมเงินราว 4.06 พันล้านยูโร
หรือประมาณ 5.01 พันล้านดอลลาร์ สำหรับจ่ายหนี้พันธบัตรที่จะครบกำหนดไถ่ถอนในสัปดาห์หน้า
ซึ่งกรีซจำเป็นต้องชำระหนี้คืนแก่ธนาคารกลางยุโรป หรืออีซีบี ราว 3.2 พันล้านยูโร (3.9 พันล้านดอลลาร์)
ภายในวันที่ 20 สิงหาคม ถึงแม้วิธีนี้จะยิ่งทำให้ต้นทุนกู้ยืมของกรีซเพิ่มขึ้น

เช่นเดียวกับประเทศที่เป็นศูนย์กลางความกังวล
และจ่อเข้าคิวขอความช่วยเหลืออย่างอิตาลีและสเปนก็ออกอาการไม่สู้ดี
ไตรมาสล่าสุด เศรษฐกิจโรมหดตัว 0.7% ซึ่งเป็นการหดตัวต่อเนื่อง 4 ไตรมาส
และเศรษฐกิจสเปนหดตัว 0.4% เป็นการหดตัว 3 ไตรมาสติดกัน
กรณีของอิตาลีและสเปนยิ่งเผชิความท้าทาย 
ว่าจะทำอย่างไรให้เศรษกิจเติบโต ในขณะที่ต้นทุนการกู้ยืมสูงขึ้น

ร้านรวงในอิตาลีพยายามดิ้นรนอย่างหนักที่จะขายสินค้าให้ได้ แม้ต้องยอมหั่นราคาลงถึง 80%
แต่ดูเหมือนนักช็อปก็ยังเดินเข้าร้านเพื่อตากแอร์เย็นๆ มากกว่าจะตั้งใจซื้อสินค้าอย่างจริงๆ จังๆ
ส่งผลให้ร้านค้านับพันแห่งต้องปิดตัวลง เช่นเดียวกับธุรกิจท่องเที่ยวที่ได้รับผลกระทบ
เพราะชาวอิตาลี 30% ไม่เดินทางไปพักผ่อนหย่อนใจในเวลาที่เงินตึงมือเช่นนี้


ที่มา  : กรุงเทพธุรกิจ



ข่าวฟอเร็กซ์ 16 ส.ค.

เนื่องจากยังไม่มีปัจจัยหนุนตลาดใหม่ๆ เข้ามา ขณะที่ตัวเลขเศรษฐกิจของสหรัฐฯ เมื่อคืนนี้ก็ยังไร้ทิศทาง
ตลาดหุ้นโลกยังอยู่ในช่วงแกว่งในกรอบจำกัด โดยปัจจัยที่เข้ามาตอนนี้ยังไม่มีอัพเดทอะไรใหม่จากยุโรป
ทำให้ตลาดทั่วโลกยังอยู่ในจังหวะรอข่าวใหม่อย่างใจจดใจจ่อ
เนื่องจากนักลงทุนยังคงมีความหวังต่อมาตรการซื้อพันธบัตรของ ECB ในเดือน ก.ย.
กอปรกับยูโรโซนยังไม่มีข่าวร้ายใดๆ ออกมาในช่วงนี้
ขณะที่ต้นทุนหนี้ที่เพิ่มขึ้นของประเทศเศรษฐกิจสำคัญในกลุ่มอย่างอิตาลีและสเปน
ยังถือเป็นประเด็นที่เปราะบางและส่งผลต่อเสถียรภาพในยูโรโซนเป็นอย่างมาก

ส่วนฝั่งสหรัฐฯ ก็ยังมีแนวโน้มที่ว่า QE3 จะเลื่อนออกไปจากที่ตลาดเคยคาดไว้ว่าจะเกิดขึ้นในเดือน ก.ย.
ทว่านักลงทุนยังมีการเก็งกำไรเรื่องมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจจากเฟดเช่นเดิม
โดยลักษณะการหยิบยกประเด็นขึ้นมาเก็งกำไรนั้นยังดูเป็นการเก็งกำไรตามอารมณ์ตลาด
ส่วนเมื่อคืนนี้ตัวเลขเงินเฟ้อสหรัฐฯ เดือน ก.ค. ลดลงสู่ 1.4% จากช่วงเดียวกันของปีก่อนก็จริง
แต่เงินเฟ้อพื้นฐานยังอยู่ที่ 2.1% จากช่วงเดียวกันของปีก่อน
ถือว่าค่อนข้างต่ำ แต่ว่ายังต่ำไม่พอที่เฟดจะประกาศ QE3 ได้ในทันที
ซึ่งรายงานตัวเลขเศรษฐกิจต่างๆ ของสหรัฐฯ ในช่วงค่ำที่ผ่านมานั้น
มีผลต่อการเคลื่อนไหวของตลาดการเงินโดยรวมค่อนข้างน้อย
ส่งผลให้การเคลื่อนไหวของราคาทองและตลาดสินทรัพย์อื่นๆ มีการแกว่งตัวในกรอบแคบ


ขณะที่ประเด็นหลักในการซื้อขายคือ
เรื่องทิศทางแนวโน้มเศรษฐกิจโลกและแนวโน้มการเข้าช่วยเหลือจากธนาคารกลางต่างๆ
โดยเฉพาะเฟด อีซีบี และจีน ยังส่งผลสร้างความผันผวนให้กับบรรยากาศการลงทุนอย่างต่อเนื่อง

องค์การเพื่อความร่วมมือและพัฒนาเศรษฐกิจ (OECD) เปิดเผยรายงานว่า
เยอรมนีอาจมียอดเกินดุลการค้ามากที่สุดในโลกถึง 2.00 แสนล้านดอลลาร์ในปีงบประมาณ 2555
ทั้งนี้  ผู้อำนวยการฝ่ายการค้าต่างประเทศของสมาคมหอการค้าและอุตสาหกรรมเยอรมนี (GCIC) กล่าวว่า
ข้อได้เปรียบโดยรวมด้านการแข่งขันและคุณภาพของการส่งออกสินค้าของเยอรมนียังคงมีอยู่ต่อเนื่อง
แม้ว่าจะเผชิญวิกฤตหนี้ยูโรโซนที่ยืดเยื้อก็ตาม ทว่ายอดเกินดุลการค้าของเยอรมนีจะยังคงเพิ่มขึ้น
โดยมีแรงหนุนจากอัตราแลกเปลี่ยนเงินยูโรที่อ่อนค่าลงและราคาสินค้าโภคภัณฑ์ที่ร่วงลง

