และอัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลอายุ 10 ปีที่พุ่งสู่ระดับ 7.596%
ในขณะที่มูดี้ส์ได้ปรับเปลี่ยนแนวโน้มอันดับความน่าเชื่อถือของเยอรมนี, เนเธอร์แลนด์ และลักเซมเบิร์ก
เป็นเชิงลบจากความไม่แน่นอนเกี่ยวกับวิกฤติหนี้ที่ยืดเยื้อของยูโรโซน
รวมทั้งแนวโน้มที่กรีซอาจจะไม่สามารถปฏิบัติตามเงื่อนไขในการรับเงินช่วยเหลือได้ทันกำหนด
และอาจจะต้องออกจากยูโรโซนในที่สุด
ได้ส่งผลให้ตลาดหุ้นทั่วโลกปรับตัวลงจากความวิตกต่อวิกฤติหนี้ในยูโรโซนอีกครั้ง
ส่วนในสัปดาห์นี้จะมีประกาศตัวเลข PMI ของหลายประเทศซึ่งคาดว่าจะออกมาไม่ดีนัก
และย่อมส่งผลกดดันต่อตลาดเงินและสินทรัพย์เสี่ยงต่างๆ ต่อได้
ภาพหนี้สินในยุโรปดูมีทางออกที่ดีแต่ยังคงยืดเยื้อ
นักลงทุนจึงจำเป็นต้องจับตาผลสรุปเกี่ยวกับท่าทีของเยอรมนี
ขณะที่นโยบายการเงินสหรัฐฯ ในปัจจุบันยังผ่อนคลายเอื้อต่อการเก็งกำไร
โดยเฉพาะหากมีมาตรการอัดฉีดเพิ่มเติมขณะที่นโยบายการเงินสหรัฐฯ ในปัจจุบันยังผ่อนคลายเอื้อต่อการเก็งกำไร
สำนักงานสถิติแห่งสหภาพยุโรป หรือยูโรสแตท เปิดเผยว่า
ยอดหนี้สาธารณะของรัฐบาลกลุ่มประเทศยูโรโซนเพิ่มขึ้นแตะระดับ 88.2%
ของผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศ (จีดีพี)
ณ สิ้นสุดไตรมาสแรกปีนี้ จากระดับ 87.3% ณ สิ้นสุดไตรมาสสุดท้ายปีที่ผ่านมา
ทั้งนี้ ประเทศที่มีอัตราส่วนหนี้สินต่อจีดีพีสูงสุด ณ สิ้นสุดไตรมาสแรก ได้แก่ กรีซ 132.4%
ตามมาด้วยอิตาลี 123.3% โปรตุเกส 111.7% และ ไอร์แลนด์ 108.5%
ในขณะที่เอสโทเนีย บัลแกเรีย และลักเซมเบิร์ก มีอัตราส่วนต่ำที่สุดที่ 6.6%, 16.7% และ 20.9% ตามลำดับ
ติดตามดูตัวเลขเศรษฐกิจที่สำคัญ Euro-zone PMI ในช่วงบ่ายวันนี้
ได้แก่ ตัวเลขดัชนีการจัดการจัดซื้อภาคการผลิตและบริการในฝรั่งเศส เยอรมัน และยุโรปโดยรวม
ที่จะประกาศประมาณ 14.00 – 15.00 น.
โดยเฉพาะบรรยากาศการลงทุนในยุโรปที่ดูย่ำแย่
อาจมองว่าตัวเลข PMI ที่มีการคาดกันว่าจะออกมาโตเล็กน้อยจากเดือนก่อน
ส่วนตัวเลขการผลิตในสหรัฐฯ ที่สำคัญ คือ Flash Manufacturing PMI
ตัวเลขดัชนีการจัดการจัดซื้อภาคการผลิตในสหรัฐฯ ที่จะประกาศประมาณ 20.00 น.
