สกุลเงินยูโรได้รับผลกระทบอย่างหนักจากปัญหาด้านการคลังและภาคธนาคารของประเทศกลุ่มยูโรโซน
โดยยูโรร่วงสู่ระดับต่ำสุดนับตั้งแต่เดือน พ.ย. 2543 ในกรอบบนของ 94 เยน
ในการซื้อขายเช้านี้ที่ตลาดปริวรรติเงินตราโตเกียว จากความวิตกกังวลครั้งใหม่เกี่ยวกับวิกฤติหนี้ยูโรโซน
|
Spain |
ขณะที่ความวิตกเกี่ยวกับภาวะเศรษฐกิจโลกและวิกฤติหนี้ยูโรโซนยังมีอยู่ต่อเนื่อง
หลังมีข่าวว่าเมืองวาเลนเซียได้ขอความช่วยเหลือทางการเงินจากรัฐบาลสเปน
ทำให้สเปนอาจต้องขอรับความช่วยเหลือจากต่างประเทศเพิ่มเติม
ซึ่งปัญหาในสเปนก่อให้เกิดความไม่แน่นอนรอบใหม่ให้กับตลาดเงินตลาดทุนโลก
โดยอีแกน โจนส์ ปรับลดอันดับเครดิตสเปนลงเหลือ CC+
นอกจากนี้
ธนาคารกลางยุ
โรป (ECB) ประกาศไม่ยอมรับพันธบัตรรัฐ
บาลของกรีซเป็นหลักประกัน
สัปดาห์นี้ จะมีการประกาศตัวเลข PMI ของหลายประเทศซึ่งจะเป็นปัจจัยที่กดดันตลาดด้วย
อย่างไรก็ตาม ภาวะเศรษฐกิจโลกที่อ่อนแอก็มีสิทธิที่จะหนุนแรงซื้อเก็งกำไรจากการคาดหวัง
เกี่ยวกับมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจใหม่ที่จะมีออกมา
โดยเฉพาะสัปดาห์หน้า (31 ก.ค.-1 ส.ค.) จะมีการประชุมเฟด
ซึ่งตลาดคาดหวังเกี่ยวกับมาตรการ QE3 ยังมีอยู่
กระนั้น ก็มีมุมมองว่าสหรัฐฯ ยังน่าจะอยากเก็บกระสุนนัดสำคัญนี้ไว้
เพื่อรับมือกับความผันผวนในตลาดเงินที่อาจเกิดขึ้นในช่วง ส.ค.-ก.ย.
และจังหวะเวลาที่เหมาะสมในการออกมาตรการดังกล่าวอาจอยู่ในช่วง ก.ย.-ต.ค.
ซึ่งจะเป็นช่วงก่อนเลือกตั้งประธานาธิบดีในเดือน พ.ย.
***
นายวูล์ฟกัง ชอยเบิล รมว.คลังเยอรมนี กล่าวกับหนังสือพิมพ์เยอรมนีฉบับหนึ่งว่า
เขาเชื่อมั่นว่าเศรษฐกิจของสเปนจะมีการฟื้นตัวขึ้นหลังจากการดำเนินการปฏิรูป
โดยระบุว่าเศรษฐกิจของสเปนมีศักยภาพและมีโครงสร้างที่แตกต่างจากเศรษฐกิจของกรีซ
นายชอยเบิลระบุว่า ตลาดอสังหาริมทรัพย์เป็นต้นตอของปัญหาการเงินของสเปน
เช่นเดียวกันสหรัฐฯ และมีความแตกต่างจากปัญหาในกรีซ
นายโยชิฮิโกะ โนดะ นายกรัฐมนตรีญี่ปุ่น
และ
นายมาซาอากิ ชิรากาวา ผู้ว่าการธนาคารกลางญี่ปุ่น (บีโอเจ)
ได้ประชุมร่วมกันในช่วงเช้าวันนี้
เพื่อหารือกันเกี่ยวกับนโยบายการเงินและแนวทางการกระตุ้นการขยายตัวทางเศรษฐกิจ
โดยมีเป้าหมายที่จะช่วยให้ญี่ปุ่นสามารถรับมือกับภาวะเงินฝืดภายในประเทศได้
ขณะที่
นายจุน อาซูมิ รมว.คลังญี่ปุ่น เปิดเผยในวันนี้ว่า
รัฐบาลญี่ปุ่นกำลังจับตาดูความเคลื่อนไหวในตลาดปริวรรตเงินตราอย่างใกล้ชิด
โดยย้ำว่าญี่ปุ่นจะใช้
