8 สิงหาคม 2555

ข่าวฟอเร็กซ์ 8 ส.ค.

ยังต้องจับตาการดำเนินมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจรอบใหม่ของธนาคารกลางต่างๆ
เพื่อช่วยกระตุ้นการลงทุนในสินทรัพย์เสี่ยงมากขึ้น
โดยล่าสุดมีความเห็นของประธานเฟดสาขาบอสตันที่ชี้ว่าเฟดควรจะเริ่มต้นซื้อพันธบัตรรัฐบาลสหรัฐฯ
และหลักทรัพย์ที่ได้รับการค้ำประกันจากสัญญาจำนอง (MBS)
ไปจนกว่าเศรษฐกิจจะกลับมาแข็งแกร่งอย่างเต็มที่

ขณะธนาคารกลางสหรัฐ (​เฟด) รายงานว่า ยอดสิน​เชื่อ​ผู้บริ​โภคสหรัฐ​ใน​เดือนมิ.ย. ขยายตัว 3% ​
เมื่อ​เทียบกับช่วง​เดียวกันของปีก่อน ส่งสัญญาณ​เชิงบวก​ถึง​ความ​เชื่อมั่นของ​ผู้บริ​โภคสหรัฐฯ ที่​เพิ่มขึ้น
​โดยเฟดระบุว่ายอด​การกู้ยืม​ใน​เดือน มิ.ย. ​เพิ่มขึ้น​แตะ 2.5774 ล้านล้านดอลลาร์
จากระดับ 2.5709 ล้านล้านดอลลาร์​ใน​เดือน พ.ค.

ด้านยุโรป ยังคงมีความคาดหวังว่าอีซีบีจะดำเนินการเพื่อลดต้นทุนการกู้ยืมที่ระดับสูงของสเปนและอิตาลี
ด้วยการซื้อพันธบัตรของทั้งสองประเทศ
ขณะที่ระดับอัตราผลตอบแทนพันธบัตรของสเปนอายุ 10 ปีปรับตัวลดลงสู่ระดับ 6.63%
และพันธบัตรอายุ 10 ปีของอิตาลีก็ปรับตัวลงเช่นกันที่ระดับ 5.88%
อีกทั้งยุโรปก็ยังพอมีข่าวบวกมากกว่าข่าวลบ หลังเยอรมันออกมาสนับสนุนให้ ECB เข้าซื้อพันธบัตร
โดยนักลงทุน​ในตลาดขานรับถ้อย​แถลงของ​โฆษกรัฐบาล​เยอรมนีวานนี้​
ถึง​การสนับสนุน​แผน​การณ์ของอีซีบี​ใน​การ​เข้าซื้อพันธบัตรของประ​เทศยู​โร​โซน​ซึ่งกำลังประสบปัญหา

กระนั้น สถาบันจัดอันดับ​ความน่า​เชื่อถือระหว่างประ​เทศ ส​แตนดาร์ด ​แอนด์ พัวร์ส (S&P)
ได้ทำการปรับลด​แนว​โน้มอันดับ​ความน่า​เชื่อถือของกรีซลงสู่​เชิงลบ จาก​เดิมที่มี​เสถียรภาพ
โดยคาด​การณ์ว่า กรีซอาจ​ไม่สามารถลด​การขาดดุลงบประมาณ​ได้ตาม​เป้า ​
และอาจ​ไม่สามารถชำระหนี้​ได้ตาม​เงื่อน​ไข
อัน​เนื่องมาจาก​ความ​เป็น​ไป​ได้ที่กรีซอาจจะต้องขอรับ​ความช่วย​เหลือทาง​การ​เงินจากสหภาพยุ​โรป (อียู) ​
และกองทุน​การ​เงินระหว่างประ​เทศ (​ไอ​เอ็ม​เอฟ)


ผลการสำรวจที่ใช้ชื่อว่า "วิกฤตหนี้ยุโรปกำลังคุกคามเศรษฐกิจของเราหรือไม่"
ซึ่งจัดทำโดยคลอปเฟล คอนซัลติ้งได้รับการเปิดเผยเมื่อวานนี้
โดยผลสำรวจผู้บริหาร 319 คนในออสเตรีย เยอรมนี และสวิตเซอร์แลนด์เกี่ยวกับอนาคตเศรษฐกิจยุโรป
เปิดเผยว่า กว่า 60% ของผู้บริหารยังคงวิตกกังวลเกี่ยวกับแนวโน้มเศรษฐกิจ
และ 12% กังวลว่าจะเกิดภาวะเศรษฐกิจถดถอยทั่วโลก
ทั้งนี้ ผู้บริหารที่เห็นว่าวิกฤตหนี้ยุโรปได้รับการแก้ไขในระดับที่น่าพึงพอใจแล้วมีน้อยกว่า 30%
ขณะที่อีก 12% ยังคงกังวลเกี่ยวกับภาวะถดถอยที่อาจเกิดขึ้นทั่วโลก
ส่วนประเด็นอื่นๆ ที่ทำให้เกิดความวิตกกังวลได้แก่ เรื่องข้อกำหนดที่เข้มงวดในการปล่อยสินเชื่อ
การล่มละลายของธนาคาร และภาวะเงินเฟ้อที่เพิ่มสูงขึ้น

ช่วงนี้ดูเหมือนการเคลื่อนไหวของค่าเงินสกุลสำคัญต่างๆ ยังค่อนข้างทรงตัว
และอาจยังไม่ได้สะท้อนทิศทางที่ชัดเจนต่อการดำเนินมาตรการในเร็วๆ นี้
โดยสกุลเงินยูโร ซึ่งแข็งค่าขึ้นเมื่อเทียบกับค่าเงินดอลลาร์เป็นวันที่ 3
หลังจากมี​การคาด​การณ์ว่าธนาคารกลางยุ​โรป (อีซีบี)
จะ​ใช้มาตร​การ​เพื่อฉุดต้นทุน​การกู้ยืมของส​เปน​และอิตาลี​ให้ปรับตัวลดลง


ตัวเลขเศรษฐกิจที่สำคัญในวันนี้
• ตัวเลขดุลการค้ารายเดือนในเยอรมัน 13.00 น.
• ตัวเลขดุลการค้าในฝรั่งเศส  13.45 น.
• ตัวเลขการผลิตภาคอุตสาหกรรมรายเดือนในเยอรมัน  17.00 น
• ตัวเลขผลผลิตนอกกลุ่มการเกษตรเบื้องต้นรายไตรมาสในสหรัฐฯ  19.30 น.
• ตัวเลขต้นทุนแรงงานรายไตรมาสในสหรัฐฯ ประมาณ 19.30 น.

***

ผลปิดออเดอร์ Forex เมื่อวันจันทร์กับอังคารแบบเม่าๆ








ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น