วันนี้ ทางกลุ่มทรอยก้า ซึ่งประกอบด้วยคณะกรรมาธิการยุโรป อีซีบี และไอเอ็มเอฟจะเข้าเยือนกรีซ
ซึ่งประเด็นดังกล่าวก็สร้างความกังวลให้กับตลาดไม่แพ้เรื่องสเปนเช่นกัน
โดยที่ก่อนหน้านี้สกุลเงินยูโรมีการรีบาวน์ขึ้นมาหลังจากไอเอ็มเอฟได้ประกาศว่า
จะเริ่มเข้าหารือเจรจากับผู้มีอำนาจของกรีซในเรื่องที่ว่า
ควรทำอย่างไรเพื่อดึงเศรษฐกิจของกรีซกลับเข้าสู่ภาวะปกติ
จึงทำให้กรีซกลับมาเป็นประเด็นที่หลายฝ่ายจับตาขณะวิกฤตหนี้ยุโรปยังไม่สิ้นสุดลงอีกครั้งในสัปดาห์นี้
พร้อมกันนั้น องค์กรเจ้าหนี้ของกรีซต้องประเมินการดำเนินการของกรีซว่า
เป็นไปตามเป้าหมายในการขอรับเงินช่วยเหลือหรือไม่ ส่งผลให้เกิดความกังวลอีกระลอกว่า
กรีซอาจจะต้องออกจากยูโรโซนหรือไม่
![]() |
ภาพจาก หนังสือพิมพ์เดลินิวส์ |
มูดี้ส์ อินเวสเตอร์ส เซอร์วิส หนึ่งในสถาบันจัดอันดับความน่าเชื่อถือชั้นนำของโลก
ได้ประกาศลดแนวโน้มความน่าเชื่อถือของเยอรมนี, เนเธอร์แลนด์ และลักเซมเบิร์ก
ลงสู่ "เชิงลบ" จากเดิมมีเสถียรภาพ
โดยระบุถึงความไม่แน่นอนที่เพิ่มขึ้นเกี่ยวกับวิกฤตหนี้สาธารณะในยูโรโซน
ซึ่งการตัดสินใจปรับลดแนวโน้มความน่าเชื่อถือของทั้ง 3 ประเทศในครั้งนี้
มูดี้ส์พิจารณาจากความเสี่ยงที่เพิ่มขึ้นว่า กรีซอาจจะต้องออกจากกลุ่มยูโรโซน
ซึ่งจะก่อให้เกิดภาวะ 'วิกฤตการณ์ภาคการเงินแบบลูกโซ่'
และจะทำให้เยอรมนี, เนเธอร์แลนด์ ลักเซมเบิร์ก
รวมถึงประเทศอื่นๆ ที่มีอันดับความน่าเชื่อถือสูงสุดนั้น ต้องแบกรับภาระในการให้ความช่วยเหลือ
นายมาซาอากิ ชิราคาวะ ผู้ว่าการธนาคารกลางญี่ปุ่น (บีโอเจ) กล่าวเตือนในวันนี้ว่า
วิกฤตหนี้ยุโรปและเศรษฐกิจของสหรัฐที่เปราะบางเป็นปัจจัยเสี่ยงที่จะถ่วงการฟื้นตัวทางเศรษฐกิจของญี่ปุ่น
ผู้ว่าการบีโอเจกล่าวว่าหากปัญหาหนี้ของยุโรปเลวร้ายลง ก็จะส่งผลกระทบต่อการค้า
ความเชื่อมั่นทางธุรกิจ ระบบการเงินและอัตราแลกเปลี่ยน
ดังนั้น จึงจำเป็นต้องให้ความสนใจอย่างจริงจังกับปัจจัยเสี่ยงดังกล่าว...
ทั้งนี้ บรรดานักวิเคราะห์มองว่า สกุลเงินเยน
ซึ่งเคยสร้างสถิติแข็งค่าเทียบสุดเมื่อเทียบกับค่าเงินดอลลาร์สหรัฐเมื่อปีที่แล้ว
กำลังกลายเป็นทางเลือกที่ปลอดภัยที่สุดในเวลานี้ สำหรับนักลงทุนที่ต้องการหนีความเสี่ยง
ท่ามกลางกระแสความวิตกเกี่ยวกับวิกฤตเศรษฐกิจยุโรป และภาวะเศรษฐกิจชะลอตัวของสหรัฐฯ
โดยก่อนหน้านี้ รัฐบาลญี่ปุ่นเคยออกโรงเตือนหลายครั้งว่า
สกุลเงินเยนกำลังได้รับการตีค่าสูงเกินเหตุ ส่งผลให้รัฐบาลต้องเข้าแทรกแซง
เพื่อควบคุมค่าเงินเยนให้อยู่ในระดับที่เหมาะสม
.
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น