21 กรกฎาคม 2555

ยูโรร่วงหนัก!

ปัญหาของสหภาพยุโรปดูจะยืดเยื้อและอาจลุกลามเรื่อยๆ
พอกรีซเริ่มคลี่คลาย ก็มากังวลเรื่องหนี้สเปน ขณะที่อิตาลีอาจเป็นรายต่อไป


แม้นว่า...เมื่อวานนี้ รัฐมนตรีคลังจาก 17 ประ​เทศที่​ใช้สกุล​เงินยู​โร
​ได้อนุมัติ​เงื่อน​ไขสุดท้ายของข้อตกลงช่วย​เหลือส​เปน​
​เพื่อนำ​เงินไป​เพิ่มทุน​หรือปรับ​โครงสร้างทาง​การ​เงิน​ให้กับธนาคารพาณิชย์​ในประ​เทศ
โดยการอนุมัติข้อตกลง​นั้น ได้แก่การ​เปิดทาง​ให้มี​การ​เบิกจ่าย​เงินก้อน​แรกจำนวน 3 หมื่นล้านยู​โร (3.69 หมื่นล้านดอลลาร์)
จากวง​เงินกู้ 1 ​แสนล้านยู​โร (1.22 ​แสนล้านดอลลาร์)
ที่รมว.คลังยู​โร​โซน​ได้อนุมัติ​ไปก่อนหน้านี้​แล้ว


"​เรา​ได้อนุมัติบันทึกข้อตกลงอย่าง​เป็นทาง​การ ​ซึ่งกำหนด​ถึง​เงื่อน​ไข​ใน​การ​ให้​เงินกู้​แก่ส​เปน
​เพื่อนำ​ไปปรับ​โครงสร้างทาง​การ​เงิน​ให้กับธนาคารของประ​เทศ รัฐมนตรี​ทั้ง 17 คน​ได้​ให้​การอนุมัติ​แล้ว
นั่นหมาย​ความว่า ​โครง​การ​เงินกู้นี้สามารถดำ​เนินต่อ​ไป​ได้ ​แต่จะยัง​ไม่มี​การจ่าย​เงิน​ในทันที
เพราะยังต้องรอผล​การวิ​เคราะห์ของธนาคาร​แต่ละ​แห่ง​ซึ่งยังคงดำ​เนินอยู่​ในขณะนี้" 
ลุค ฟรี​เดน รมว.คลังลัก​เซม​เบิร์ก ​แถลงข่าวภายหลัง​เสร็จสิ้น​การประชุมทาง​โทรศัพท์

ทว่าก็ยัง​ไม่​เป็นที่ทราบ​แน่ชัดว่าจะมี​การ​เบิกจ่าย​เงิน​เมื่อ​ไร 
รวม​ถึงยัง​ไม่ทราบจำนวน​เงิน​ทั้งหมดที่จำ​เป็น​ใน​การพยุงภาคธนาคารของส​เปน
จนกว่าจะ​ถึง​เดือนกันยายน ​ซึ่งจะมี​การประ​เมินธนาคารของส​เปน​เป็นรายๆ​ ไป
ทั้งนี้ ​ความ​ไม่​แน่นอนของข้อตกลงดังกล่าว​ทั้ง​ใน​แง่ของ​เวลา​และวง​เงินนั้น 
ก็​ทำ​ให้นักลงทุนวิตกกังวลว่า วิกฤตหนี้ยุ​โรปอาจลุกลาม​ในวงกว้าง​และ​ไม่สามารถควบคุม​ได้

เมื่อวาน เงินสกุลยู​โรร่วงลงสู่ระดับ​เกือบต่ำสุด​ (ร่วงมาที่ 1.2143) ในรอบ 2 ปี​เมื่อ​เทียบกับดอลลาร์
​เนื่องจาก​ความวิตกกังวลที่ว่า วิกฤติ​การ​เงิน​ในยู​โร​โซนจะยังคง​ไม่คลี่คลาย​ใน​เร็วๆ นี้
​ในขณะ​เดียวกัน ค่า​เงินยู​โรก็อ่อน​แรงลงต่ำสุด​ (ร่วงมาที่ 0.770) ในรอบมากกว่า 3 ปี ​เมื่อ​เทียบกับ​เงินปอนด์