ธนาคารบังโก บิลเบา บิสกายา อาร์เจนตาเรีย ของสเปน
ประเมินว่า
อัตราว่างงานของสเปนอาจพุ่งแตะระดับ 26% ในปี 2556
ซึ่งเป็นอัตราที่สูงกว่าตัวเลขในปัจจุบันที่อยู่ที่ 24.63%
นอกจากนี้ ยังคาดว่าเศรษฐกิจสเปนจะหดตัวราว 1.4% ในปีนี้ สูงกว่าการคาดการณ์ก่อนหน้าที่ที่ 1.3%
และจีดีพีในไตรมาสสุดท้ายของปีนี้อาจหดตัว 0.4% ทำสถิติหดตัวต่อเนื่องกัน 4 ไตรมาส

กระทรวงการคลังสหรัฐฯ รายงานว่า
รัฐบาลกลางสหรัฐฯ มียอดขาดดุลงบประมาณประจำเดือนกรกฎาคมที่ 6.96 หมื่นล้านดอลลาร์สหรัฐฯ
ส่งผลให้ยอดขาดดุลงบประมาณของรัฐบาลกลางสหรัฐฯ ในช่วง 10 เดือนแรกของปีนี้
อยู่ที่ 9.738 แสนล้านดอลลาร์สหรัฐฯ โดยลดลง 11.5% จากช่วงเวลาเดียวกันของปีที่แล้ว
ทั้งนี้ สำนักงานงบประมาณแห่งสภาคองเกรสสหรัฐ (CBO) คาดว่า
ตัวเลขหนี้สินของรัฐบาลสหรัฐฯ จะเพิ่มขึ้นทะลุ 70% ของ GDP ในสิ้นปีนี้
ซึ่งถือเป็นระดับสูงสุดนับตั้งแต่ช่วงหลังสงครามโลกครั้งที่ 2

ตัวเลขเศรษฐกิจที่สำคัญในวันนี้
• ตัวเลขดัชนีราคาผู้บริโภคพื้นฐานรายเดือนของยุโรป 16.00 น.
• ตัวเลขคนว่างงานที่ขอสวัสดิการจากภาครัฐในสหรัฐฯ  19.30 น.
• ตัวเลขใบอนุญาตสร้างบ้านในสหรัฐฯ 19.30 น.
• ตัวเลขดัชนีการผลิตของสหรัฐฯ  21.00 น.


.

15 สิงหาคม 2555

ข่าวฟอเร็กซ์ 15 ส.ค.


สัปดาห์นี้ ดูเหมือนค่าเงินดอลลาร์สหรัฐฯ ยังทรงตัวและไม่ได้บอกทิศทางที่ชัดเจนมากนัก
ในขณะที่ตัวเลขค้าปลีกของสหรัฐฯ ออกมาดีเกินคาด ส่งผลให้ค่าเงินดอลลาร์กลับมาแข็งค่าเล็กน้อย
โดยประเด็นที่อาจมาหล่อเลี้ยงตลาดในช่วงถัดไปคือ
การประชุมของธนาคารกลางสหรัฐฯ (FED) ในวันที่ 31 ส.ค. ที่ Jackson Hole
ซึ่งตลาดคาดว่าอาจมีการส่งสัญญาณถึง QE3 ก่อนการประชุม FOMC 12 ก.ย.
กระนั้นก็ถือได้ว่ายังห่างอีกถึง 2 สัปดาห์

สกุล​เงินดอลลาร์สหรัฐ​ฯ แข็งค่าขึ้น
หลังจากกระทรวงพาณิชย์ของสหรัฐ​ฯ เปิด​เผยว่า
ยอดค้าปลีก​เดือนก.ค.ของสหรัฐฯ ขยายตัว 0.8% ​
ทำสถิติขยายตัวสูงสุด​ในรอบ 4 ​เดือน
ขณะที่ดัชนีราคาผู้ผลิต (PPI) เดือนก.ค. ก็ปรับตัวเพิ่มขึ้น 0.3%
ซึ่งเป็นระดับการเพิ่มขึ้นที่เร็วที่สุดในรอบครึ่งปี
ส่งผลให้บดบังความคาดหวังสำหรับการกระตุ้นเศรษฐกิจเพิ่มเติมจากเฟด


ด้านสกุล​เงินยู​โรอ่อนค่าลง​เมื่อ​เทียบกับดอลลาร์สหรัฐฯ ​ ​
เนื่องจากนักลงทุนเริ่มวิตกกังวล​เกี่ยวกับทิศทาง​เศรษฐกิจของยู​โร​โซน
หลังจากมีรายงานว่า​เศรษฐกิจยู​โร​โซนหดตัวลง​ใน​ไตรมาส 2 ปีนี้
โดยรวมแล้ว ยุโรปถือว่าเข้าสู่การชะลอตัวทางเศรษฐกิจและเป็นปัจจัยลบกดดันให้ค่าเงินยูโรอ่อนค่าลง
ทั้งยังไม่รับแรงหนุนจากความหวังมาตรการจากธนาคารกลางยุโรป หรือ ECB
โดยการประกาศตัวเลขเศรษฐกิจทางฝั่งยุโรปเมื่อวานนี้
GDP ไตรมาสที่ 2 ของเยอรมนีขยายตัว 0.3% มากกว่าที่คาดการณ์ไว้ว่าจะขยายตัวเพียง 0.2%
อย่างไรก็ตาม ตัวเลขที่ออกมายังต่ำกว่าไตรมาสก่อนที่ระดับ 0.5%
ส่วน GDP ไตรมาสที่ 2 ของฝรั่งเศสออกมาที่ระดับ 0% มากกว่าการคาดการณ์ว่าจะหดตัวลง 0.1%
ขณะที่ตัวเลขความเชื่อมั่นนักลงทุนของเยอรมนีประจำเดือนสิงหาคม
ซึ่งออกมาน่าผิดหวังอย่างมากที่ระดับติดลบ 25.5 ลดลงไปมากจากเดิมที่ติดลบ 19.6
เช่นเดียวกันกับการผลิตภาคอุตสาหกรรมของสหภาพยุโรปที่ออกมาติดลบ 0.6%

