25 สิงหาคม 2555

31 สิงหาฯ เรื่อง QE3

สกุลเงินยู​โรอ่อนค่าลงเมื่อ​เทียบดอลลาร์ หลังจากที่ธนาคารกลางยุ​โรป (อีซีบี) ​เปิด​เผยว่า
จะรอดู​การตัดสิน​ใจของ​เยอรมนี​เรื่อง​เงินช่วย​เหลือยุ​โรปก่อนที่จะดำ​เนิน​แผน​การซื้อพันธบัตรรัฐบาล
ทำให้​เงินยู​โร​เผชิญกับปัจจัยลบจากกระ​แสคาด​การณ์ที่ว่า
ประธานอีซีบีอาจยัง​ไม่ประกาศ​แผน​การซื้อพันธบัตรรัฐบาล​ใน​การประชุมวันที่ 6 กันยายนนี้
​เนื่องจากต้อง​การรอดู​การตัดสิน​ใจของ​เยอรมนีที่มีต่อกองทุนช่วย​เหลือยุ​โรป
อีกทั้งนักลงทุนต่างสงสัยว่าผู้มีหน้าที่กำหนดน​โยบายวาง​แผนอย่าง​ไร​ใน​การควบคุมวิกฤตหนี้
จึงส่งผล​ให้นักลงทุนลด​ความต้อง​การ​ในสกุล​เงินยู​โร
กระนั้น เงินยู​โร​ก็ยังไม่ร่วงลง​ไปมากกว่านี้​ เพราะมีข่าวว่า ECB กำลังพิจารณาว่า
จะกำหนดขอบ​เขตอัตราผลตอบ​แทนพันธบัตร​ใน​การซื้อพันธบัตรรอบ​ใหม่ ​
ซึ่งจะช่วยควบคุมต้นทุน​การกู้ยืม​และป้องกัน​ไม่​ให้​เกิด​การ​เ​ก็งกำ​ไร

ขณะ​เดียวกันนักลงทุนกำลังจับตาดู นาย​เบน ​เบอร์นัน​เก้ ประธานธนาคารกลางสหรัฐ (​FED)
ที่จะมีการกล่าว​แถลง​ใน​การประชุมประจำปีของ​เฟด​ในวันที่ 31 ส.ค.นี้ ​
ซึ่งมี​การคาดหมายว่า​เฟดจะส่งสัญญาณ​เพิ่ม​เติม​เกี่ยวกับ​การ​ใช้มาตร​การผ่อนคลาย​เชิงปริมาณรอบที่ 3 ​หรือ QE3 ​
โดยอาจส่งผลลบต่อ​เงินดอลลาร์ ​เนื่องจากจะ​ทำ​ให้​เงินดอลลาร์ด้อยค่าลง แต่จะ​เป็นผลดีต่อตลาดทองคำ



***

ระทึก! ศาลเยอรมนีชี้ขาด จุดเปลี่ยนการเงินโลก
โดย : กรุงเทพธุรกิจ


น.ส.อุสรา วิไลพิชญ์ นักเศรษฐศาสตร์อาวุโสของสแตนดาร์ด ชาร์เตอร์ด (สแตนชาร์ต) กล่าวว่า
ปัญหาวิกฤติหนี้รัฐยุโรปยังไม่จบและยังแก้ไม่ได้
ซึ่งเป็นปัจจัยเสี่ยงสำคัญสุดที่กำหนดทิศทางเศรษฐกิจโลก และเศรษฐกิจไทยครึ่งหลังปีนี้

"ยิ่งวิกฤติยืดเยื้อถึงปีหน้า ยิ่งเป็นความเสี่ยงหลักสำคั 
ไทยจึงต้องตระหนักว่าผลกระทบเกิดกับเศรษกิจอาจจะยืดเยื้อมากกว่าคาดไว้ได้
ยิ่งปั
หาแก้ไม่ตก แน่นอนเป็นความเสี่ยงของเศรษกิจไทยกับโลกชะลอตัวยาวไม่หยุดแค่ครึ่งหลังปีนี้"

สิ่งที่น่ากังวล คือ หากมีบางอย่างไม่เป็นไปตามคาด ถ้าวิกฤติยุโรปขยายวงกว้าง
ซึ่งขณะนี้ลุกลามในสเปนแล้ว รอเพียงแค่การขอความช่วยเหลืออย่างเป็นทางการเหมือนกรีซ 
และถ้าวิกฤติลามจากสเปนไปอิตาลี  จะทำให้ปัญหาทวีความรุนแรงมากในอนาคต
กลายเป็นความตกใจและอาจทำให้ความเชื่อมั่นการบริโภคและลงทุนแย่กว่าเดิม
ตลาดเงินผันผวนมากขึ้น ปฏิกิริยาผู้กำหนดนโยบายการเงินการคลังมีมากกว่าเดิม
กลายเป็นผู้คนตกใจบวกความผันผวนตามมา

