24 กรกฎาคม 2555

วิกฤตยูโรพลิกโอกาสโกยบอร์นเยอรมันนี-สหรัฐ เนื้อหอม

แวบไปเจอบทความดีๆ ก็จึงขอนำมาแบ่งปันสำหรับนักเทรดชาวไทยกัน
เป็นบทความจาก โพสต์ทูเดย์ (มากกว่าข่าว ทุกเรื่องราวคุณมีส่วนร่วม)
บทความนี้เขียนโดย...นงลักษณ์ อัจนปัญญา

วิกฤตยูโรพลิกโอกาสโกยบอร์นเยอรมันนี-สหรัฐ เนื้อหอม

แม้สถานการณ์วิกฤตหนี้สาธารณะในภูมิภาคยุโรปจะส่อเค้าเลวร้ายมากขึ้นเรื่อยๆ
ภายหลังจากที่บรรดาสารพัดมาตรการช่วยเหลือและแนวทางแก้ไขระลอกแล้วระลอกเล่า
ไม่สามารถฉุดรั้งความเชื่อมั่นของนักลงทุนทั่วโลกให้ฟื้นกลับคืนมาได้อย่างยั่งยืนมั่นคง
จนลุกลามลากเศรษฐกิจโลกให้ดำดิ่งซบเซาไปตามๆ กัน

แต่ใช่ว่าวิกฤตที่เกิดขึ้นจะไม่อำนวยอวยผลประโยชน์ใดๆ ให้กับใครเลยเสียทีเดียว 
เนื่องจากท่ามกลางมรสุมรุนแรง ยังคงมีบางประเทศที่วิกฤตสร้างโอกาสรอดให้
และหนึ่งในประเทศที่ได้รับประโยชน์ไปเต็มๆ 
แถมยังเป็นสมาชิกสำคัญลำดับ 1 ของกลุ่มยูโรโซน ก็คือพี่ใหญ่อย่างเยอรมนี

ขณะที่อีกหนึ่งประเทศที่โกยประโยชน์ไปได้ไม่แพ้กันก็คือ
สหรัฐอเมริกา มหาอำนาจอันดับ 1 ของโลกในปัจจุบัน
เหตุผลหลัก สืบเนื่องมาจากความวิตกกังวลและเข็ดขยาดของนักลงทุ
ที่มีต่อสถานการณ์เศรษกิจโลกที่เอาแน่เอานอนไม่ได้ในขณะนี้
ทำให้นักลง
ทุนส่วนใหญ่ไม่แยแสต่อมูลค่าของผลกำไรมากเท่ากับความปลอดภัยของการลงทุ

พูดให้เข้าใจง่ายขึ้นก็คือว่า
นักลงทุนในขณะนี้กำลังควานหาแหล่งพักเงินที่ปลอดภัยของตนเอง
เนื่องจากการรักษาเงินต้นไว้สำคัญกว่าการที่จะต้องไปลุ้นเสี่ยงให้ได้ผลตอบแทนจากเงินต้นที่ลงทุนไป
ภาพจาก posttoday
ซึ่งสินทรัพย์ปลอดภัยส่วนใหญ่ล้วนให้ผลตอบแทนที่ต่ำอยู่แล้ว
โดยมีหนึ่งในแหล่งพักเงินที่ปลอดภัยที่สุดในเวลานี้
อย่างตลาดตราสารหนี้ของภาครัฐเป็นหนึ่งในตัวเลือกที่สำคัญ
เพราะถือเป็นสินทรัพย์ที่มีความคล่องตัวมากที่สุดในโลก
จากการที่นักลงทุนสามารถมองหาตลาดรองเพื่อขายแลกเปลี่ยนได้ทันทีเมื่อต้องการ โดยที่ราคาไม่เปลี่ยนแปลงมากนัก




ส่วนสาเหตุที่ต้องเป็นพันธบัตรรัฐบาลของเยอรมนีกับสหรัฐฯ
เป็นเพราะเศรษฐกิจของทั้งสองประเทศมีขนาดใหญ่
โดยสำหรับเยอรมนีถือได้ว่าใหญ่ที่สุดในยุโรป
และอัตราการเติบโตทางเศรษฐกิจเป็นไปอย่างคงที่ด้วยอัตรา 0.5%
ซึ่งช่วยพยุงให้สถานการณ์ในยูโรโซนไม่เลวร้ายไปมากกว่าที่เป็นอยู่ในปัจจุบัน