กรีซยังเป็นประเทศที่แย่ที่สุดมากกว่าที่เห็นจากภายนอก
ซึ่งประชาชนเริ่มหวังว่ากรีซจะออกจากสหภาพยุโรป เพื่อตั้งสกุลเงินของตนเองและจ่ายหนี้สินอันเป็นภาระได้
เนื่องจากสามารถลดค่าเงินของตนเองและง่ายต่อการชำระหนี้ที่มากกว่า 4 แสนล้านดอลลาร์
ทว่าการออกจากสหภาพยุโรปและกลับมาใช้สกุลเงินดรักมานั้น อาจจะไม่แก้ปัญหาทั้งหมดของกรีซ

ไมเคิล ฟัชส์ รองเลขาธิการพรรคคริสเตียน เดโมแครต (ซีดียู) ของนายกรัฐมนตรีเยอรมนี เตือนว่า
เยอรมนีจะไม่ลังเลที่จะใช้สิทธิ "วีโต" หรือยับยั้งมติการอนุมัติเงินช่วยเหลือรอบใหม่แก่กรีซ
หากพิจารณาแล้วว่า กรีซไม่ทำตามเงื่อนไขเงินกู้อย่างเคร่งครัด แม้ว่าชาติอื่นจะอนุมัติเงินช่วยดังกล่าวก็ตาม
ความเคลื่อนไหวดังกล่าวชี้ให้เห็นว่า พรรครัฐบาลร่วมเยอรมนี
ซึ่งเป็นฝ่ายอนุรักษนิยมเริ่มหมดความอดทนกับแผนจัดการวิกฤตหนี้ของนางแมร์เกิล
โดยต่างกดดันและเรียกร้องให้นายกรัฐมนตรีตัดสินใจเด็ดขาดต่อประเทศที่ไร้ระเบียบวินัยทางการคลัง
และไม่ต้องสนใจผลกระทบที่จะตามมา
“โดยส่วนตัวคิดว่า รัฐบาลกรีซรู้ว่าควรจะทำอะไรถ้าพวกเขาไม่สามารถปฏิรูปเศรษฐกิจตามเงื่อนไขได้ 
เพราะเยอรมนีเดินมาถึงจุดที่เกินจะอุ้มไหวแล้ว” ฟัชส์ กล่าว

อย่างไรก็ตาม เยอรมนีจะรอฟังผลตัดสินของคณะตรวจสอบทรอยก้า ที่ประกอบด้วย
ผู้ตรวจสอบของสหภาพยุโรป (อียู) กองทุนการเงินระหว่างประเทศ (ไอเอ็มเอฟ) และธนาคารกลางยุโรป (อีซีบี)
ซึ่งมีกำหนดประเมินผลสถานะการเงินของกรีซ ที่ในไตรมาส 2 ของปีหดตัวอีกถึง 6.2%
เพื่ออนุมัติเงินช่วยเหลือรอบใหม่มูลค่า 1.3 แสนล้านยูโรในเดือน ก.ย.นี้ ก่อนจะดำเนินการใดๆ ต่อไป

ด้านความเคลื่อนไหวมาตรการแก้หนี้ของอียู ยังคงไม่มีความคืบหน้าเพิ่มเติมใดๆ
เนื่องจากยังคงมีความขัดแย้งระหว่างผู้กำหนดนโยบายของธนาคารกลางยุโรป
ต่อแผนการเข้าซื้อพันธบัตรรัฐบาลที่กำลังมีปัญหาด้านการระดมทุน
“ไม่มีเหตุผลเลยที่อีซีบีจะเริ่มเข้าซื้อพันธบัตร เพราะจะยิ่งทำให้อีซีบีต้องแบกรับภาระหนี้สินของทั้งสเปนและอิตาลี ซึ่งจะทำให้คุณภาพงบดุลบัญชีของอีซีบีเสื่อมถอยลง” ลุค โคเนน คณะกรรมการ ECB กล่าว

มีข้อมูลจากธนาคารกลางสเปนระบุเมื่อวานนี้ว่า
ธนาคารต่างๆ ของสเปนได้กู้ยืมเงินจากอีซีบีในเดือนกรกฎาคมแตะระดับ 4.02 แสนล้านยูโร
ส่งผลให้สเปนยังคงอยู่ห่างไกลจากการกลับเข้าสู่ตลาดทุน
และเพิ่มแรงกดดันไม่ให้สเปนหลีกเลี่ยงจากการรับความช่วยเหลือทางการเงินได้
โดยสเปนมีการกู้ยืมเพิ่มขึ้น 10% จากเดือนมิถุนายนที่กู้ยืมไว้ 3.65 แสนล้านยูโร


ตัวเลขเศรษฐกิจที่น่าสนใจวันนี้ :
• ธนาคารกลางอังกฤษ​เผย​แพร่รายงาน​การประชุมคณะกรรม​การน​โยบาย​การ​เงิน (MPC) ​เดือนส.ค. 15.30 น. 
• ตัวเลขอัตราว่างงานของอังกฤษ​เดือนก.ค. 15.30 น.                        
• สมาคมธนาคาร​เพื่อ​การจำนองของสหรัฐฯ (MBA) เผยผลสำรวจ​การยื่นขอสิน​เชื่อจำนองรายสัปดาห์ 18.00 น.   
• ตัวเลขดัชนีราคาผู้บริโภค (CPI) ของสหรัฐฯ เดือนก.ค. 19.30 น.                         
• ตัวเลขผลผลิตอุตสาหกรรมของสหรัฐฯ ​เดือนก.ค. 20.15 น.       
• ตัวเลขดัชนีตลาดที่อยู่อาศัย​เดือนส.ค.จากสมาคม​ผู้สร้างบ้าน​แห่งชาติ (NAHB) ของสหรัฐฯ 21.00 น.           
• สำนักงานสารสน​เทศด้านพลังงานสหรัฐ (EIA) ​เผยสต็อกน้ำมันรายสัปดาห์ 21.30 น.  

.


14 สิงหาคม 2555

ข่าวฟอเร็กซ์ 14 ส.ค.