"มาตรการขั้นเด็ดขาด" ในการสกัดการแข็งค่าของเงินเยน
ในขณะที่เงินเยนแข็งค่าขึ้นอย่างมากเมื่อเทียบกับสกุลเงินยูโร
"การตอบสนองของผมที่มีต่อตลาดปริวรรตเงินตรานั้น ไม่เคยเปลี่ยนแปลง
ผมมักจะพูดเสมอว่า เราจะใช้มาตรการขั้นเด็ดขาดในการต่อต้านการเก็งกำไรทุกรูปแบบ
และป้องกันไม่ให้สกุลเงินเยนผันผวนมากจนเกินไป"
***
มาตามเรื่อง
"สเปน" กันแบบลึกๆ กัน โดยข้อมูลจากหนังสือพิมพ์ฐานเศรษฐกิจ
สเปนส่อเค้าเงินไม่พอใช้จ่าย
ผลการประมูลพันธบัตรรัฐบาลสเปนรอบล่าสุดที่น่าผิดหวัง ก่อให้เกิดข้อกังขาว่า
สเปนอาจจะไม่สามารถหาเงินทุนจากตลาดมาใช้จ่ายและใช้หนี้สำหรับปีนี้ได้เพียงพอ
จนต้องนำไปสู่การรับเงินช่วยเหลือจากยูโรโซนเพิ่มเติม
สำนักข่าวต่างประเทศรายงานว่า
สเปนเปิดการประมูลพันธบัตรรัฐบาลรอบล่าสุดเมื่อวันพฤหัสบดีที่ผ่านมา (19 ก.ค.)
โดยสามารถระดมเงินได้เกือบ 3 พันล้านยูโร
อย่างไรก็ตาม ผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลสเปนที่ประมูลออกไป
ทั้งพันธบัตรอายุ 2 ปี 5 ปี และ 10 ปี อยู่ในระดับที่เพิ่มสูงขึ้นจากการประมูลเมื่อเดือนก่อนอย่างถ้วนหน้า
เจมี เซียร์ลี นักยุทธศาสตร์จากซิตี้ กล่าวว่า
การประมูลพันธบัตรดังกล่าวไม่ใช่การประมูลที่ดีสำหรับสเปน
"เรามีข่าวด้านบวกในเรื่องของเงินช่วยเหลือภาคการธนาคาร และการที่รัฐบาล
ประกาศมาตรการรัดเข็มขัดเพิ่มเติม แต่ปัจจัยเหล่านี้ไม่ได้ช่วยเรียกความมั่นใจกลับคืนมา"
ซิตี้ประเมินว่าสเปนจะต้องออกพันธบัตรอีกครั้งละประมาณ 2,900 ล้านยูโรในการประมูลครั้งต่อๆ ไปเพื่อระดมเงินให้ได้ตามเป้าหมายตลอดทั้งปี
แต่เซียร์ลีแสดงความกังวลใจว่า
สเปนอาจจะไม่สามารถทำเช่นนั้นได้ในการประมู
ลทุ
กครั้ง
พร้อมกับกล่าวว่าถ้าธนาคารกลางยุ
โรป (อีซีบี) ไม่ออกมาตรการซื้อพันธบัตร
ซึ่งดู
เหมือนมีความเป็นไปได้น้อยในเวลานี้
ก็เป็นการยากที่สเปนจะหยุ
ดยั้งผลตอบแทนพันธบัตรไม่ให้พุ่
งสู
งขึ้นไปกว่านี้
สเปนขอรับเงินช่วยเหลือด้วยเพดาน 1 แสนล้านยูโรแล้วก็จริง
แต่เงินก้อนดังกล่าวมีเป้าหมายเพื่อช่วยเหลือธนาคารพาณิชย์ที่ประสบปัญหา
รัฐบาลสเปนยังจำเป็นที่จะต้องระดมเงินจากตลาดการเงินเพื่อนำมาชำระหนี้และใช้จ่ายงบประมาณที่ขาดดุล
ซึ่งกองทุนการเงินระหว่างประเทศ (ไอเอ็มเอฟ) ประเมินว่าเป็นมูลค่า 6.4 หมื่นล้านยูโรสำหรับปี 2555 ตลอดทั้งปี
นายคริสโตบาล มอนโตโร รัฐมนตรีงบประมาณของสเปน กล่าวต่อรัฐสภา
ในการลงมติสนับสนุนมาตรการรัดเข็มขัดรอบใหม่ของ