ปัจจัยหนึ่งที่ทำให้สกุล​เงินยู​โรอ่อน​แรงลงนั้น เพราะมีรายงานว่า
​เมืองวา​เลน​เซียจะขอ​ความช่วย​เหลือทาง​การ​เงินจากรัฐบาลส​เปน ​ซึ่งข่าวดังกล่าว
​ทำ​เกิด​ความวิตกกังวลว่าส​เปน​ซึ่ง​เป็นประ​เทศที่มี​เศรษฐกิจ​ใหญ่ที่สุด​เป็นอันดับ 4 ของยู​โร​โซน
อาจจะต้องขอ​ความช่วย​เหลือจากต่างประ​เทศ ​โดยรายงานระบุว่า
​เมืองวา​เลน​เซียยังคงต้อง​การ​เงินอีก 2.85 พันล้านยู​โรภาย​ในสิ้นปีนี้
ดังนั้นข่าว​การขอ​ความช่วย​เหลือของ​เมืองวา​เลน​เซียส่งผล​ให้ต้นทุน​การกู้ยืมของรัฐบาลส​เปนพุ่งขึ้น​เหนือระดับ 7%
นอกจากนี้ อีกปัจจัยที่ทำให้​เงินยู​โรยังร่วงลงหลังจากรัฐบาลส​เปนปรับลดคาด​การณ์​เศรษฐกิจ​ในปีนี้​และปีหน้า

สมาพันธ์ผู้ค้าปลีกแห่งอิตาลี เปิดเผยว่า แรงกดดันทางการคลังในอิตาลีเพิ่มขึ้นแตะระดับสูงสุดในโลก
โดยภาระทางการคลังของอิตาลีอยู่ที่ระดับเฉลี่ย 55% ของรายได้จากการจัดเก็บภาษีในปีนี้
ตามด้วยเดนมาร์กที่ 48.6% ฝรั่งเศส 48.2% และสวีเดน 48%
รายงานระบุว่า ภาระทางการคลังของอิตาลีไม่เพียงแต่มีอันดับสูงกว่าค่าเฉลี่ยของประเทศในยุโรปเท่านั้น
แต่ยังสูงกว่าญี่ปุ่นและสหรัฐฯ อยู่มาก โดยแรงกดดันทางการคลังของญี่ปุ่นและสหรัฐอยู่ที่ 30.6%
และ 26.3% ตามลำดับ
"อิตาลีรั้งอันดับ 1 ของโลก แถมยังไม่มีทีท่าว่าประเทศอื่นๆ จะสามารถแซงหน้าได้ในอนาคตอันใกล้
ประเทศอื่นๆ ที่ตามหลังอิตาลี ไม่เพียงแต่กำลังลดภาระทางภาษีเท่านั้น
แต่ยังมีขนาดเศรษฐกิจนอกระบบที่เล็กกว่ามากเมื่อเทียบกับของอิตาลี" สมาพันธ์ผู้ค้าปลีกฯ ระบุ
นอกจากนี้ รายงานยังระบุว่า อิตาลียังรั้งอันดับ 1 ของโลกในแง่ของเศรษฐกิจใต้ดิน
ซึ่งคิดเป็นสัดส่วน 17.5% ของผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศ (จีดีพี)
โดยแต่ละปีมีการหลีกเลี่ยงภาษีสูงถึง 1.54 แสนล้านยูโร (1.89 แสนล้านดอลลาร์)

***

น่าเหนื่อยใจกับการแก้ปัญาของยุโรปจริงๆ
แม้ รมว.คลังยูโรโซนจะอนุมัติเงื่อนไขการให้เงิน แต่ก็ยังไม่ได้มีการจ่ายเงินอัดฉีดเข้าไปในทันที
แถมยังมีการวิเคราะห์และประเมินการช่วยเหลือธนาคารสเปนเป็นแห่งๆ อีก
ทั้งต้องรอไปถึงเดือนกันยายน
ขณะวันที่ 12 กันยายน ศาลรัฐธรรมนูญของเยอรมนีจะพิจารณาเกี่ยวกับ
การให้สัตยาบันของรัฐสภาเยอรมนีต่อกองทุนกลไกรักษาเสถียรภาพยุโรป (ESM)
และสนธิสัญญาทางการคลังของยุโรป
ซึ่งยังเป็นปัจจัยลบต่อทั้งยูโรโซนเพราะเยอรมันยังไม่สามารถใส่เงินเข้ากองทุนได้จนกว่าเรื่องจะเรียบร้อย
ทำให้ ESM ขาดกำลังในการอัดฉีดสภาพคล่องเข้าสู่ชาติสมาชิกที่กำลังประสบปัญหา

บางที การออกมาอยู่นอกตลาดบ้างอาจเป็นการดีกว่า...

.

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น