ปัจจัยแวดล้อมตลาดโดยรวมดูจะยังไม่เปลี่ยนแปลงไปมาก
โดยที่ความกังวลหลักของนักลงทุนยังคงเป็นเรื่องการชะลอตัวของเศรษฐกิจโลก
ซึ่งท่ามกลางความวิตกทั้งหลายกลับมีความคาดหวังเรื่องมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจ
จากหลายๆ ประเทศเป็นตัวช่วยประคอง หรือเป็นแรงผลักดันการฟื้นตัวของตลาดในบางช่วง
แม้ว่าตอนนี้ค่าเงินดอลลาร์สหรัฐฯ ยังค่อนข้างทรงตัว จึงยังไม่สะท้อนภาพการออกมาตรการฯ ในเร็วๆ นี้
แต่แนวโน้มที่ดอลลาร์สหรัฐฯ จะอ่อนค่าอาจมีมากขึ้นตามลำดับ
ตราบเท่าที่ตลาดยังเต็มไปด้วยความคาดหวังต่อมาตรการ QE3

ขณะที่สหรัฐฯ ได้มีคำสั่งให้ธนาคารใหญ่ทั้ง 5 วางแผนฟื้นฟูเพื่อสามารถรับมือกับสถาการณ์ที่เลวร้ายที่สุด
โดยไม่ต้องพึ่งพาความช่วยเหลือจากรัฐบาลสหรัฐฯ จึงเริ่มสะท้อนความอ่อนแอในระบบธนาคาร

ด้านยูโรโซน ยังไม่มีพัฒนาการเรื่อง ECB ซื้อพันธบัตรของประเทศยุโรป
ซึ่งเป็นเรื่องที่เก็งกำไรกันมาตั้งแต่สัปดาห์ก่อนแล้ว
ต้องจับตาดูพัฒนาการของสถานการณ์ในยุโรปหลังจากนายกรัฐมนตรีเยอรมันกลับมาจากพักร้อนยาว
ว่านาง​แอง​เกลา ​แมร์​เคิล น่าจะแสดงจุดยืนที่ชัดขึ้นต่อการให้ ECB เข้าแทรกแซงตลาดพันธบัตร
เพื่อช่วยประเทศที่กำลังมีปัญหาอยู่หรือไม่
ขณะที่ผลประโยชน์และข้อเสียเปรียบของการแทรกแซงจาก ECB นั้น
กำลังอยู่ภายใต้การถกเถียงกันในกลุ่มนักการเมืองและกลุ่มรัฐมนตรีคลังของยุโรป
โดยยังคงมีการกล่าวต่อต้านการเข้าซื้อพันธบัตรสเปนและอิตาลีของอีซีบี ซึ่งมีการระบุว่า
แม้ว่าการเข้าซื้อพันธบัตรโดยอีซีบีจะสามารถลดความตึงเครียดในตลาดได้ในระยะสั้น
แต่จะมีผลกระทบทางด้านเงินเฟ้อมาในระยะยาว

ด้านธนาคารกลางอังกฤษ (BOE) ปรับลดคาดการณ์เศรษฐกิจอังกฤษปี 2555
เป็นขยายตัวราว 0% จากคาดการณ์เดิมที่ขยายตัว 0.8%
ทั้งนี้ BOE ระบุว่าเศรษฐกิจอังกฤษที่ซบเซาอาจส่งผลให้ต้องเพิ่มเพดานมาตรการ Quantitative Easing
(QE) ในการเข้าซื้อพันธบัตรรัฐบาลเป็น 500 พันล้านปอนด์ในอนาคตอันใกล้นี้



ติดตามดูตัวเลขเศรษฐกิจที่สำคัญในวันนี้
• ตัวเลขจีดีพีเบื้องต้นรายไตรมาสและดัชนีราคาผู้บริโภครายเดือนในฝรั่งเศส 12.30 น.
• ตัวเลขจีดีพีเบื้องต้นรายไตรมาสในเยอรมัน 13.00 น.
• ตัวเลขการจ่ายค่าจ้างนอกภาคการเกษตรเบื้องต้นรายไตรมาสในฝรั่งเศส 13.45 น.
• ตัวเลขดัชนีราคาผู้ผลิตในสวิตฯ  14.15 น.
• ตัวเลขดัชนีราคาผู้บริโภครายปีในอังกฤษ 15.30 น.
• ZEW ​เผยดัชนี​ความ​เชื่อมั่นทาง​เศรษฐกิจของ​เยอรมนี 16.00 น.
• ตัวเลขแนวโน้มเศรษฐกิจในยุโรป 16.00 น.
• ตัวเลขจีดีพีรายไตรมาสและตัวเลขการผลิตภาคอุตสาหกรรมรายเดือนในยุโรป 16.00 น.
• ตัวเลขยอดค้าปลีก ดัชนีราคาผู้ผลิตในสหรัฐฯ 19.30 น.
• ตัวเลขคลังสินค้ารายเดือนในสหรัฐฯ  21.00 น.

***

ปัจจัยเสี่ยง..วิกฤตศก.โลกรอบใหม่ จับตาปัญหายูโรโซน-ศก.สหรัฐ-การชะลอตัวศก.จีน


เพื่อต่อยอดองค์ความรู้ในเรื่องนี้ให้กับผู้บริหารและบุคลากรภายในเครือเจริญโภคภัณฑ์
หลังจากที่สำนักกฎระเบียบการค้าได้เคยจัดสัมมนา เรื่อง
เศรษฐกิจอเมริกา-ยุโรป : วิกฤตเศรษฐกิจโลกรอบใหม่? เมื่อเดือนกันยายน 2554 ไปแล้ว
สำนักฯ จึงได้เชิญ “ดร.บันลือศักดิ์ ปุสสะรังษี” ผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการใหญ่
สำนักวิจัย สายบริหารความเสี่ยง  ธนาคาร ซีไอเอ็มบี ไทย จำกัด (มหาชน)
ซึ่งเป็นผู้เชี่ยวชาญด้านการเงินและธนาคาร วิเคราะห์เศรษฐกิจมหภาคให้ช่วยมาบรรยายเรื่อง
“จับตาปัญหายูโรโซน วิกฤตเศรษฐกิจโลกรอบใหม่?”
ซึ่งทำให้เห็นภาพชัดเจนยิ่งขึ้นว่า สิ่งที่เศรษฐกิจไทยต้องเผชิญหน้าในปีนี้นั้นไม่ธรรมดาทีเดียว
(ตามต่อ คลิก "อ่านเพิ่มเติม")

13 สิงหาคม 2555

โอลิมปิกปิดฉาก

วันนี้ ปัจจัยข่าวสารคงไม่มีอะไรส่งผลต่อค่าเงินมากนัก
ราคาอาจเคลื่อนไหวในกรอบ คงต้องเทรดกันตามเทคนิเคิลเฉพาะตัวกัน
โดยช่วงเช้า ผลิตภัณฑ์มวลรวมภาย​ในประ​เทศญี่ปุ่น
ขยายตัวขึ้น 0.3% จากสถิติ​เดือนม.ค.-มี.ค. ซึ่งน้อยกว่าไตรมาสก่อน
ขณะช่วงบ่ายโมง สำนักงานสถิติแห่งชาติของเยอรมนีจะเปิดเผยตัวเลขดัชนีราคาค้าส่ง

