ที่กรุงลอนดอนเมื่อช่วงเย็นวานนี้ตามเวลาไทยว่า อีซีบีจะดำเนินการทุกอย่างเพื่อปกป้องสกุลเงินยูโร
และพร้อมจะทำทุกวิถีทางที่จำเป็นภายในขอบเขตอำนาจของอีซีบี เพื่อยับยั้งการล่มสลายของยูโรโซน
นอกจากนี้ นายดรากิกล่าวว่า...
ตลาดการเงินกำลังประเมินความคืบหน้าในการแก้ไขวิกฤตการณ์ในยูโรโซนต่ำเกินไป
และสกุลเงินยูโรก็แข็งแกร่งมากกว่าที่หลายฝ่ายคาดคิด
![]() |
นายมาริโอ ดรากิ ประธานธนาคารกลางยุโรป |
ECB อาจใช้มาตรการใหม่ๆ ในการต่อสู้กับวิกฤต ซึ่งทำให้ค่าเงินยูโรพุ่งขึ้นแรงทันที
รวมทั้งยังระบุว่า ECB จะกำหนดเป้าหมายอัตราผลตอบแทนพันธบัตรที่ระดับสูง
ซึ่งเป็นมาตรการที่ก่อนหน้านี้ ECB ยังลังเลที่จะดำเนินการอยู่
โดยจะตั้งเป้าจัดการกับดอกเบี้ยพันธบัตรที่สูงมากในบางประเทศ (เช่นสเปน และอิตาลี)
ส่งผลให้ตลาดคาดหวังว่าในการประชุม ECB วันที่ 2 ส.ค.นี้ จะมีมาตรการเพิ่มเติมออกมา
(ลดดอกเบี้ย Refi จากปัจจุบัน 0.75% หรือการซื้อพันธบัตรในตลาดรอง เป็นต้น)
ส่งผลให้นักลงทุนเกิดความเชื่อมั่นในตลาดทุนและสินทรัพย์เสี่ยงเพิ่มขึ้น
แม้กระทั่งตลาดทุนโลกยังตอบสนองต่อคำพูดของประธาน ECB ดีมาก
จนทำให้สินทรัพย์เสี่ยงปรับขึ้นแรงถ้วนหน้า
แต่ความคาดหวังของนักลงทุนต่อนโยบายดังกล่าวย่อมอยากเห็นเป็นรูปธรรมในเร็วที่สุด
ขณะที่ข้อมูลเศรษฐกิจสหรัฐฯ ยังไร้ทิศทาง
โดยจำนวนผู้ขอรับสวัสดิการว่างงานครั้งแรกสัปดาห์ก่อนลดลงใกล้ระดับต่ำสุดในรอบ 4 ปี
แต่ยอดสั่งซื้อสินค้าคงทนและยอดทำสัญญาขายบ้านในเดือน มิ.ย. กลับลดลงเกินคาด
ทว่านักลงทุนก็ยังมีความหวังกับผลการประชุมเฟดในวันที่ 31 ก.ค.-1 ส.ค. นี้ต่อ
นายจุน อาซูมิ รมว.คลังญี่ปุ่น เปิดเผยในวันนี้ว่า ญี่ปุ่นจะพอใจอย่างมาก
หากคำมั่นสัญญาของนายมาริโอ ดรากิ ประธานธนาคารกลางยุโรป (อีซีบี)
ที่ว่าจะดำเนินการทุกอย่างเพื่อสนับสนุนยูโรโซนนั้น
เป็นการส่งสัญญาณว่าจะมีการสนับสนุนโดยตรงแก่ธนาคารที่กำลังประสบปัญหาด้านการเงินในยูโรโซน
สำนักข่าวเกียวโดรายงานว่า รัฐบาลญี่ปุ่นได้ติดตามสถานการณ์ในตลาดปริวรรตเงินตราอย่างใกล้ชิด
นับตั้งแต่สกุลเงินเยนแข็งค่าขึ้นเมื่อเทียบกับยูโร อันเนื่องมาจากความวิตกกังวลที่ว่า
สเปนอาจจะต้องขอความช่วยเหลือด้านการเงินจากเจ้าหนี้ต่างประเทศ
เพื่อเป็นทุนในการแก้ปัญหาด้านการคลัง
โดยนักวิเคราะห์ในตลาดมองว่า การให้คำมั่นสัญญาของนายดรากิถือเป็นการส่งสัญญาณว่า
อีซีบีตั้งใจจะเข้าซื้อพันธบัตรรัฐบาลในยุโรปในตลาดรอง
เพื่อช่วยลดผลกระทบของสถาบันการเงินที่ประสบกับภาวะขาดทุนในตลาดตราสารหนี้
อย่างไรก็ตาม มีนักวิเคราะห์บางคนมองว่า
การแทรกแซงตลาดของอีซีบีอาจจะช่วยให้สถานการณ์ผ่อนคลายลงในระยะสั้นๆ เท่านั้น
***
ตัวเลขเศรษฐกิจสำคัญประจำวันนี้
• ตัวเลขว่างงานสเปน เวลา 14.00 น.
