6 กันยายน 2555

คาดการณ์ผลประชุม ECB

เมื่อวาน สกุลเงินยูโรขยับขึ้นมารอรับข่าวเกี่ยวกับ ECB พอควรแล้วในช่วงที่ผ่านมา
โดยนักลงทุนบางส่วนยังจะรอดูตัวเลขการจ้างงานนอกภาคเกษตร (นอน-ฟาร์ม) ของสหรัฐฯ ในคืนวันศุกร์นี้อีกครั้ง
ว่าจะช่วยหนุนแนวคิดการออกมาตรการเพิ่มเติมของธนาคารกลางสหรัฐได้หรือไม่
โดยนายเบน เบอร์นันเก้ ประธาน FED ให้เหตุผลที่จะเพิ่มมาตรการจากการจ้างงานที่อ่อนแอ
ทำให้นักลงทุนจะหันกลับมาให้ความสนใจกับตัวเลขด้านการจ้างงานที่จะรายงานในสัปดาห์นี้
เพราะจะมีผลต่อการคาดการณ์ผลการประชุม FOMC ในช่วงสัปดาห์หน้าอีกครั้ง


วันนี้ นักลงทุนทุกตลาดคงเฝ้ารอผลประชุมธนาคารกลางยุโรป (ECB) ประมาณ 1 ทุ่มของประเทศไทย
ทั้งนี้ความคาดหวังต่อการประกาศมาตรการของ ECB อยู่ในระดับสูง
โดยมีการคาดว่าอีซีบีจะลดดอกเบี้ย Refi Rate 0.25% ในวันนี้
นอกจากนี้ สำนักข่าวบลูมเบิร์กรายงานโดยอ้างเจ้าหน้าที่สองคนของ ECB ว่า
อาจมีการประกาศซื้อพันธบัตรอายุไม่เกิน 3 ปีโดยไม่จำกัดจำนวนโดยอาศัยการหมุนเงินเพื่อไม่ให้เป็นการอัดฉีดเงิน
เพื่อลดต้นทุนการเงินของประเทศยูโรโซน แต่ในทางปฏิบัติคงมีการซื้อตามที่จำเป็นมากกว่า
ทั้งยังชี้ว่าการซื้อพันธบัตรดังกล่าวอาจต้องมีการดึงเงินกลับจากภาคธนาคารในยุโรปในภายหลังด้วย

สำนักข่าวบลูมเบิร์กระบุว่า นายดรากีอาจจะมีการกล่าวในคืนนี้ว่าอีซีบีจะเข้าซื้อพันธบัตรรัฐบาลเท่านั้น
โดยมีอายุครบกำหนดไถ่ถอนที่ประมาณไม่เกิน 3 ปี และจะไม่ตั้งกรอบในเรื่องอัตราผลตอบแทน
ตลอดทั้งไม่กำหนดขนาดของแผน  ทว่าแผนการเข้าซื้อพันธบัตรดังกล่าวอาจ “ไร้ผล”
จากพยุงอัตราดอกเบี้ยเงินฝากของธนาคารพาณิชย์ต่างๆ ให้เท่าเทียมกันกับจำนวนที่ใช้จ่ายไปกับพันธบัตร
ในขณะที่แผนดังกล่าวอาจไม่สามารถทำให้ตลาดสงบลงได้ในระยะยาว
หากสเปนไม่ยอมรับความช่วยเหลือทางการเงินในเร็วๆ นี้
ซึ่งสเปนได้บอกไว้แล้วว่า จะไม่ยอมรับความช่วยเหลือจนกว่าจะทราบรายละเอียดของเงื่อนไข
โดยในขณะนี้สเปนก็ยังไม่มีความชัดเจนว่าจะยอมรับในแผนของอีซีบีหรือไม่

คงจำกันได้ว่าเมื่อวันจันทร์ที่ผ่านมา นายมาริโอ ดรากี ประธานอีซีบี ได้ออกมากล่าวว่า
การเข้าซื้อพันธบัตรระยะสั้นของอีซีบีไม่เป็นการฝ่าฝืนกฎของสหภาพยุโรป
จึงมีการคาดหวังในวงกว้างว่าอีซีบีจะประกาศแผนครั้งต่อไปเพื่อจำกัดวงขยายของวิกฤตหนี้ยูโรโซนในการประชุมอีซีบีวันนี้
อย่างไรก็ตาม นายมาริโอ ดรากี ก็กำลังเผชิญหน้ากับสถานการณ์ที่ยากลำบากเช่นเดียวกัน
เพราะนอกเหนือจากการประสานความสัมพันธ์ของผู้กำหนดนโยบายต่างๆ แล้ว
เขายังต้องรักษาคำพูดที่กล่าวไว้ว่าจะช่วยปกป้องเงินยูโรอีก