ทิศทางข่าวสำคัญๆ น่าจะเป็นวันพรุ่งนี้เป็นต้นไป ซึ่งมีตัวเลขเศรษฐกิจที่จะประกาศหลากหลาย
โดยเฉพาะวันอังคาร ข่าวทั้งอังกฤษ ยุโรป และอเมริกา จึงต้องระมัดระวังในการเทรด

และแล้วมหกรรมกีฬาของมวลมนุษยชาติโอลิมปิก “ลอนดอนเกมส์” ก็ได้รูดม่านปิดฉากลง
โดยทัพนักกีฬาไทยคว้ามาได้ 2 เหรียญเงิน กับ 1 เหรียญทองแดง
แบ่งเป็นยกน้ำหนักหญิงหนึ่งเหรียญเงินจาก "น้องแต้ว" พิมศิริ ศิริแก้ว
ส่วนอีกหนึ่งเหรียญเงินจากมวยสากลสมัครเล่นรุ่นไลท์ฟลายเวท "แก้ว พงษ์ประยูร"
และหนึ่งเหรียญทองแดงจากเทควันโด "น้องเล็ก" ชนาธิป ซ้อนขำ สาวน้อยจากพัทลุง

แก้ว พงษ์ประยูร เหรียญเงินจากมวยสากลสมัครเล่นรุ่นไลท์ฟลายเวท


ดูสรุปเหรียญทั้งหมดได้ที่ สรุปเหรียญโอลิมปิก 2012
โดยประเทศไทยอยู่อันดับ 60

ยังอยู่ในช่วงวันแม่ และวันนี้ก็เป็นวันหยุดชดเชย
หลายคนอาจเลือกจังหวะและหาโอกาสเทรดเก็บกำไรสั้นๆ
หรือจะเลือกอยู่นอกตลาดแล้วไปเที่ยวก็ผ่อนคลายอีกสักหนึ่งวัน

.




11 สิงหาคม 2555

5 ขั้นในการเป็นนักเทรด

ยามมีเวลาว่างๆ ผมมักอ่าน ชีวิต Trader ก่อนสู่ Level 5   เพื่อทบทวนและไตร่ตรองอะไรบางอย่าง
ทุกสิ่งทุกอย่างย่อมมีบททดสอบเสมอ ถ้าใจยังไหว...ยังสู้...ยังไม่ยอมแพ้...ก็ต้องก้าวกันต่อไป...
ที่นี้...เรามาศึกษาหัวข้อ "5 ขั้นในการเป็นนักเทรด" เพื่อต่อยอดความคิดและเสริมสร้างกำลังใจ
เส้นทาง "เทรดเดอร์อิสระ" นั้น ต้องใช้ความอดทน อดกลั้น ความมีวินัย และเวลาเสมอ


 
5 ขั้นในการเป็นนักเทรด

ขั้นเเรก - ไร้สติเเละไร้คุณสมบัติ
นี้เป็นขั้นเเรกของนักเทรดทุกคนเมื่อคิดที่จะเริ่มเทรด
ท่านรู้ว่าการเทรดเป็นการหาเงินที่ดี
เพราะท่านได้ยินใครๆ ก็พูดถึงเรื่องของนักเทรดที่เป็น millionaire
เหมือนกับท่านเริ่มคิดที่จะขับรถทุกอย่างดูเหมือนง่าย มันไม่น่าจะยากอะไรขนาดนั้น
เหมือนกับการเทรดราคามีเเค่ขึ้นกับลง
มันจะมีความลับอะไรกันมากมาย ท่านเลยคิดว่าเทรดเลยดีกว่าไม่น่าจะยาก
เเต่เช่นเดียวกับการขับรถเมื่อท่านจับพวงมาลัยครั้งเเรก ท่านถึงได้รู้ว่าท่านไม่รู้อะไรเลย

ท่านเปิดออเดอร์มากมาย เเละรับความเสี่ยงสูง
พอท่านเปิดซื้อกราฟก็ตก พอท่านสั่งขายกราฟก็ขึ้นเป็นอยู่อย่างนี้
บางทีท่านอาจจะประสบความสำเร็จนั้นเป็นสิ่งที่เลวร้ายที่สุด
เพราะในสมองของท่านจะคิดว่าการเทรดเป็นเรื่องง่าย
เเล้วท่านก็จะเพิ่มความเสี่ยงขึ้น เเละลงเงินมากขึ้นไปอีก
ท่านพยายามที่จะเปลี่ยนการจากออเดอร์ที่เสียด้วยการดับเบิ้ลเงินลงไป
ทุกครั้งในการเทรด
บางครั้งท่านก็รอดมาได้ เเต่ไม่บ่อยครั้งที่จะผ่านมาเเบบไม่เสีย

ท่านยังไม่คิดว่าท่านไม่มีความสามารถในการเทรด
ขั้นตอนนี้กินเวลาอาทิตย์ถึงสองอาทิตย์ ก่อนที่ท่านจะย้ายไปอีกขั้นหนึ่ง...