ขณะที่สหรัฐฯ แม้เศรษฐกิจจะชะงักด้วยตัวเลขการว่างงานที่ยังไม่กระเตื้อง
แต่ความเชื่อถือในค่าเงินเหรียญสหรัฐยังคงมีอยู่ไม่เสื่อมคลาย
พันธบัตรสหรัฐฯ จึงได้รับการยอมรับในฐานะแหล่งพักเงินปลอดภัยอันดับ 1 ไม่เปลี่ยนแปลง
หลักฐานยืนยันก็คือ อัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลสหรัฐอายุ 10 ปี
ในขณะนี้อยู่ที่ 1.5% เท่านั้น
สะท้อนให้เห็นว่าเศรษฐกิจที่ไม่ค่อยแข็งแรงสักเท่าไรนักของสหรัฐน ในขณะนี้
ไม่ได้กระทบต่อการระดมทุนด้วยการขายพันธบัตรของรัฐบาลสหรัฐฯ เลยแม้แต่น้อย

ทั้งนี้ ต้องยอมรับว่าความกลัวต่อสถานการณ์ภาวะเศรษฐกิจอ่อนแอดังกล่าว
ทำให้เยอรมนีมีหนทางประหยัดเงินงบประมาณของประเทศได้ถึงหมื่นล้านยูโร (ราว 4 แสนล้านบาท)  โดยในการขายพันธบัตรรัฐบาลอายุ 2 ปี เมื่อวันที่ 18 ก.ค.
เยอรมนีสามารถระดมเงินได้สูงถึง 5,000 ล้านยูโร (ราว 2 แสนล้านบาท)
ด้วยอัตราผลตอบแทนที่ต่ำกว่า 25 สตางค์
ขณะที่การขายพันธบัตรรัฐบาลอายุ 10 ปีก่อนหน้านี้
สามารถระดมเงินโดยให้อัตราผลตอบแทนพันธบัตรเพียงแค่ 1.5%

นับเป็นอัตราที่ วูล์ฟกัง ชูเอเบิล รัฐมนตรีคลังเยอรมนี ยังยอมรับว่าต่ำผิดปกติ
ทั้งๆ ที่ประเทศเพื่อนบ้านชาติสมาชิกยูโรโซนของเยอรมนี เช่น สเปน กรีซ อิตาลี หรือกระทั่งฝรั่งเศส
กำลังเจ็บปวดกับการต้องแบกรับต้นทุนภาระหนี้ที่สูงขึ้นเกินระดับอันตรายที่ 7% ด้วยกันทั้งสิ้น

ประโยชน์ที่เยอรมนีได้ไปเต็มๆ จากการที่อัตราผลตอบแทนพันธบัตรต่ำในครั้งนี้ก็คือ 
รัฐบาลสามารถลดการขาดดุลงบประมาณโดยไม่ต้องหาทางตัดลดค่าใช้จ่าย
หรือบังคับใช้นโยบายรัดเข็มขัดตามที่ตนเองแนะนำให้กับชาติสมาชิกสหภาพยุโรป

ที่กำลังเผชิญหน้ากับวิกฤตหนี้สาธารณะอยู่ในขณะนี้

เรียกได้ว่าเยอรมนีสามารถลดต้นทุนภาระหนี้ของตนเองโดยไม่ต้องออกแรง
โดยจากเดิมที่มีการคาดการณ์กันไว้ในปี 2552 ว่า
รัฐบาลเยอรมนีอาจต้องใช้ต้นทุนที่สูงถึง 5.2 หมื่นล้านยูโร (ราว 2.08 ล้านล้านบาท)
สำหรับการระดมทุนในปี 2556
แต่ด้วยวิกฤตยูโรโซนที่ทำให้พันธบัตรรัฐบาลเยอรมนีได้รับความนิยม
ทำให้ตัวเลขดังกล่าวในขณะนี้เหลือเพียง 2 หมื่นล้านยูโร (ราว 8 แสนล้านบาท)

