30 กรกฎาคม 2555

ข่าวฟอเร็กซ์ 30 ก.ค.

หลังจากตัวเลข GDP ไตรมาส 2/12 ของสหรัฐฯ ประกาศออกมาต่ำเพียง 1.5% เท่าตลาดคาด
ขณะที่ตัวเลขเศรษฐกิจของสหรัฐฯ ในระยะหลังก็ไม่ได้แข็งแรงมากนัก
ทำให้นักลงทุนยิ่งมีความหวังมากขึ้นกับ ผลการประชุมเฟดในวันที่ 31 ก.ค.-1 ส.ค.
ดังนั้นตลาดโดยภาพรวมก็คงจะต้องรอความหวังในเรื่อง QE3 อีกครั้งในการประชุม FOMC
ซึ่งน่าจะมีถ้อยแถลงในคืนวันพุธที่ 1 สิงหาคมนี้
ทั้งสหรัฐฯ ก็จะมีการประกาศตัวเลขภาคการจ้างงานนอกภาคเกษตรกรรม (นอน-ฟาร์ม) ในวันศุกร์

นอกจากนี้ นักลงทุนยังรอลุ้น ผลการประชุม ECB ในวันที่ 2 ส.ค. นี้ด้วย
หลังประธาน ECB มีถ้อยแถลงที่หนุนตลาดไปเมื่อสัปดาห์ที่แล้ว
กอปรกับตลาดยังอยู่ในบรรยากาศเชิงบวกจากแถลงการณ์แสดงจุดยืนของ
นายกรัฐมนตรีเยอรมันและประธานาธิปดีฝรั่งเศส ที่ประกาศพร้อมจะปกป้องยูโรโซน
(แม้จะไม่บอกว่าด้วยวิธีการใด? อย่างไร?)
ทั้งนี้ตลาดโลกยังอยู่บนความคาดหวังถึงมาตรการรับมือกับสถานการณ์วิกฤติหนี้ยุโรป

โดยธนาคารกลางสหรัฐฯ และธนาคารกลางยุโรปจะมีการประชุมนโยบายการเงินในช่วงปลายสัปดาห์นี้
โดยตลาดกำลังรอผลการประชุมจากทั้งสองที่เพื่อ
ดูว่าจะมีการเข้าแทรกแซงตลาดหรือไม่
ซึ่งความสนใจแรกจะเบนมาที่การประ
ชุม FOMC ในวันอังคารและวันพุธนี้ 
โดยมีการแถลงการณ์ผลการประชุมในคืนวันพุธ
หลังจากนั้นจะมีการประชุมอีซีบีในวันพหัสบดีเพื่อตัดสินใจในเรื่องอัตราดอกเบี้ยต่อไป



ในช่วงบ่ายวันศุกร์
หนังสือพิมพ์ฝรั่งเศสมีการคาดการณ์ว่า
กองทุนช่วยเหลือทางการเงินของอีซีบีและสหภาพยุโรป
อาจรวมเข้าด้วยกันเพื่อช่วยเหลือสเปนและอิตาลี
ที่จะเริ่มต้นในช่วงเดือนกันยายน



ตัวเลขเศรษฐกิจที่สำคัญในวันนี้ ได้แก่
• ตัวเลขผลผลิตมวลรวมในประเทศของสเปนรายไตรมาส ประมาณ 14.00 น.
• ตัวเลขการปล่อยกู้ภาคเอกชนรายเดือน และตัวเลขการอนุมัติการจำนองในอังกฤษ ประมาณ 15.30 น.
• ตัวเลข M4 Money Supply รายเดือน ประมาณ 15.30 น
• ตัวเลขความเชื่อมั่นของผู้บริโภคในอังกฤษ ประมาณ 17.00 น.
• การประมูลพันธบัตร Italian 10-y Bond Auction

***

วิกฤตหนี้ยุโรป เชื่อใกล้ถึงจุดต่ำสุดแล้ว

กูรู เตือนนักลงทุนเตรียมพร้อมรับมือวิกฤตหนี้ยุโรป เชื่อใกล้ถึงจุดต่ำสุดแล้ว
ชี้ลงทุนหุ้น หรือทองคำ ก็มีความเสี่ยงเท่ากัน

นายกอบศักดิ์ ภูตระกูล ผู้ช่วยผู้จัดการใหญ่ธนาคารกรุงเทพ ให้สัมภาษณ์ใน Money Channel
ว่า ภายใต้ความผันผวนทางเศรษฐกิจของกลุ่มประเทศยูโรโซน ทำให้ในช่วงครึ่งปีหลังนี้
นักลงทุนไม่ควรไว้วางใจหรือลงทุนในสินทรัพย์ใดมากเกินไป
เพราะล้วนมีความเสี่ยงที่เท่าเทียมกันไม่ว่าจะเป็นหุ้นหรือทองคำ

ทั้งนี้ หากจะเปรียบเทียบสถานการณ์วิกฤตการเงินในกลุ่มยูโรโซนในขณะนี้
กับวิกฤต Subprime ของสหรัฐฯที่เคยเกิดขึ้นเมื่อปี 2551
จะเห็นได้ว่า ขณะนี้เป็นช่วงที่มีความอ่อนไหวของวิกฤติหนี้ยุโรปที่ยังหาทางออกไม่ได้ โดยเฉพาะสเปน
แต่มองว่าสถานการณ์ขณะนี้ใกล้ถึงจุดต่ำสุดแล้ว

นายกอบศักดิ์ ยังบอกด้วยว่าหลังจากนี้ไป...
ปัญหาที่สะสมมาจากการถูกแก้ไขอย่างไม่ถูกตรงจุดจะค่อยๆ ปะทุ และลุกลามจากสเปนไปอิตาลี
แม้ว่าอิตาลีจะดูมีสถานการณ์ที่ดีกว่าสเปน แต่ก็มีหนี้สาธารณะสูงถึง 120% ต่อจีดีพี
และหนี้ส่วนใหญ่หรือมากกว่า 50% กู้มาจากฝรั่งเศส
ซึ่งถ้าอิตาลีมีปัญหา ฝรั่งเศสจะได้รับผลกระทบตามไปด้วย

ส่วนกรีซก็ยังไม่สามารถจะแก้ปัญหาหนี้สาธารณะในประเทศได้ แม้จะได้รับเงินช่วยเหลือมาแล้วก็ตาม
ซึ่งผู้ช่วยผู้จัดการใหญ่ธนาคารกรุงเทพ เชื่อว่า
ไม่ว่าเศรษฐกิจกรีซจะย่ำแย่เพียงใด ก็จะไม่ออกจากกลุ่มยูโรโซน
ซึ่งปัญหาทั้งหมดก็จะกลายเป็นภาระของสมาชิกในกลุ่มยูโรโซนทั้งหมด

สำหรับแนวทางแก้ปัญหาที่จะช่วยให้สถานการณ์ดีขึ้น คือ
การลดค่าเงินยูโร เพื่อให้กลุ่มประเทศยูโรโซนมีรายได้เพิ่มขึ้น
และจะส่งผลให้มีความสามารถในการชำระหนี้ที่เพิ่มขึ้นตามไปด้วย
ซึ่งน่าจะเป็นแนวทางที่ถูกต้องมากกว่าการกู้เงินจำนวนมากมาแก้ปัญหาหนี้สาธารณะ

ที่มา : money channel

.

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น