เมื่อวานนี้เยอรมนีสามารถประมูลขายพันธบัตรอายุ 10 ปีได้เพียง 3.61 พันล้านยูโร
น้อยกว่าเป้าหมายที่ตั้งไว้ที่ระดับ 5 พันล้านยูโร ซึ่งเป็นการส่งสัญญาณถึงความอ่อนแอ
ในปริมาณความต้องการเข้าซื้อพันธบัตรของประเทศเศรษฐกิจที่แข็งแกร่งที่สุดในยุโรปจากนักลงทุน

ตัวเลขเศรษฐกิจที่สำคัญในวันนี้
• เวลา 17.00 น. ยอดสั่งซื้อสินค้าจากโรงงานรายเดือนในเยอรมัน (German Factory Order)
• เวลา 18.00 น. ธนาคารกลางอังกฤษประกาศอัตราดอกเบี้ย (Official Bank Rate)
• เวลา 19.15 น. ตัวเลขคนว่างงานของสหรัฐฯ (ADP Non-Farm Employment Change)
• เวลา 19.30 น. ยอดผู้ขอรับสวัสดิการว่างงานในสหรัฐฯ (Unemployment Claims)
• เวลา 21.00 น. ตัวเลขภาคการผลิต  (ISM Non-Manufacturing PMI)

ประมาณเวลา 18.45 - 19.00 น. การประชุมนโยบายการเงินของธนาคารกลางแห่งยุโรป

***

คาดการณ์ผลประชุม ECB

นักวิเคราะห์คาดการณ์ว่า ในการประชุมธนาคารกลางยุโรป หรือ ECB วันนี้
อีซีบีคงจะเข้าซื้อเฉพาะพันธบัตรรัฐบาลเท่านั้น โดยไม่เข้าแทรกแซงสินทรัพย์ประเภทอื่น
รวมทั้งจะเข้าแทรกแซงเฉพาะพันธบัตรระยะสั้นที่มีอายุไม่เกิน 3 ปี

นายมาริโอ ดรากี ประธานธนาคารกลางยุโรป ได้แจ้งในที่ประชุมสภายุโรปว่า
อีซีบีจำเป็นที่จะต้องเข้าแทรกแซงตลาดพันธบัตรเพื่อควบคุมระดับอัตราแลกเปลี่ยน
เพื่อสร้างความมั่นใจว่าเขตยูโรโซนที่ใช้เงินสกุลเดียวกันจะสามารถคงอยู่ต่อไปได้
โดยเขาจะแถลงรายละเอียดของแผนการ หลังการประชุมอีซีบีในวันพฤหัสนี้ (วันนี้)
ซึ่งการยืนยันของนายดรากี ก็ทำให้ค่าเงินของยูโรแข็งค่าและทำให้หุ้นในตลาดยุโรปตอบรับในเชิงบวกด้วย

แต่อย่างไรก็ดี แผนการของ ECB ก็ยังไม่ง่ายนัก เมื่อนายดรากียังมีความคิดเห็นไม่ลงรอยในบางประเด็นกับ
นายเยนส์ เวียดมานน์ ซึ่งเป็นประธานธนาการกลางเยอรมันนี หรือ บุนเดสแบงค์
แต่ทางแหล่งข่าวก็บอกว่า 
การหารือระหว่างทั้งสองคนก็เป็นไปอย่างผ่อนคลายและน่าจะมองเห็นทางออกร่วมกันได้

โดยประเด็นที่ยังคงเป็นที่ถกเถียงในประเด็นแรกก็คือจำนวนวงเงินของการเข้าซื้อพันธบัตร
ซึ่งนายดรากีต้องการให้ไม่มีการกำหนดวงเงินของการเข้าซื้อ
โดยอีซีบีสามารถเข้าซื้อพันธบัตรได้เรื่อยๆ ตราบใดที่ตลาดยังขาดความเชื่อมั่น
ในขณะที่คณะกรรมการอีซีบีบางส่วนอาจไม่เห็นด้วย ส่วนประเด็นถัดมา ก็คือ
เรื่องของระดับอัตราผลตอบแทนในแบบใดที่เรียกว่ามีปัญหาและอีซีบีต้องทำการเข้าไปแทรกแซงตลาด
รวมทั้งจะทำการเปิดเผยอัตราดังกล่าวให้กับสาธารณชนได้รับทราบหรือไม่
แต่สิ่งที่น่าจะเห็นตรงกันก็คือ 
ประเทศที่จะได้รับการช่วยเหลือผ่านการเข้าซื้อพันธบัตรจะต้องลงนามในสัญญา
และปฏิรูปประเทศตามข้อกำหนด ซึ่งหากทำไม่ได้ ทางอีซีบีจะหยุดการช่วยเหลือทันที

ที่มา : money channel

.



.

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น