ขั้นสอง - มีสติเเต่ขาดคุณสมบัติ
ขั้นตอนสองคือ ท่านทราบการเทรดนั้นต้องมีการวางเเผน เเละลงมือลงเเรง
จิตใต้สำนึกท่านทราบว่าท่านเป็นนักเทรดที่ขาดคุณสมบัติ
ท่านไม่มีทักษะหรือความเข้าใจอย่างถ่องแท้ในการทำกำไรในตลาดเงิน
ท่านเริ่มที่จะหาซื้อระบบการเทรดและ e-book
ท่านหาหนังสืออ่านตามเว็บไซต์ทุกที่จากสหรัฐอเมริกาถึงยูเครน
ช่วงนี้ท่านเริ่มต้นค้นหาอินดี้หรือระบบศักดิ์สิทธิ์
ขณะนี้ท่านจะย้ายจากระบบหนึ่งไประบบหนึ่ง อินดี้หนึ่งไปอินดี้หนึ่ง
ท่านจะเปลี่ยนจากวิธีนี้วัน วิธีนู้นอีกวัน และสัปดาห์โดยสัปดาห์ เพื่อจะดูว่ามันใช้ได้หรือไม่
เวลาที่ท่านเจออินดี้ตัวใหม่ ท่านจะมีความตื้นเต้น เเละคิดว่าอินดี้นี้ละสุดยอดเเล้ว
ท่านจะทดสอบระบบอัตโนมัติใน Metatrader
ท่านจะเล่นกับ moving average, Fibonacci, support และ resistant, Pivots, Fractals,
DMI, ADX และอื่น
อีกร้อยเเปดในความหวังว่ามันจะเป็นระบบมหัศจรรย์ของท่าน
ท่านจะเป็นคนเลือกบนเเละล่าง พยายามหาจุดกลับตัวของกราฟ ที่สุดท่านจะพบตัวว่าเองไล่กวดเทรดที่เสีย
กระนั้นท่านก็ยังเพิ่มเงินลงไปเพราะมั่นใจว่าท่านถูก
ท่านจะไปอยู่ในเเชทรูมและเห็นว่าคนอื่นๆ ทำกำไร เเต่ทำไมไม่ใช่ท่าน
ท่านมีปัญหาที่ต้องการคำตอบล้านเเปด
บางคำถามเมื่อตัวท่านเองย้อนกลับไปดูตัวท่านเองยังรู้สึกว่าเป็นคำถามที่งี่เง่า
แล้วท่านจะถึงจุดที่ท่านคิดว่าคนที่ออกมาบอกว่าได้กำไรทั้งหมดโกหก
พวกเขาไม่น่าจะทำกำไรได้เพราะท่านก็ได้ศึกษาการเทรดมาเเต่ท่านขาดทุน
ท่านก็รู้เท่าเท่ากับที่พวกเขารู้ พวกเขาต้องโกหกเเน่ๆ
เเต่พวกเขาอยู่ในตลาดเทรดทุกวัน และบัญชีของพวกเขาเพิ่มมากขึ้น ในขณะที่ของท่านลดลงเรื่อยๆ
ท่านจะกลับไปเป็นเเบบวัยรุ่นอีกครั้งหนึ่ง
นักเทรดที่มีประสบการณ์เเละพบความสำเร็จให้คำอธิบายบอกเหตุผล บอกวิธีเเบบฟรีๆ
เเต่ท่านก็ยังดื้อรั้นคิดว่าตัวเองถูกเเละท่านรู้ดีที่สุด
ท่านก็ยังดั้นด้นเทรดทั้งที่ทุกคนรอบรอบข้างบอกว่าคุณบ้าไปเเล้ว เเต่ท่านคิดว่าท่านรู้ดีกว่า
ทว่าเมื่อท่านคิดได้เเล้วจะพยายามเทรดตามคนอื่น เเต่ก็ไม่สำเร็จ
ท่านพยายามจ่ายค่าสัญญาณจากคนอื่น ท่านก็จะจ่ายเงินให้กูรูคอยบอกเเละสอนไม่ว่ากูรูจะดีหรือไม่ดียังไง
ท่านก็ยังไม่สำเร็จเพราะท่านยังคิดว่าท่านรู้ดีที่สุด

ขั้นนี้อาจจะนานตราบเท่านาน...ในความเป็นจริงเเห่งโลกของความเป็นจริง
เเละหลังจากที่พูดคุยกับนักเทรดคนอื่นๆ เเละจากประสบการขั้นนี้อาจจะนานเป็นปีถึงสามปี
นี่เป็นขั้นที่นักเทรดถอนตัวถอดใจในการเทรด ประมาณ 60% ของนักเทรดใหม่ถอดใจใน 3 เดือนเเรก
พวกเขาถอดใจเป็นสิ่งที่ดี - ลองคิดดู - ถ้าการเทรดเป็นเรื่องง่ายทุกคนก็รวยกันหมดเเล้ว
อีก 20% ให้เวลาอีกหนึ่งปีแล้วความหมดหวังในการเสี่ยงจะทำให้บัญชีพวกเขาหมดไปอย่างเเน่นอน


สิ่งที่ท่านอาจจะแปลกใจก็คือที่เหลืออีก 20% พวกเขาผ่านได้ประมาณ 3 ปี
และเขาก็จะคิดว่าพวกเขาจะปลอดภัย แม้จะผ่าน 3 ปี เเต่เเค่อีกเพียง 5-10% จะทำกำไรได้สม่ำเสมอ
ตัวเลขอันนี้ไม่ได้เกิดมาจากอากาศ...ไม่ได้โมเมขึ้นมา...
หลังจากที่ท่านผ่านสามปีได้ก็อย่าพึ่งวางใจ มีคนเคยเถียงเรื่องเวลาหลายคน ทุกทุกคนไม่เคยรอดเกินสามปี
ถ้าท่านคิดว่าท่านรู้ดีลองถามตามบอดร์ดูว่าใครเทรดมาห้าปีเเล้วสามารถที่จะเทรดเต็มความสามารถ 100%
บางทีอาจจะมีบางคนเป็นข้อยกเว้น เเต่ที่ผ่านมาไม่เคยเจอเองสักคน
ท่านจะค่อยๆ ออกมาจากขั้นนี้ ท่านลงทุนลงเเรงกับมันไปมากกว่าที่ท่านคาดคิด
ท่านหมดเงินไปจากบัญชีเป็นสิบครั้ง เเละคิดจะเลิกตั้งหลายครั้ง
เเต่ท่านไม่เลิกเพราะมันอยู่ในสายเลือดไปเเล้ว วันหนึ่งในเสี้ยววินาทีท่านก็จะเข้าขั้นที่สาม...