เจนส์ บอยเซนโฮเกรฟ นักวิเคราะห์จากสถาบันคีล เพื่อเศรษฐกิจโลกแห่งเยอรมนี ระบุว่า
หากสถานการณ์ของยูโรโซนยังคงเลวร้ายอย่างเสมอต้นเสมอปลายเช่นนี้
รัฐบาลเยอรมนีอาจจะเก็บเกี่ยวงบประมาณด้วยการประหยัดเข้าประเทศได้มากถึง 1 แสนล้านยูโร
(ราว 4 ล้านล้านบาท) ภายในปี 2563
ขณะเดียวกันก็ยังมีเงินเพียงพอที่จะใช้กระตุ้นเศรษฐกิจให้เติบโตได้

นอกจากนี้ นักวิเคราะห์อีกส่วนหนึ่งถึงกับประเมินว่า
ภายในปี 2559 ดุลงบประมาณของเยอรมนีอาจจะกลับมาสมดุลอีกครั้ง
ก่อนที่ปริมาณหนี้ของประเทศจำนวนกว่า 2 ล้านล้านยูโร (ราว 80 ล้านล้านบาท)
หรือคิดเป็น 80% ของผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศ (จีดีพี) จะเริ่มลดลงอีกด้วย

อย่างไรก็ตาม ผู้เชี่ยวชาญด้านเศรษฐศาสตร์ก็ไม่วายออกมาเตือนว่า
แม้เยอรมนี หรือสหรัฯ หรือประเทศใด ก็ตาม
จะสามารถตักตวงประโยชน์จากวิก
ตหนี้สาธารณะในกลุ่ยูโรโซนได้ 
แต่ก็ต้องไม่ลืมว่าประโยชน์ที่หยิบฉวยได้ในขณะนี้เป็นเพียงผลชั่วคราว ไม่ได้ยั่งยืนถาวรแม้แต่น้อย

เพราะต้องไม่ลืมว่า ตราบใดที่วิกฤตในภูมิภาคยุโรป 
ซึ่งถือเป็นตลาดนำเข้าส่งออกสินค้าที่สำคัญอีกแห่งหนึ่งของโลกยังไม่ได้รับการแก้ไข 
ภาคเศรษฐกิจจริงก็จะยังคงอ่อนแออยู่ต่อไป ไม่มีการซื้อขายอย่างที่ควรจะเป็น ขาดการลงทุน 
สุดท้ายผลประโยชน์ที่รัฐบาลเยอรมนีหรือสหรัฐฯ เก็บเกี่ยวมาได้ก็ต้องเหือดหายไปอยู่ดี 
และเผลอๆ อาจจะต้องแบกรับภาระหนี้เพิ่มมากขึ้น

เนื่องจากเมื่อเศรษฐกิจไม่สามารถขับเคลื่อนไปได้
ท้ายที่สุดรัฐบาลย่อมจำเป็นต้องควักเงินออกมาใช้เพื่อช่วยพยุงสถานะของบริษัทต่างๆ
โดยเฉพาะบรรดาสถาบันการเงินและธนาคารของประเทศ
ซึ่งเป็นแหล่งเงินทุนสำคัญของธุรกิจองค์กร พร้อมๆ กับหาทางกระตุ้นเศรษฐกิจอื่นๆ เพิ่มเติม

ทั้งนี้ทั้งนั้น แม้วลีที่ว่า “ในวิกฤตย่อมมีโอกาส” จะยังคงใช้ได้อยู่เสมอในทุกสถานการณ์

แต่สำหรับสถานการณ์ของวิกฤตยูโรโซนแล้ว
โรแลนด์ โดเอิห์รน หัวหน้าผู้เชี่ยวชาญด้านวงจรเศรษฐกิจและการเติบโตของสถาบันเศรษฐกิจอาร์ดับเบิลยูไอ
แสดงความเห็นว่า โอกาสที่หาได้ย่อมไม่ใช่ทางรอดสำหรับประเทศใดประเทศหนึ่งแต่เพียงอย่างเดียวแน่นอน

เพราะ “ไม่มีใครอยู่รอดได้โดยลำพัง” ก็ยังคงเป็นวลีที่ไม่มีวันล้าสมัยเช่นกัน

.

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น