"ทุกฝ่ายไม่ว่าจะเป็นนักธุรกิจ นักลงทุนและผู้กำหนดนโยบายทั่วโลก
ตระหนักอยู่แล้วว่าโลกมีแนวโน้มชะลอตัว
แต่ส่วนใหญ่ก็ยังมองว่าเศรษฐกิจปีหน้าน่าจะดีกว่าปีนี้ถือเป็นความเสี่ยง
ทุกฝ่ายจึงต้องมองถึงเศรษฐกิจปีหน้าเพื่อป้องกันความเสี่ยงไว้ ไม่ใช่วางแผนแค่ครึ่งหลังปีนี้ไม่พอ
แต่ต้องวางแผนเผื่อปีหน้าเลย"

ปัจจัยเสี่ยงต้องจับตาเฝ้าระวังในครึ่งหลังปีนี้ น.ส.อุสรา กล่าวว่า
เรื่องแรก คือ วันที่ 12 กันยายนนี้ ศาลรัฐธรรมนูญเยอรมนีจะพิจารณาว่า
เห็นชอบกับรัฐบาลหรือไม่ในการตั้งกลไกรักษาเสถียรภาพยุโรป (ESM) แบบถาวร
ถ้าไม่เห็นชอบเพราะเยอรมนีถือเป็นเสาหลักมีเงินเยอะสุดในยูโรโซน 17 ชาติ
กลายเป็นประเด็นสำคัญ คนตีความว่าแย่ ขาดความเชื่อมั่น และวิกฤติลุกลามปั่นป่วนได้อีกรอบ

เรื่องที่สอง วิกฤติจะลามจากสเปนไปอิตาลีหรือไม่ ต้องตามดูอย่างใกล้ชิดในช่วง 6 เดือนหน้า
ถ้าเกิดจริง...สะท้อนว่าวิกฤติยุโรปยังไม่ถึงจุดต่ำสุดเหมือนไฟยังไม่หยุดไหม้ ความเสียหายยิ่งกินวงกว้าง
สุดท้ายเป็นเรื่องต้องตามดูเจ้าหนี้กรีซจะเอาอย่างไรกับกรีซ ซึ่งผลจะออกมาในเดือนกันยายนนี้

"ปัจจัยเสี่ยงจะมากระจุกตัวในเดือนกันยายน
ถือเป็นหัวเลี้ยวหัวต่อสำหรับทิศทางตลาดเงินโลกและทิศทางเศรษฐกิจโลกปีหน้า
แต่ความเสี่ยงเหล่านี้ก็ถือเป็นแผนที่การเดินทางให้นักธุรกิจ นักลงทุน
และผู้กำหนดนโยบายในไทยจัดการวางแผนตัวเองในปีหน้าเช่นกัน"

น.ส.อุสรา เสนอว่าหากวิกฤติยุโรปลากยาวต่อเนื่อง วิธีการบริหารจัดการต้องแตกต่างกัน
กล่าวคือไทยอาจต้องเก็บกระสุนหรือยาที่มีอยู่อย่างจำกัดไว้ใช้ในยามจำเป็น คือ
อาจจำเป็นต้องลดดอกเบี้ยเพื่อหนุนความเชื่อมั่น แต่ประเด็นอยู่ที่ว่าจังหวะกับเวลาเหมาะสมว่า
จะใช้กระสุนหรือยาเมื่อใด จึงต้องรอใช้ตอนชัดเจนช่วงวิกฤติลุกลามจริงๆ

"คิดว่าอย่างกรณีเฟด เขามีคิวอี 3 (QE3) แน่ๆ
เพียงแต่ว่าเขารอดูให้เห็นจุดต่ำสุดของวิกฤติหนี้ยุโรปเสียก่อนแล้วค่อยใช้
สำหรับไทยทุกคนเห็นตรงกันว่าการลดดอกเบี้ยช่วยหนุนเศรษฐกิจไทยได้
แต่อาจต้องใจเย็นรอจุดต่ำสุดของวิกฤติ จึงใช้นโยบายลดดอกเบี้ยดึงความเชื่อมั่นให้ถูกเวลา"

.


ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น