ขั้นที่สาม – Eureka
(ยูเรกา Eureka แปลว่า “ฉันพบแล้ว")
ช่วงสุดท้ายของขั้นที่สอง ท่านเริ่มคิดได้ว่ามันไม่ใช่ที่ระบบที่ทำให้เกิดความเเตกต่าง
ท่านเริ่มที่จะคิดได้ว่าท่านสามารถทำเงินได้กับเเค่ simple moving average เเละไม่มีอย่างอื่น
หากเเต่ว่าความคิดของท่านเเละการจัดการเงินของท่านเป็นไปอย่างถูกต้อง
ท่านเริ่มอ่านหนังสือเกี่ยวกับจิตวิทยาในการเทรด เเละเข้าใจตัวคาเเร็กเตอร์ในหนังสือทำให้เกิดความกระจ่าง
การกระจ่างนี้เกิดจากสมองของท่านปะติดปะต่อได้ว่า..
ไม่ว่าใครก็ไม่สามารถคาดเดาได้ว่าตลาดจะเป็นอย่างไรได้อย่างเเม่นยำในเวลาข้างหน้า
ไม่ว่าจะสิบวินาทีหรืออีกยี่สิบนาที ท่านจะเลิกสนใจความคิดของคนอื่น
ท่านเริ่มที่จะสร้างระบบของท่านเองเพียงระบบเดียว เเละมีความสุขกับระบบของท่าน
จากนั้นท่านจะเป็นคนกำหนดกะเกณฑ์ความเสี่ยงของตัวเอง 

ท่านจะเริ่มเทรดเมื่อท่านเห็นว่าท่านมีโอกาสที่จะทำกำไร
ทว่าเมื่อเสียท่านก็ไม่โกรธตัวท่านเอง เพราะท่านรู้ว่าอยู่ในหัวของท่านว่าไม่อาจคาดเดาตลาดได้
เเละมันไม่ใช่ความผิดของท่าน เมื่อท่านเทรดเเล้วรู้ว่าเสีย...ท่านปิดออเดอร์ เทรดอันต่อไปเเละต่อไป...


ท่านรู้ว่ามีเปอร์เซ็นต์ประสบความสำเร็จ เพราะท่านรู้ว่าระบบของท่านสามารถทำกำไรได้
ท่านเลิกที่จะมองการเทรดเเค่มุมมองของเทรดออเดอร์เดียว ท่านเปลี่ยนมุมมองของท่านเป็นอาทิตย์
โดยคิดว่าเทรดผิดครั้งเดียวไม่ได้หมายความว่าระบบของท่านใช้ไม่ได้
ท่านจับได้ว่าการเทรดขึ้นอยู่กับสิ่งเดียวคือความสม่ำเสมอเเละการมีวินัย
ท่านเรียนรู้เรื่องการจัดการเงินเเละความเสี่ยง ทุกอย่างเริ่มซึมซับ
ท่านมองย้อนกลับไปถึงนักเทรดที่ให้ความรู้กับท่านเเต่ก่อนด้วยความยิ้มเเย้มว่า...
ตอนนั้นท่านยังไม่พร้อม...เเต่ตอนนี้ท่านพร้อมเเล้ว...


ขั้นสี่ - มีสติเเละความสามารถ
ท่านทำการเทรดเมื่อระบบของท่านบอก ท่านทำใจยอมรับการเสียได้เหมือนกับท่านได้กำไรจากการเทรด
ตอนนี้ท่านปล่อยให้ออเดอร์ที่ทำกำไรได้ให้ทำกำไรถึงที่สุด โดยยอมรับความเสี่ยง
เเละรู้ว่าระบบของท่านทำกำไรได้มากกว่าที่เสียไป...
ทว่าเมื่อท่านอยู่ฝั่งที่เสีย ท่านก็ปิดออเดอร์โดยเจ็บปวดเล็กน้อยใน account ของท่าน
ตอนนี้ท่านถึงจุดที่ท่านเสมอตัวซะส่วนมาก
ทุกๆ วันจะมีบางอาทิตย์ที่ท่านได้ 100 pips เเละสัปดาห์ที่เสีย100 pips
เเต่ท่านก็เสมอตัวไม่ขาดทุน--

ตอนนี้ท่านรู้ว่า...
ท่านเป็นคนตัดสินใจในการเทรดเเละเป็นการตัดสินใจที่ถูกต้องตามระบบของท่านไม่ว่าได้หรือเสีย
ท่านได้รับการยอมรับจากนักเทรดคนอื่นๆ ท่านยังต้องขัดเกลาเเละเช็กการเทรดของท่านอย่างสม่ำเสมอ
ท่านเริ่มที่จะทำเงินได้มากกว่าเสีย ท่านจะเริ่มวันด้วยการได้กำไร 20 pips เเละก็เสีย 35 pips
เเต่ท่านไม่รู้สึกอะไร เพราะท่านรู้ว่าเสียไปเเล้วมันก็จะกลับมาหาท่านอีก
ท่านเริ่มที่จะทำกำไรสัปดาห์ต่อสัปดาห์ - 20 pips สัปดาห์นี้ - 50 pips สัปดาห์หน้า
ขั้นนี้จะใช้เวลาประมาณ 6 เดือน


ขั้นห้า – ไร้สติเเต่มีความสามารถ
ขั้นนี้เหมือนเราขับรถ ทุกวันเราขึ้นรถขับออกไปโดยสัณชาตญาณ เหมือนกับเราเทรด
ท่านเทรดโดยสัญชาตญาณ เทรดเเบบ autopilot
(Autopilot ถ้าแปลกันตรงๆ หมายถึง ความสามารถอย่างหนึ่งของเครื่องบินที่ไฮเทค
ก็คือ เครื่องบินที่มีความสามารถนี้ มันจะสามารถบินไปได้ด้วยตัวเองโดยกัปตันทำหน้าที่เพียงแค่ตั้งเป้าหมายไว้)
ท่านไม่ตื่นเต้นไม่ว่าจะทำได้ 200 pips หรือ 1 pips
ท่านเห็นเด็กใหม่ในฟอรั่มเเล้วย้อนคิดไปถึงท่านในอดีตหลายปีมาเเล้ว

นี่คือสวรรค์ของการเทรด – ท่านได้บรรลุโดยการเทรดเเบบไม่ใช้อารมณ์เเละความรู้สึกมาร่วม
ขณะที่ Account ของท่านเติบโตขึ้นเรื่อย

ท่านเป็นที่รู้จักของนักเทรด ทุกคนคอยฟังความเห็นของท่าน
เเต่ท่านรู้ว่าบางคนก็ไม่ทำตามเหมือนท่านสมัยก่อน
การเทรดเริ่มน่าเบื่อ เพราะพอท่านทำอะไรได้ดีหรือเก่ง
ท่านก็จะเริ่มเบื่อ ไม่มีอะไรมาทำให้ท่านได้รู้สึกเเข่งขัน
ท่านเริ่มหายจากห้องสนทนา เเละหาเพื่อนคุยกันรู้เรื่องโดยที่ไม่ผันตามความคิดของท่าน
ท่านไม่ได้เปลี่ยนเเปลงระบบ เเต่พัฒนาระบบให้ดีขึ้น ตอนนี้ท่านมีสัญชาตญาณในการเทรด
ท่านสามารถเรียกตัวเองได้เต็มปากว่า “forex trader”
เเต่ท่านไม่รู้สึกอะไร...คิดเเค่มันก็เป็นเพียงอาชีพอาชีพหนึ่ง...