• เลขประมาณการครั้งแรกของจีดีพีที่แท้จริงประจำไตรมาส 2/2012 สหรัฐฯ เวลา 19.30 น.
• ดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภคช่วงท้ายเดือนก.ค. สหรัฐฯ เวลา 20.55 น.
ส่วนประเด็นที่ต้องติดตาม
• IMF จะออกรายงานความคืบหน้าทางเศรษฐกิจของสเปนในวันนี้
• การประชุม FOMC ในวันที่ 31 ก.ค. – 1 ส.ค.
• การประชุม ECB (2 ส.ค.)
• การปรับลดอันดับเครดิตประเทศและสถาบันการเงินของสถาบันจัดอันดับเครดิต
• การประมูลพันธบัตรรัฐบาลของสเปน อิตาลี และกรีซ
ปิดท้าย :
ธนาคารกลางยุโรป (อีซีบี) เปิดเผยว่า
ผู้บริโภคและบริษัทต่างๆ ยังคงแห่ถอนเงินออกจากธนาคารกรีซในเดือน มิ.ย.
ซึ่งเพิ่มปัญหาให้กับภาคธนาคารที่มีปัญหาอยู่แล้ว ขณะที่อนาคตของกรีซในยูโรยังคงเป็นที่กังขา
ทั้งนี้ การคาดการณ์ว่ากรีซอาจจะออกจากยูโรโซนนั้น มีความรุนแรงในเดือน พ.ค.
ซึ่งพรรคที่ต่อต้านมาตรการรัดเข็มขัดได้รับคะแนนเสียงอย่างมากในการเลือกตั้ง
ทั้งนี้ ข้อมูลเงินฝากประจำเดือน มิ.ย.ของอีซีบีระบุว่า
เงินฝากของภาคเอกชนกับธนาคารในกรีซลดลงเกือบ 5% ซึ่งสอดคล้องกับที่ลดลงอย่างมากในเดือน พ.ค.
ขณะที่ปริมาณเงินฝากทั้งหมดลดลงสู่ 1.562 แสนล้านยูโร ณ สิ้นเดือน มิ.ย.จาก 1.631 แสนล้านดอลลาร์ในเดือน พ.ค.
และต่ำกว่าระดับสูงสุดในเดือน ธ.ค. 2009 อยู่กว่า 1 ใน 3
และขณะนี้ปริมาณเงินฝากอยู่ที่ระดับต่ำสุดในรอบกว่า 6 ปี
ด้านไอร์แลนด์มีปริมาณเงินฝากลดลง 2% และโปรตุเกสลดลง 3.5% ในเดือน มิ.ย.
ส่วนเงินฝากของภาคเอกชนในสเปนลดลงไม่ถึง 1% สู่ระดับต่ำสุดตั้งแต่เดือน ก.ค.2008
แต่อิตาลีปรับตัวดีกว่า โดยมีปริมาณเงินฝากเพิ่มขึ้นเกือบ 2%
.
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น