21 สิงหาคม 2555

ข่าวฟอเร็กซ์ 21 ส.ค.

ตลาดต่างๆ มองภาพรวมทรงตัวเนื่องจากยังขาดปัจจัยใหม่ที่โดดเด่นเข้ามากระตุ้นในช่วงนี้
จึงมีโอกาสเคลื่อนไหวทั้งในแดนบวกและลบ ขึ้นหรือลง และผันผวนระหว่างวันยังมีสูง
ตราบเท่าที่นักลงทุนยังคงจับตาเรื่องการแก้ไขปัญหาหนี้ยูโรโซน
พร้อมกับมีความหวังเรื่องมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจรอบใหม่อยู่
ทำให้เทรดเดอร์ต่างๆ ยังคงรออยู่นอกตลาดเนื่องจากไม่มีตัวเลขเศรษฐกิจสำคัญใดๆ ออกมา

ขณะแรงเก็งกำไรจากประเด็นที่ว่าธนาคารกลางยุโรป (ECB)
จะกำหนดอัตราดอกเบี้ยพันธบัตรในตลาดรองจะลดลง หลังจากเมื่อคืนนี้ ECB ออกมากล่าวว่า
รายงานของ นสพ. รายสัปดาห์ Der Spiegel ของเยอรมันดังกล่าวนั้นไม่ถูกต้อง
โดยสื่อของเยอรมนีได้มีการรายงานเมื่อวานนี้ว่า...อีซีบีกำลังพิจารณาการตั้งขอบเขตจำกัด
สำหรับระยะเวลาในการช่วยเหลือเรื่องต้นทุนการกู้ยืมของประเทศที่จะมีความแตกต่างจากพันธบัตรเยอรมนี
อย่างไรก็ตาม ภายหลังโฆษกของอีซีบีได้ออกมาระงับการคาดการณ์ในเรื่องดังกล่าวแล้ว
โดยระบุว่ากำลังมีการถูกทำให้เข้าใจผิดในการที่จะกล่าวถึงการตัดสินใจของอีซีบีที่ยังไม่ทันจะเกิดขึ้น
ซึ่งตลอดสัปดาห์ที่ผ่านมานั้น อีซีบียังไม่มีการเข้าซื้อพันธบัตรใดๆ
กระนั้นพอเป็นไปได้ว่า ECB ยังคงมีมาตรการซื้อพันธบัตรออกมา
ทว่าอาจไม่ประกาศจำกัดดอกเบี้ยพันธบัตรแต่อย่างใด
ซึ่งคงต้องรอจนกว่าจะมีความชัดเจนในประเด็นนี้ในต้นเดือน ก.ย.
ขณะที่ล่าสุดเยอรมันเริ่มออกมาไม่เห็นด้วยกับกรีซ ซึ่งท้ายที่สุดแล้วการที่กรีซจะได้เงินหรือไม่
คงต้องขึ้นอยู่กับกลุ่มทรอยก้าที่จะเข้าไปยังกรีซอีกครั้งในต้นเดือนหน้า
โดยนักลงทุนยังรอติดตามผลการหารือระหว่างผู้นำเยอรมัน ฝรั่งเศส และกรีซ
เกี่ยวกับการขอยืดระยะเวลาการปรับลดรายจ่ายทางการคลังออกไปอีกระยะหนึ่ง

ธนาคารกลางเยอรมนี หรือบุนเดสแบงก์ ออกตัวคัดค้านแผนการซื้อพันธบัตรของอีซีบี
โดยมีความเห็นว่า การซื้อพันธบัตรรัฐบาลในยูโรโซนถือเป็นเรื่องอันตราย
และส่งผลให้เกิดความเสี่ยงต่อเสถียรภาพอย่างไม่อาจหลีกเลี่ยงได้
ทั้งนี้ ธนาคารกลางเยอรมนีได้แสดงความไม่เห็นด้วยมาโดยตลอดเกี่ยวกับการที่อีซีบีเข้าซื้อพันธบัตรรัฐบาล

นายเอิร์กกิ ทูโอมิโอยา รัฐมนตรีต่างประเทศของฟินแลนด์ ได้กล่าวกับสำนักข่าว BBC ว่า
รัฐบาลของประเทศที่ใช้สกุลเงินยูโรกำลังซุ่มเงียบเตรียมความพร้อมหากกรีซต้องออกจากยูโรโซน
โดยขณะนี้ได้มีการสมมติสถานการณ์ต่างๆ ซึ่งรวมถึงการล่มสลายของสกุลเงินยูโรด้วย
เพื่อหาทางรับมือหากว่าเหตุการณ์สมมตินั้นเกิดขึ้นจริง

มูดี้ส์ อิน​เวส​เตอร์ ​เซอร์วิส สถาบันจัดอันดับ​ความน่า​เชื่อถือ
ระบุ​ในรายงานฉบับหนึ่งว่า
กลุ่มประ​เทศสมาชิกที่อ่อน​แอของยู​โร​โซน อย่างกรีซ​และ​ไอร์​แลนด์
อาจจำ​เป็นต้อง​ใช้​เวลาจน​ถึงปี 2559 ​
เพื่อหนุนฐานะ​การคลังที่​ไม่มั่นคง​ให้​เสร็จสมบูรณ์
มูดี้ส์ยังระบุอีกว่า ส​เปน ​โปรตุ​เกส ​และอิตาลี
อาจจะพ้นจากภาว​การณ์ที่ยากลำบาก​ในปัจจุบันภาย​ในปี 2556
​โดย​ทั้ง 5 ประ​เทศข้างต้น​ได้ดำ​เนิน​การปฏิรูปที่ยากลำบาก​แต่มี​ความจำ​เป็น​แล้ว
มูดี้ส์สรุปว่า​การปฏิรูปดังกล่าว​ได้ดำ​เนิน​ไป​เพียงครึ่งทาง​เป็นอย่างมากที่สุด​ในขณะนี้

ปัจจัยในระยะสั้น คงต้องติดตามเรื่อง
• รายงานการประชุม FOMC จากเมื่อวันที่ 1 ส.ค. ที่จะออกในคืนนี้ (หนึ่งทุ่ม)
ว่าจะมีสัญญาณ QE3 หรือไม่ (คาดว่าไม่มี)
• การประชุมระหว่างแกนนำยุโรปกับรัฐบาลกรีซในวันพรุ่งนี้
ว่าจะมีการยืดเวลารัดเข็มขัดเศรษฐกิจให้อีกสองปี ได้หรือไม่
• รายงานการประชุม FED ในวันพฤหัสฯ FOMC Meeting Minutes (ตีหนึ่ง)

ตัวเลขเศรษฐกิจในวันนี้
• ตัวเลขการปล่อยกู้ภาครัฐของอังกฤษ Public Sector Net Borrowing 15:30 น.
• ตัวเลขประมาณการยอดสั่งซื้อสินค้าอุตสาหกรรมของอังกฤษ CBI Industrial Order Expectations 17:00 น.

.

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น