โปรดจำไว้ว่า...
เเค่ 5 เปอร์เซ็นต์ของนักเทรดที่สามารถถึงจุดนี้ได้ ไม่ได้ขึ้นอยู่กับความฉลาดหรือความสามารถ
เเต่ขึ้นอยู่กับทัศนคติที่จะเปลี่ยนความคิดเเละความหัวเเข็งของตัวเองได้ไหม...
เมื่อเวลาที่ได้รับความคิด ตลอดจนความรู้ใหม่ๆ

ก่อนที่ท่านจะถอดใจ ลองคิดดูว่าท่านจะยอมใช้เวลาไปโรงเรียนกี่ปี
ถ้าท่านรู้ว่าตอนจบมามีงานที่ทำเงินได้ล้านหนึ่งต่อปีรออยู่...

ที่มา : thailandinvestorclub.com

.

พรุ่งนี้...วันแม่

สัปดาห์ที่ผ่านมา...
สกุล​เงินยู​โรอ่อนค่าลง​เมื่อ​เทียบกับดอลลาร์สหรัฐฯ
​เนื่องจากนักลงทุน​เริ่ม​เกิดความไม่มั่น​ใจว่ามาตร​การที่คาดว่าธนาคารกลางยุ​โรป (อีซีบี) จะนำมา​ใช้นั้น
จะสามารถควบคุมวิกฤตหนี้สาธารณะ​และภาวะ​เศรษฐกิจถดถอย​ในยู​โร​โซน​ได้
โดยต้องจับตาพัฒนา​การของวิกฤตหนี้ยุ​โรป ผล​การประมูลตั๋ว​เงินคลัง​และพันธบัตรรัฐบาลอิตาลี​และ​เยอรมนี
ทั้งนี้ ​เงินยู​โร​ต้องเผชิญปัจจัยลบหลังจากที่หนังสือพิมพ์ Handelsblatt
ได้รายงาน​การ​เปิด​เผยของกระทรวง​เศรษฐกิจ​เยอรมนีที่ว่า ​
เศรษฐกิจ​เยอรมนีขยายตัวปานกลาง​ใน​ไตรมาส 2 ปีนี้ ​ซึ่งชะลอลงจาก​ไตรมาส​แรก
พร้อมชี้ว่า​แนว​โน้มทาง​เศรษฐกิจจะ​เผชิญ​ความ​เสี่ยงรุน​แรงหลายประ​การจากสถาน​การณ์​ในยุ​โรปที่ยังย่ำ​แย่

ขณะที่ทาง​การกรีซคาดว่า กลุ่ม​เจ้าหนี้ระหว่างประ​เทศจะ​เปิด​เผยรายงาน​ความ​เคลื่อน​ไหว​ใน​แง่บวก ​
เกี่ยวกับ​ความคืบหน้า​เรื่อง​การปฎิรูป​เศรษฐกิจของกรีซ ​ซึ่งจะปูทางสู่​การ​เบิกจ่าย​เงินช่วยกรีซรอบต่อ​ไป
โดยเจ้าหน้าที่กรีซ​เผยว่า ​เนื่องจาก​เงินสำรองหมดลงอย่างรวด​เร็ว​ใน​เดือน ส.ค.
อัน​เนื่องมาจากภาวะล่าช้า​ใน​การปล่อย​เงินกู้ช่วย​เหลืองวด​ใหม่ ​และ​การชำระพันธบัตรมูลค่า 3.2 พันล้านยู​โร
(ประมาณ 3.9 พันล้านดอลลาร์) ที่จะหมดอายุ​ในวันที่ 20 ส.ค. ​ทำ​ให้​กรีซกำลังมา​ถึงจุด​เสี่ยงอีกครั้ง
โดยกลุ่มทรอยก้า ​ซึ่งประกอบด้วยสหภาพยุ​โรป, กองทุน​การ​เงินระหว่างประ​เทศ ​และธนาคารกลางยุ​โรป
จะสามารถ​เขียน​และส่งมอบรายงาน​เรื่อง​ความมี​เสถียรภาพ
​ตลอดจน​แผน​การปฏิรูปภาย​ใต้​เงินช่วย​เหลือ​ให้กรีซในปลาย​เดือน ก.ย.​ได้

ด้านกระทรวงการคลังญี่ปุ่น เปิดเผยว่า
หนี้รัฐบาลญี่ปุ่นพุ่งสูงสุดทำสถิติใหม่ที่ระดับ 976.19 ล้านล้านเยน (12.4 ล้านล้านดอลลาร์)
ตั้งแต่สิ้นเดือนมี.ค. - สิ้นเดือนมิ.ย. บ่งชี้ว่าญี่ปุ่นประสบความลำบากในการหนุนสถานะการคลังของประเทศ
ซึ่งถือว่ารุนแรงสุดในบรรดาประเทศพัฒนาแล้วรายอื่น
โดยหนี้ของรัฐบาลกลางเพิ่มขึ้นอย่างมาก 1.7% เมื่อเทียบกับช่วง 3 เดือนก่อนหน้า
ส่วนหนึ่งมีสาเหตุมาจากการใช้จ่ายด้านการปรับโครงสร้างอย่างต่อเนื่อง
ภายหลังเกิดภัยภิบัติสึนามิและแผ่นเดือนไหวเมื่อ 11 มี.ค. 2554 โดยหนี้สินทั้งหมดของรัฐบาล
ประกอบด้วยพันธบัตรรัฐบาล 797.08 ล้านล้านเยน การกู้ยืม 54.25 ล้านล้านเยน
ซึ่งส่วนใหญ่มาจากธนาคารพาณิชย์ และค่าใช้จ่ายเพื่อรองรับการระดมทุนระยะสั้น 124.86 ล้านล้านเยน

***

พรุ่งนี้ วันที่ ๑๒ สิงหาคม เป็นวันแม่แห่งชาติ
ในฐานะลูกก็อย่าลืมโทรศัพท์ไปหาแม่ หรือนำพวงมาลัยดอกมะลิไปกราบขอพรจากแม่
หรือพาแม่ไปเที่ยว ไปกินข้าวนอกบ้าน หรือทำบุญใส่บาตรอุทิศส่วนกุศลเพื่อรำลึกถึงพระคุณของแม่

มาฟังเพลง "แม่" โดยแฮมเมอร์กับน้าหงา



.