นายกรัฐมนตรีมาริอาโน ราฮอย
เป็นมูลค่า 6.5 หมื่นล้านยูโร ว่า
เวลานี้รัฐ
บาลไม่มีเงินในคลังสำหรับจ่ายให้กับข้าราชการ
พร้อมกับกล่าวว่าสมาชิกรัฐสภาของสเปนตระหนักดีว่าถ้าไม่รับรองมาตรการดังกล่าว
ทางเลือกของสเปนคือต้องรับเงินช่วยเหลือเต็มรูปแบบ
ซึ่งจะทำให้สเปนต้องอยู่ภายใต้เงื่อนไขที่เข้มงวด
และสูญเสียความยืดหยุ่นในการลดการขาดดุลให้ได้ตามเป้าหมาย
แม้ว่าจะมีการประท้วงมาตรการดังกล่าวจากสหภาพแรงงานก็ตาม
ผู้นำยูโรโซนแสดงท่าทีในการประชุมเมื่อเดือนก่อนว่า
ยินดีจะให้ความช่วยเหลือสเปนและประเทศที่อ่อนแออื่นๆ
ด้วยการเปิดให้ใช้กองทุนช่วยเหลือเข้าซื้อพันธบัตรรัฐบาลในตลาดรอง (secondary market) ได้
อย่างไรก็ดี
เดอะ วอลล์ สตรีต เจอร์นัล ระบุว่า
สเปนจะต้องยื่นคำร้องอย่างเป็นทางการเพื่อขอให้มีการดำเนินการในลักษณะดังกล่าว
ซึ่งจะต้องใช้เวลาอีกหลายเดือน
นอกจากนี้นักเศรษฐศาสตร์ยังมองว่า ด้วยจำนวนเงินที่มีอยู่อย่างจำกัดของกองทุนช่วยเหลือ
คือประมาณ 4 แสนล้านยูโรหลังจากให้เงินช่วยเหลือธนาคารสเปนไปแล้ว
อาจจะทำให้วิธีการดังกล่าวได้ผลเพียงระยะสั้นเท่านั้น
นักเศรษฐศาสตร์ให้ความเห็นเพิ่มเติมว่า การเปิดให้กองทุนช่วยเหลือกู้เงินจากอีซีบีได้โดยตรง
อาจจะช่วยผ่อนคลายความกังวลของนักลงทุนถึงความสามารถในการให้เงินกู้แก่รัฐบาลที่มีปัญหา
อย่างไรก็ตาม เจ้าหน้าที่ทางการกล่าวว่าอีซีบียังไม่ยอมให้กองทุนช่วยเหลือทำเช่นนั้นได้
ขณะเดียวกัน รัฐสภาเยอรมนีมีมติอนุมัติการให้เงินช่วยเหลือสำหรับธนาคารสเปนเป็นที่เรียบร้อย
โดยเยอรมนีซึ่งเป็นผู้ให้การสนับสนุนทางการเงินแก่กองทุนช่วยเหลือรายใหญ่ที่สุด
จะการันตีเงินกู้มากถึง 2.9 หมื่นล้านยูโรภายใต้งบช่วยเหลือสเปน
ขณะที่จำนวนเงินกู้ที่แน่ชัดของสเปนน่าจะมีการประเมินกันในเดือนกันยายน
หลังจากมีการทดสอบภาวะวิกฤติ (stress test) ของแต่ละธนาคารว่าต้องการเงินทุนมากน้อยเพียงใด
ก่อนที่จะร่างแผนการปรับโครงสร้างในเดือนตุลาคม
ตามกำหนดเวลาที่ระบุไว้ในบันทึกความเข้าใจ (MOU) ว่าด้วยเงื่อนไขการรับเงินช่วยเหลือของสเปน
ซึ่งรัฐมนตรีคลังยูโรโซนมีกำหนดลงนามรับรองเมื่อวันศุกร์ (20 ก.ค.) ที่ผ่านมา
สเปนจะได้รับเงินงวดแรกทันที 3 หมื่นล้านยูโร
สำหรับธนาคารที่รัฐบาลเข้าไปอุ้มและต้องการเงินทุนอย่างเร่งด่วน
โดยเงินช่วยเหลือในช่วงแรกจะมาจากกองทุนช่วยเหลือชั่วคราว (อีเอฟเอสเอฟ)
จนกว่ากองทุนถาวร (อีเอสเอ็ม) จะเริ่มมีผลบังคับใช้ คาดว่าน่าจะเป็นประมาณเดือนกันยายน
.