11 ตุลาคม 2555

S&P ปรับลดความน่าเชื่อถือของสเปน

สัปดาห์นี้ ค่าเงินดอลลาร์มีแนวโน้มแข็งค่าขึ้น
อันเนื่องจากประเด็นจากยุโรปที่ได้กลับมาเป็นเป้าสนใจของนักลงทุน
อีกทั้งคำเตือนเกี่ยวกับโอกาสในการปรับลดอันดับความน่าเชื่อถือของประเทศสมาชิกในยูโรโซน
จึงทำให้การเคลื่อนไหวของเงินยูโรยังมีแนวโน้มที่จะอ่อนค่าลง
แม้ว่าเมื่อวานนี้ ผลิตภาคอุตสาหกรรมของอิตาลีในเดือนส.ค. จะปรับตัวขึ้น 1.7%
และการผลิตภาคอุตสาหกรรมของฝรั่งเศสในเดือนส.ค. ก็พุ่งขึ้น 1.5%



และผลจากการประชุมรมว.คลังยุโรป ซึ่งไม่มีประเด็นใหม่ที่จะสร้างความตื่นเต้นให้กับตลาดได้
กอปรกับ นายมาริโอ ดรากี ประธานธนาคารกลางยุโรป ได้กล่าวว่า
กรีซยังต้องทำการรัดเข็มขัดเศรษฐกิจและทำงานหนักในการปฏิรูปมากกว่านี้
จึงเป็นปัจจัยหนึ่งที่ส่งผลด้านจิตวิทยาในฝั่งยุโรปไม่สู้ดีนัก
รวมถึงการที่นักลงทุนกลับไปกังวลต่อภาวะเศรษฐกิจอีก
หลังจาก  IMF และธนาคารโลกปรับลดคาดการณ์ GDP เศรษฐกิจโลกลง

ด้านสถาบันจัดอันดับเครดิต สแตนดาร์ด แอนด์ พัวร์  (S&P)
ก็ได้ประกาศลดอันดับความน่าเชื่อถือระยะยาวของสเปนลง 2 ขั้น สู่ระดับ BBB- จาก BBB+
นับว่าสูงกว่าระดับขยะเพียงขั้นเดียวเท่านั้น พร้อมกันให้แนวโน้มเชิงลบ
โดยเอสแอนด์พีระบุว่าภาวะเศรษฐกิจสเปนนั้นถดถอยรุนแรงขึ้น
และขาดทิศทางที่ชัดเจนในนโยบายของยูโรโซน
ดังนั้นต้องตามดูว่ามูดี้ส์ะลดสเปนลงไปเป็นระดับขยะด้วยหรือไม่

ส่วน นายเดวิด คาเมรอน นายกรัฐมนตรีอังกฤษ ก็ออกมาแถลงว่า
อังกฤษจะไม่อนุมัติการเพิ่มงบประมาณให้แก่สหภาพยุโรป เพื่อช่วยกระตุ้นให้เศรษฐกิจดีขึ้น
โดยให้เหตุผลว่าการช่วยให้สหภาพยุโรปเติบโตขึ้นอย่างรวดเร็วแม้จะเป็นเป็นสิ่งที่ดี
แต่จะส่งผลให้อังกฤษต้องลดรายจ่ายต่างๆ และอาจส่งผลให้ประชาชนชาวอังกฤษบางส่วนได้รับความเดือดร้อนด้วย

รายงานสรุปภาวะเศรษฐกิจของ หรือ Beige Book ของสหรัฐฯ เผยว่า
เศรษฐกิจในประเทศ 'ขยายตัวเล็กน้อย' ในช่วงหลายเดือนที่ผ่านมา
ซึ่งการใช้จ่ายของผู้บริโภคโดยทั่วไปทรงตัว หรือเพิ่มขึ้นเล็กน้อย
ขณะที่ยอดค้าปลีกในหลายเขตก็มีการขยายตัวเล็กน้อย
ทั้งนี้ เฟดระบุว่าสถานการณ์ในภาคการผลิตอาจปรับตัวแตกต่างกัน แต่ก็ถือว่าปรับตัวดีขึ้น
ยิ่งในภาคอสังหาริมทรัพย์ด้านที่พักอาศัยของสหรัฐฯ นั้นก็ปรับตัวดีเช่นกัน
โดยยอดขายบ้านในเดือนกันยายนปรับตัวเพิ่มขึ้น

กองทุนการเงินระหว่างประเทศ (IMF) เตือนว่า
ญี่ปุ่นอาจจะได้รับผลกระทบจากวิกฤตหนี้สาธารณะคล้ายกับที่หลายประเทศในยูโรโซนกำลังเผชิญอยู่
พร้อมกับเตือนเรื่องระดับหนี้สินของญี่ปุ่นที่พุ่งขึ้นแตะระดับสูงสุดเป็นประวัติการณ์
โดยไอเอ็มเอฟเรียกร้องให้ญี่ปุ่นเร่งใช้มาตรการที่จำเป็นเพื่อฟื้นฟูสถานะการคลัง
ซึ่งอยู่ในสภาวะที่ย่ำแย่ที่สุดในบรรดากลุ่มประเทศที่พัฒนาแล้ว
ทั้งยังแนะนำให้ธนาคารภายในประเทศญี่ปุ่นตระหนักถึงความเสี่ยงที่เกี่ยวข้องกับการมีหนี้สินจำนวนมาก
ทั้งนี้ ญี่ปุ่นได้รับประโยชน์จากกระแสเงินทุนไหลเข้าจำนวนมากจากต่างประเทศ อันเนื่องมาจากวิกฤตหนี้ยูโรโซน
เนื่องจากนักลงทุนต่างชาติต้องการถือครองสินทรัพย์ของญี่ปุ่นซึ่งมีความปลอดภัย
และต้นทุนการกู้ยืมของรัฐบาลญี่ปุ่นก็ปรับตัวลดลงเกือบแตะระดับต่ำสุดเป็นประวัติการณ์
แต่ในขณะเดียวกัน ปัจจัยเหล่านี้ก็ผลักดันให้สกุลเงินเยนของญี่ปุ่นแข็งค่าขึ้นแตะระดับสูงสุดด้วย
ซึ่งส่งผลกระทบต่อการส่งออกและการผลิตของประเทศ

ตัวเลขเศรษฐกิจสำคัญในวันนี้
• เวลา 19.30 น. ตัวเลขดุลการค้าในสหรัฐฯ (Trade Balance)
• เวลา 19.30 น. ยอดผู้ขอรับสวัสดิการว่างงานรายสัปดาห์สหรัฐฯ (Unemployment Claims)
• เวลา 19.30 น. ดัชนีราคานำเข้าของสหรัฐฯ (Import Prices)
• เวลา 22.00 น. ตัวเลขสต็อกน้ำมันรายสัปดาห์ในสหรัฐฯ (Crude Oil Inventories)

เชิญ คลิก!!! อ่าน หลากหลายอุปสรรคสกัดเงินเอเชียแข็งค่า
โดย กรุงเทพธุรกิจ

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น